กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4272
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการจัดตั้งศูนย์หนังสือสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคตะวันออก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | A model for the establishment of a book center for higher education institutions in the eastern region network |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ณปภา จิรมงคลเลิศ บรรพต วิรุณราช มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ศูนย์หนังสือ สถาบันอุดมศึกษา สาขาการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและภารกิจของศูนย์หนังสือสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคตะวันออก เพื่อตอบวัตถุประสงค์ดังกล่าว งานวิจัยนี้อาศัยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลคนสำคัญได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคตะวันออก จำนวน 17 คน การเก็บข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกด้วยเทคนิคเดลฟาย และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติข้อมูลค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ การตรวจสอบความถูกต้องและรับรองผลการศึกษาวิจัยด้วยการขอความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิ (โดยกำหนดให้เป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ขึ้นไปและมีประสบการณ์การเขียนหนังสือหรือตำรา) จำนวน 6 คน ผลการวิจัยพบว่า ในการพัฒนารูปแบบการจัดตั้งศูนย์หนังสือสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคตะวันออก ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรแบ่งเป็น 4 พันธกิจหลัก คือ 1. กิจกรรมต้นน้ำ คือ ต้นฉบับหนังสือตำรา ได้แก่ 1) ด้านการแสวงหาอาจารย์หรือนักวิชาการ ที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และได้รับการยอมรับมีมาตรฐานตามหลักวิชาการ 2) ด้านการเขียนหนังสือตำรา ต้นฉบับ และ 3) ด้านการสร้างคุณค่าให้กับหนังสือตำรา ตรงตามความต้องการของผู้อ่าน 2. กิจกรรมกลางน้ำ คือ ผลิตหนังสือตำรา ได้แก่ 1) ด้านวิธีการนำข้อมูลต้นฉบับมาจัดพิมพ์ ออกแบบปก เนื้อใน การใช้กระดาษ ความสวยงาม 2) ด้านกระบวนการจัดพิมพ์ต้องทันสมัย ถูกต้อง รวดเร็ว เคลือบปก เข้าเล่มเรียบร้อย และ 3) ด้านรูปเล่มมีสีสันสวยงามดึงดูดความสนใจ น่าอ่าน ทำให้เกิดมูลค่าในตัวหนังสือตำรา 3. กิจกรรมปลายน้ำ คือ จำหน่ายหนังสือตำรา ได้แก่ 1) ด้านหนังสือ ตำรา มีความถูกต้อง เรียบร้อย ตรงรูปแบบ 2) ด้านคลังสินค้า สถานที่จัดจำหน่ายสวยงาม ทำเลที่ตั้ง ควรเป็นมหาวิทยาลัยบูรพา และ 3) ด้านการบริการก่อน-ระหว่าง-หลังการขาย ที่ดีมีประสิทธิภาพ พนักงานมีจิตใจในการให้บริการ 4. ประเด็นอื่น ๆ การบริหารจัดการศูนย์หนังสือสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคตะวันออก ได้แก่ 1) ด้านโครงสร้างการบริหารจัดการศูนย์หนังสือสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคตะวันออก ควรเป็นแบบเครือข่าย โดยการส่งตัวแทนจากทุกสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคตะวันออก เพื่อมาเป็นคณะกรรมการบริหาร (บอร์ดบริหาร) เป็นผู้กำหนดนโยบายในการบริหารจัดการทั้งกิจกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ 2) ด้านการลงทุนร่วมกัน โดยส่วนงานใดมีงบประมาณมากลงทุนมากส่วนงานใดมีงบประมาณน้อยลงทุนน้อย ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบหุ้นเช่นเดียวกับสหกรณ์ออมทรัพย์ และ 3) ด้านการแบ่งผลประโยชน์ ให้เป็นไปตามการลงทุนในสัดส่วนที่เท่ากับงบประมาณการลงทุน แต่ต้องเป็นองค์การที่ไม่หวังผลกำไรสูงสุด |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4272 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
497-518.pdf | 401.37 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น