กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4254
ชื่อเรื่อง: | โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและสารต้านอนุมูลอิสระ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Chronic obstructive pulmonary disease and antioxidants |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรานุรินทร์ ยิสารคุณ กุลวรา พูลผล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ปอดอุดกั้น ปอด -- โรค แอนติออกซิแดนท์ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | บทนำ การดำเนินงานตามโครงการชายหาดปลอดบุหรี่ถือว่าเป็นการทำงานที่ทำให้เกิดสุขภาวะของประชาชนที่อยู่ในบริเวณชายหาดและปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ทั้งนี้ผู้ประกอบการถือว่าเป็นกลุ่มบุคคลสำคัญที่จะทำให้การดำเนินงานดังกล่าวประสบความสำเร็จ วัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจการรับรู้และความร่วมมือของผู้ประกอบการชายหาดบางแสนหลังการรณรงค์งดสูบบุหรี่บริเวณชายหาดบางแสน วิธีการศึกษา การศึกษาแบบเชิงสำรวจผู้ประกอบการบริเวณชายหาดบางแสน จำนวน 293 ราย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญโดยผู้เข้าร่วมโครงการตอบแบบสอบถามด้วยความสมัครใจ การศึกษาแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะก่อนการรณรงค์ (เดือนมกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2561) และระยะหลังการรณรงค์ (เดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ.2561) เครื่องมือในการศึกษาคือแบบสอบถามชนิด application google form โดยผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำแบบสอบถามโดยสแกนรหัสคิวอาร์ รายงานข้อมูลด้วยความถี่และร้อยละ ผลการศึกษา หลังการรณรงค์งดสูบบุหรี่บริเวณชายหาดบางแสนพบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการรับรู้ว่าชายหาดบางแสนเป็นชายหาดปลอดบุหรี่และรับรู้มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการห้ามสูบบุหรี่อยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 80 ขึ้นไป) ผู้เข้าร่วมโครงการให้ความร่วมมือไม่สูบบุหรี่ทุกครั้งเมื่อพบเห็นป้ายเขตปลอดบุหรี่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 50.0 เป็นร้อยละ 79.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.028) และสูบบุหรี่ในบริเวณเขตสูบบุหรี่ที่กำหนดเท่านั้นเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 60.0 เป็นร้อยละ 86.2 ผู้เข้าร่วมโครงการเพิกเฉยเมื่อพบเห็นผู้สูบบุหรี่บริเวณชายหาดลดลงจากร้อยละ 48.5 เป็นร้อยละ 16.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.000) โดยวิธีการที่ผู้เข้าร่วมโครงการเลือกใช้มากที่สุดคือแนะนำให้ผู้สูบบุหรี่ดูป้ายประชาสัมพันธ์ (ร้อยละ 74.2) วิธีการประชาสัมพันธ์ที่ได้ผลมากที่สุดสองอันดับแรกคือ การประกาศเสียงตามสาย (ร้อยละ 85.3) และกิจกรรมการเดินรณรงค์ (ร้อยละ 83.7) สรุป ผู้ประกอบการบริเวณชายหาดบางแสนรับรู้กฎหมายการห้ามสูบบุหรี่บริเวณชายหาดบางแสนเพิ่มขึ้นหลังการรณรงค์ การบังคับใช้มาตรการทางกฎหมาย รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารผ่านการประกาศเสียงตามสายและการจัดกิจกรรมเดินรณรงค์เป็นกลยุทธ์หลักของเทศบาลเมืองแสนสุขที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการบริเวณชายหาดบางแสนให้ความร่วมมือปฏิบัติตามกฎหมายเพิ่มขึ้น |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4254 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
med7n1p76-88.pdf | 421.9 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น