กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4234
ชื่อเรื่อง: แนวทางส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมในชีวิตประจำวันของนักศึกษาจีนและนักศึกษาไทยในสถาบันระดับอุดมศึกษา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The guideline for culture learning in daily life promotion of Chinese and Thai students in higher educational institutions level
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: Zhang, Chunjiao
สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
วรวุฒิ เพ็งพันธ์
ภัทรมนัส ศรีตระกูล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การเรียนรู้
วัฒนธรรมไทย
นักศึกษาจีน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเรียนรู้วัฒนธรรมไทยในชีวิตประจำวันของนักศึกษาจีน ที่ศึกษาในระดับอุดมศึกษาของไทย 2) ศึกษาการเรียนรู้วัฒนธรรมจีนในชีวิตประจำวันของนักศึกษาไทยที่เคย ไปศึกษาในระดับอุดมศึกษาของจีน 3) ศึกษาแนวทางส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมในชีวิตประจำวันของ นักศึกษาจีนและนักศึกษาไทยในสถาบันระดับอุดมศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ นักศึกษา จีนและนักศึกษาไทย จำนวน 40 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิธีการสนทนากลุ่มจากอาจารย์และผู้ ประสานงาน จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปจัดหมวดหมู่ประเด็นสำคัญ นำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาเชิงวิเคราะห์ในรูปแบบความเรียง ตารางและแผนภูมิ ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. การเรียนรู้วัฒนธรรมไทยในชีวิตประจำวันของนักศึกษาจีนมีการศึกษาด้วยตนเองจากหนังสือ จากเว็บไซต์ จากอินเทอร์เน็ต จากภาพยนตร์ และการถามรุ่นพี่ทั้งชาวจีนและชาวไทยก่อนมาศึกษา ขณะศึกษา เรียนรู้จากการสังเกต การพูดคุยกับเพื่อนและอาจารย์ผู้สอน วัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ต้องส่งเสริม คือภาษา สมัยใหม่ในการสื่อสารมารยาทในสังคม กฎหมายข้อบังคับที่แตกต่างกัน สถานที่ที่ต้องติดต่อ ต้องการเพื่อนคนไทยและคนจีนช่วยให้คำแนะนำ 2. การเรียนรู้วัฒนธรรมจีนในชีวิตประจำวันของนักศึกษาไทยมีการเรียนรู้จากบทเรียนในหลักสูตรสังคมศึกษา จากเอกสาร จากเว็บไซต์ จากอินเทอร์เน็ต ศึกษาด้วยตนเองจากช่องโทรทัศน์ของจีนในไทยจากภาพยนตร์ จากคำบอกเล่าของรุ่นพี่คนไทยที่เคยไปศึกษา และถามเพื่อนคนจีนที่เรียนอยู่ด้วยก่อนไปศึกษา ขณะศึกษาเรียนรู้จากการสังเกต อ่านเอกสาร ถามเพื่อนและอาจารย์ผู้สอน วัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ต้องส่งเสริม คือ ภาษาสมัยใหม่ในการสื่อสารมารยาทในสังคม กฎหมาย อาหารที่แตกต่างกัน สถานที่ที่ต้องติดต่อ ต้องมีเพื่อนคนไทยและคนจีนให้คำแนะนำและช่วยเหลือ 3. แนวทางส่งเสริมการเรียนรู้วัฒนธรรมในชีวิตประจำวันของนักศึกษาจีนและไทยในสถาบันระดับ อุดมศึกษา คือ ควรมีการปรับหลักสูตรให้ทันสมัย เพิ่มภาษาที่ใช้ในปัจจุบัน ควรสอดแทรกวัฒนธรรมด้วยการจัดโครงการทัศนศึกษา จัดตั้งหน่วยงานและบุคลากรช่วยประสานงานโดยตรง จัดตั้งเป็นสมาคมหรือชมรมศิษย์เก่าเพื่อจัดกิจกรรมเสริมและเผยแพร่วัฒนธรรมให้แก่นักศึกษาไทยและจีน จัดบรรยากาศวิชาการโดยใช้เทศกาลตามประเพณีในชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมให้แก่นักศึกษาได้รับความรู้เพิ่มเติมจากที่ได้รับในบทเรียน
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4234
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
edusoc15n2p174-190.pdf646.08 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น