กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4260
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวีรชัย คำธร-
dc.contributor.authorปรัชญา แก้วแก่น-
dc.contributor.authorพีร วงศ์อุปราช-
dc.date.accessioned2021-06-28T02:34:03Z-
dc.date.available2021-06-28T02:34:03Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4260-
dc.description.abstractสมาธิมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และผลของการฝึกสมาธิคือการสร้างความสมดุลทางร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์ ดังนั้นในการวิจัยนี้มุ่งพัฒนาวิธีปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจและการปฏิบัติสมาธิแบบนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ที่มีต่อการควบคุมอารมณ์ และเพื่อศึกษาผลของการฝึกปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจและการปฏิบัติสมาธิแบบนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ที่มีต่อการควบคุมอารมณ์ ด้วยการ (1) เปรียบเทียบการควบคุมอารมณ์ จากการศึกษาเชิงพฤติกรรมระหว่าง การปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจ และการปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ (2) เพื่อเปรียบเทียบการควบคุมอารมณ์ จากการศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง ระหว่างการปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจและการปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ วิเคราะห์ลักษณะคลื่นไฟฟ้าสมองขณะนั่งสมาธิของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครเข้าร่วมการทดลอง มีอายุระหว่าง 18-23 ปี จำนวน 42 คน ประกอบด้วย กลุ่มปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจ (กลุ่มควบคุม) จำนวน 21 คน และกลุ่มปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ (กลุ่มทดลอง) จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบรายงานการควบคุมอารมณ์ และเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองระบบ Neuroscan และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยายและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. ผลการพัฒนาวิธีปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจและวิธีปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์มีความเหมาะสมซึ่งส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ และส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพลังงานคลื่นไฟฟ้าสมอง 2. ผลเปรียบเทียบการควบคุมอารมณ์จากการศึกษาเชิงพฤติกรรม (1) ก่อนการทดลอง เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยการควบคุมอารมณ์ พบว่า ด้านความยากลำบากในการควบคุมแรงกระตุ้นในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) หลังการทดลอง เปรียบเทียบการควบคุมอารมณ์ 6 มิติ พบค่าเฉลี่ยในกลุ่มควบคุมมากกว่ากลุ่มทดลอง 3. ผลเปรียบเทียบการควบคุมอารมณ์จากการศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง (1) การปฏิบัติสมาธิในกลุ่มปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจ และกลุ่มปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพลังงานคลื่นไฟฟ้าสมองคลื่นเธต้า (Theta) ช่วงเวลาพื้นฐาน (Baseline) ที่ตำแหน่งอิเล็กโทรด FZ TP7 CP1 (2) การปฏิบัติสมาธิในกลุ่มปฏิบัติสมาธิแบบนับลมหายใจและกลุ่มปฏิบัติสมาธิแบบนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพลังงานคลื่นไฟฟ้าสมองคลื่นอัลฟ่า (Alpha) ช่วงเวลาพื้นฐาน (Baseline) ที่ตำแหน่งอิเล็กโทรด (N/A) อธิบายคือไม่พบผลกระตุ้นจากการปฏิบัติสมาธิทั้ง 2 วิธี สรุปการฝึกสมาธิแบบนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงคลื่นเธต้าแต่ไม่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงคลื่นอัลฟ่าth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการควบคุมอารมณ์th_TH
dc.subjectสมาธิth_TH
dc.subjectอารมณ์th_TH
dc.subjectการบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมองth_TH
dc.subjectสาขาการศึกษาth_TH
dc.titleผลของการปฏิบัติสมาธิแบบกำหนดนับลมหายใจร่วมกับไบนิวรอลบีทซ์ที่มีต่อการควบคุมอารมณ์: การศึกษาเชิงพฤติกรรมและคลื่นไฟฟ้าสมองth_TH
dc.title.alternativeEffect of mindfulness of breathing meditation practice and Binaural Beats on emotion regulation: Behavioral and EEG studiesth_TH
dc.typeArticleth_TH
dc.issue2th_TH
dc.volume17th_TH
dc.year2562th_TH
dc.description.abstractalternativeMeditation is very important to human life. It creates physical and mental balancing. This research, therefore, aimed to develop mindfulness on breathing along with listening to binaural beats, and to study the effect of the proposed method on emotional control. The effect of the proposed method was compared with the normal mindfulness on breathing (control group) by considering on the emotion regulation score and the EEG power spectrum. Forty-two volunteer students, aged 18-23 years old, participated in this study. All of them were randomly assigned into two groups; 21 students in experimental group and 21 students in control group. The students in experimental group was trained to follow the mindfulness on breathing along with listening to binaural beatsand control group practiced the normal mindfulness on breathing meditation. The research instruments consisted of an emotion regulation self-assessment and EEG recording in Neuroscan system. The descriptive statistics and t-test were analyzed in this study. The research results show that: 1. The mindfulness on breathing along with listening to binaural beats and normal mindfulness on breathing meditation significantly effected on emotion regulation scores and also changing in brain waves. 2. The results on emotional regulation showed that (1) there was significantly different on impulse control difficulties scores between 2 groups in pre-experimental stage, (2) the students in control group demonstrated significantly higher emotional regulation scores in 6 aspects after completing practicing period 3. The result on EEG waves in post test showed that (1) there were significant different in theta wave at three points of electrodes in baseline stage, including FZ, TP7 and CP1, (2) both groups did not present difference in alpha wave at baseline stage. In conclusion, the mindfulness on breathing meditation with binaural beats does not have an effect on the changing of theta and alpha wave.th_TH
dc.journalวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญาth_TH
dc.page19-37.th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
rmcs17n2p19-37.pdf364.16 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น