กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4256
ชื่อเรื่อง: การประเมินปริมาณและชนิดของแบคทีเรียในอากาศภายในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Assessment of airborne bacteria concentration and type in health promoting hospitals
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รจฤดี โชติกาวินทร์
นริศรา จันทรประเทศ
ภารดี อาษา
ทิษฏยา เสมาเงิน
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: แบคทีเรีย
คุณภาพอากาศ
คุณภาพอากาศภายในอาคาร -- การประเมิน
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: บทนำ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีผู้เข้าใช้บริการจำนวนมาก ระบบปรับอากาศภายในอาคาร หากบำรุงรักษาไม่ได้มาตรฐานเพียงพอ อาจก่อให้เกิดปัญหาการแพร่กระจายของแบคทีเรียในอากาศภายในอาคารและก่อให้เกิดโรคกับผู้เข้ารับบริการได้ วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินปริมาณและชนิดของแบคทีเรียในอากาศภายในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล วิธีการศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (cross-sectional descriptive study) โดยเก็บตัวอย่างอากาศช่วงฤดูฝนในห้องตรวจรักษา จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 30 แห่ง รวม 630 ตัวอย่าง ทำการเก็บตัวอย่างแบคทีเรียด้วยเครื่องแอนเดอร์เซน อิมแพคเตอร์ชนิดชั้นเดียวคุณภาพอากาศด้านกายภาพและเคมีตรวจวัดโดยใช้เครื่องมือชนิดอ่านค่าได้ทันที วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ เชิงอนุมาน ผลการศึกษา ชนิดของแบคทีเรียที่พบมากในการศึกษาครั้งนี้มี 3 ชนิด ได้แก่ Staphylococcus, Corynebacterium, Streptococcus และปริมาณแบคทีเรียมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 583.19+304.36 CFU/m3 ซึ่งเกินค่าแนะนำของสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย (ไม่เกิน 500 CFU/m3) และองค์การอนามัยโลก (ไม่เกิน 100 CFU/m3) โดยปริมาณแบคทีเรียขณะให้บริการ (828.86+375.01 CFU/m3) มีปริมาณแบคทีเรียสูงกว่าก่อนให้บริการ (409.61+122.20 CFU/m3) และหลังให้บริการ (511.09+164.78 CFU/m3) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยปริมาณแบคทีเรียในอากาศภายในห้องตรวจรักษาที่มีอุณหภูมิ (>26ºC) การเคลื่อนที่อากาศ (>0.30 m/s) และปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (>1,000 ppm) เกินข้อแนะนำของสำนักอนามัย จะมีปริมาณแบคทีเรียสูงกว่าที่ได้ตามข้อแนะนำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และค่าสัดส่วนของ I/O มีค่าสูงถึง 16 เท่า แสดงให้เห็นว่าแหล่งกำเนิดแบคทีเรียในอากาศภายในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมาจากแหล่งกำเนิดภายในอาคาร สรุป พบปริมาณแบคทีเรียภายในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดนครสวรรค์ เกินค่าแนะนำของสำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย (ไม่เกิน 500 CFU/m3) และองค์การอนามัยโลก (ไม่เกิน 100 CFU/m3) และแหล่งกำเนิดแบคทีเรียมาจากภายในอาคาร
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4256
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
med7n1p47-62.pdf357.72 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น