กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4250
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | รัชนีพร ชื่นสุวรรณ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2021-06-23T07:47:03Z | |
dc.date.available | 2021-06-23T07:47:03Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4250 | |
dc.description.abstract | บทนำ ปัจจุบันโรคโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) กำลังระบาดอย่างกว้างขวาง โดยในกลางเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 พบผู้ติดเชื้อทั่วโลกมากกว่า 2,000,000 คน และเสียชีวิตมากกว่า 130,000 ราย มากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก โดยโรค COVID-19 เกิดจากเชื้อไวรัส Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2 (SARSCoV-2) พบครั้งแรกที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.2562 และหลังจากนั้นได้มีการระบาดไปเกือบทั่วโลก โดยอัตราทุพพลภาพ และการเสียชีวิตพบในมากกว่ากลุ่มการติดเชื้อโคโรนาไวรัสที่ระบาดก่อนหน้านี้คือ โรค SARS (8,098 คน ติดเชื้อ 774 คน เสียชีวิต) และ MERS (2,458 คน ติดเชื้อ 848 คนเสียชีวิต1 จากข้อมูลแรกจากประเทศจีนในผู้ป่วย 72,314 ราย พบว่า ร้อยละ 81 จะมีอาการเพียงเล็กน้อยหรือไม่รุนแรง ร้อยละ 14 จะมีอาการรุนแรง เช่น มีอาการเหนื่อย และ ภาวะปอกอักเสบ ร้อยละ 5 จะมีอาการรุนแรงมากจนถึงมีภาวะอวัยวะล้มเหลวได้ ส่วนอัตราการตายปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ ร้อยละ 2-3 2 การศึกษาเดียวกันยังพบว่านอกเหนือจากอาการแสดงทางระบบทางเดินหายใจแล้ว ผู้ป่วย COVID-19 ยังมีอาการแสดงทางระบบทางเดินอาหารและตับเช่นเดียวกัน ดังนั้นโรคจึงสามารถติดต่อทางการสัมผัสอุจจาระเช่นกัน วัตถุประสงค์ เพื่อทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการติดเชื้อ COVID-19 ในด้านต่าง ๆ ได้แก่อาการแสดงในระบบทางเดินอาหารและตับ fecal oral transmission และการป้องกันการติดเชื้อในห้องส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร วิธีการ ทบทวนวรรณกรรมที่ตีพิมพ์จากฐานข้อมูล PubMed, Ovid, medRxiv จนถึง 20 เมษายน 2020 สรุป SARS-CoV-2 เป็นภัยคุกคามร้ายแรงของมนุษย์โลก โดยในช่วงแรก ๆ ของการระบาดอาการหลักที่นำมาสู่การคัดกรองคืออาการทางเดินหายใจ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีข้อมูลมากขึ้นอาการทางด้านทางเดินอาหารก็พบได้มีรายงานการตรวจพบอนุภาคของไวรัสในอุจจาระแม้ว่าผลจาการตรวจในทางเดินหายใจจะเป็นลบแล้ว ดังนั้นการรณรงค์ป้องกันการแพร่ระบาดผ่านทาง fecal oral transmission มีความสำคัญอย่างยิ่งยวด และนำมาซึ่งการพัฒนาการรักษาใหม่ ๆ ที่มุ่งเน้นที่ระบบทางเดินอาหารในอนาคตอีกด้วย | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค) | th_TH |
dc.subject | การติดเชื้อไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | อาการ (โรค) | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.title | โรคโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) ในด้านระบบทางเดินอาหารและตับ | th_TH |
dc.title.alternative | Coronavirus disease 2019 (COVID-19) and gastrointestinal system | en |
dc.type | Article | th_TH |
dc.issue | 1 | th_TH |
dc.volume | 7 | th_TH |
dc.year | 2563 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Introduction Currently, Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) is spreading widely. As of April 2020, more than 2,000,000 people were infected and more than 130,000 deaths in over 200 countries around the world. The morbidity and mortality associated with COVID-19 exceeds previous coronavirus infection outbreaks including SARS (8,098 infections, 774 deaths) and MERS (2,458 infections, 848 deaths1 . An initial analysis of 72,314 cases from China revealed that an about 81% of infections are characterized as mild, 14% are severe, and 5% are critical, with an overall fatality rate of 2.3%2 . The same study also reported that in addition to symptoms and contract through the respiratory system, COVID-19 patients can have gastrointestinal and liver symptoms, as well as to be able to contract through contaminated feces into the mouth. Therefore, in addition to symptoms and contact through the respiratory system, COVID-19 patients can also have gastrointestinal and liver symptoms, as well as to be able to contact through contaminated feces into the mouth. In this review article, we summarized the published literatures to date concerning gastrointestinal manifestations of COVID-19 infection. Objective To review and summarized the published literatures to date concerning different aspects of COVID-19 infection including gastrointestinal manifestations the role of fecal–oral transmission; and prevention/control infection in the digestive endoscopy room. Method Review and summarize the published literatures to date from PubMed, Ovid, medRxiv Data sources up to 20 April 2020 Conclusion SARS-CoV-2 is a serious threat to human health worldwide due to its strong human-to-human transmission ability. In the early days of the disease outbreak, medical staff focused their main attention on screening for respiratory symptoms. However, as the disease progresses and the disease understanding unfolds, digestive symptoms related to COVID-19 have also been identified. A recent case series in China has confirmed that SARS-CoV-2 nucleic acid which has turned negative in throat swabs can still be detected in the feces. It is predictive and sensible to take early steps to prevent fecal–oral transmission both in the hospital and in the community. More importantly, efforts should be made to formulate the clinical protocols and develop antiviral drugs targeting the digestive system in the future. | en |
dc.journal | บูรพาเวชสาร | th_TH |
dc.page | 113-126. | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
med7n1p113-126.pdf | 386.24 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น