กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4260
ชื่อเรื่อง: ผลของการปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ที่มีต่อการควบคุมอารมณ์: การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมอง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effect of mindfulness of breathing meditation practice and Binaural Beats on emotion regulation: Behavioral and EEG studies
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วีรชัย คำธร
ปรัชญา แก้วแก่น
พีร วงศ์อุปราช
คำสำคัญ: การควบคุมอารมณ์
สมาธิ
อารมณ์
การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: สมาธิมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และผลของการฝึกสมาธิคือการสร้างความสมดุลทางร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์ ดังนั้นในการวิจัยนี้มุ่งพัฒนาวิธีปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจและการปฏิบัติสมาธิแบบนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ที่มีต่อการควบคุมอารมณ์ และเพื่อศึกษาผลของการฝึกปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจและการปฏิบัติสมาธิแบบนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ที่มีต่อการควบคุมอารมณ์ ด้วยการ (1) เปรียบเทียบการควบคุมอารมณ์ จากการศึกษาเชิงพฤติกรรมระหว่าง การปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจ และการปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบการควบคุมอารมณ์ จากการศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง ระหว่างการปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจและการปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ วิเคราะห์ลักษณะคลื่นไฟฟ้าสมองขณะนั่งสมาธิของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครเข้าร่วมการทดลอง มีอายุระหว่าง 18-23 ปี จำนวน 42 คน ประกอบด้วย กลุ่มปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจ (กลุ่มควบคุม) จำนวน 21 คน และกลุ่มปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ (กลุ่มทดลอง) จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบรายงานการควบคุมอารมณ์ และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองระบบ Neuroscan และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยายและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ผลการพัฒนาวิธีปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจและวิธีปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์มีความเหมาะสมซึ่งส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพลังงานคลื่นไฟฟ้าสมอง 2. ผลเปรียบเทียบการควบคุมอารมณ์จากการศึกษาเชิงพฤติกรรม (1) ก่อนการทดลอง เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการควบคุมอารมณ์ พบว่า ด้านความยากลำบากในการควบคุมแรงกระตุ้นในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) หลังการทดลอง เปรียบเทียบการควบคุมอารมณ์ 6 มิติ พบค่าเฉลี่ยในกลุ่มควบคุมมากกว่ากลุ่มทดลอง 3. ผลเปรียบเทียบการควบคุมอารมณ์จากการศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง (1) การปฏิบัติสมาธิในกลุ่มปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจ และกลุ่มปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพลังงานคลื่นไฟฟ้าสมองคลื่นเธต้า (Theta) ช่วงเวลาพื้นฐาน (Baseline) ที่ตำแหน่งอิเล็กโทรด FZ TP7 CP1 (2) การปฏิบัติสมาธิในกลุ่มปฏิบัติสมาธิแบบนับลมหายใจและกลุ่มปฏิบัติสมาธิแบบนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพลังงานคลื่นไฟฟ้าสมองคลื่นอัลฟ่า (Alpha) ช่วงเวลาพื้นฐาน (Baseline) ที่ตำแหน่งอิเล็กโทรด (N/A) อธิบายคือไม่พบผลกระตุ้นจากการปฏิบัติสมาธิทั้ง 2 วิธี สรุปการฝึกสมาธิแบบนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงคลื่นเธต้าแต่ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงคลื่นอัลฟ่า
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4260
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
rmcs17n2p19-37.pdf364.16 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น