กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/424
ชื่อเรื่อง: | สัมฤทธิผลการพัฒนาชุมชนตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ : กรณีศึกษา จ. สมุทรปราการ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The effectiveness of community development based on one tambon one product project : case study in Samutrprakarn province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุวรรณี ละออปักษิณ นงคราญ วงษ์ศรี จินตนา อาจสันเที๊ยะ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การพัฒนาชนบท - - สมุทรปราการ การพัฒนาชุมชน - - สมุทรปราการ โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ |
วันที่เผยแพร่: | 2554 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ข้อ คือ 1)เพื่อศึกษาว่าโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการในระดับใดในด้าน 1.1)การสร้างงาน สร้างรายได้แก่ชุมชน 1.2)การสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนให้สามารถคิดเอง ทำเองในระดับท้องถิ่น 1.3)การส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น 1.4)การส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และ 2)เพื่อวิเคราะห์ปัญหาเชิงบวกและลบที่มีผลต่อการดำเนินโครงการฯ และข้อเสนอแนะต่อการดำเนินโครงการฯ ต่อไป โดยศึกษาในพื้นที่ จ.สมุทรปราการใน 2 อำเภอ คือ อ.เมือง และ อ.พระประแดง โดยวิธีการสัมภาษณ์เป็นหลัก กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย หัวหน้ากลุ่ม 134 คน สมาชิกกลุ่ม 270 คน ผู้บริหารระดับสูงทองถิ่น 7 คน พัฒนากรชุมชนระดับอำเภอและจังหวัด และเกษตรกรอำเภอ 3 คน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. การบรรลุวัตถุประสงค์โครงการ : 1.1)โครงการฯ สามารถสร้างงาน สร้างรายได้แก่ชุมชนในระดับสูง 1.2)โครงการฯ สามารถสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนในระดับปานกลาง 1.3)โครงการสามารถส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในระดับค่อนข้างสูง 1.4)โครงการฯ สามารถส่งเสริมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเป็นบุคคลของชุมชนในระดับปานกลางและผลลัพธ์การประเมินอื่น คือ 1)การเกิดเครือข่ายระหว่างกลุ่ม และ2)การต่างสนับสนุนระหว่างการปกครองท้องถิ่นแบบการกระจายอำนาจ และโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ 2.ปัจจัยเชิงบวกและลบที่กระทบต่อผลสัมฤทธิ์โครงการฯ และข้อเสนอแนะการดำเนินโครงการฯ : 2.1)ปัจจัยที่กระทบต่อการดำเนินโครงการในเชิงบวก ประกอบด้วย ความเข้นแข็งขององค์การบริหารส่วนตำบล การมีกิจกรรมกลุ่มในลักษณะประชาคม 2.2)ปัจจัยที่กระทบต่อการดำเนินโครงการในเชิงลบประกอบด้วยความไม่ต่อเนื่องของนโยบายการเมือง ความไม่เข้าใจอย่างแจ้งชัดของผู้มีส่วนได้เสียในแนวคิดโครงการ ข้อเสนอแนะการดำเนินโครงการฯ ที่สำคัญ คือต้องส่งเสริมการตลาดอย่างเข้มแข็ง สร้างเอกลักษณ์ของชุมชน เพื่อร้อยรัดพลังสร้างสรรค์และศรัทธาต่อชุมชน และสร้างความเข้าใจอย่างต่อเนื่องในการดำเนินโครงการฯ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/424 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|
2568_125.pdf | 3.62 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น