กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4233
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษนครพนม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guideline for social and cultural development in Nakhon Phanom Special Economic Zone |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุริยนต์ หลาบหนองแสง สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์ ศรีวรรณ ยอดนิล มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การพัฒนาสังคม -- ไทย -- นครพนม สังคมและวัฒนธรรม สาขาการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่มีต่อการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษนครพนม (2) สร้างแนวทางการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษนครพนม (3) ยืนยันแนวทางการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษนครพนม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ กลุ่มระดับนโยบาย กลุ่มระดับฝ่ายปฏิบัติการ และกลุ่มประชาชนทั่วไป จำนวน 81 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปแนวทางการพัฒนาจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยที่มีต่อการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษนครพนม ประกอบด้วย ปัจจัยหลัก 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการพัฒนาองค์การทางสังคม 2) ด้านการพัฒนาสถาบันทางสังคม 3) ด้านการพัฒนาทางวัฒนธรรม 2. การสร้างแนวทางการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษนครพนม ประกอบด้วยปัจจัยย่อย 15 ประการ ได้แก่ 2.1 ด้านการพัฒนาองค์การทางสังคม มีปัจจัยย่อย 7 ปัจจัย ได้แก่ 1) การพัฒนาระบบการขนส่งโลจิสติกส์, 2) การพัฒนาช่องทางเศรษฐกิจทางการค้า, 3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐอย่างต่อเนื่อง, 4) การมีส่วนร่วมของประชาชนในท้องถิ่นต่อการพัฒนาทางสังคม, 5) การสนับสนุนจากภาคเอกชนด้านการลงทุนในพื้นที่, 6) การจ้างแรงงานในพื้นที่เพื่อความมั่นคงของท้องถิ่น และ 7) การใช้กฎหมายและข้อบังคับในการรักษาระเบียบของท้องถิ่น 2.2 ด้านการพัฒนาสถาบันทางสังคม มีปัจจัยย่อย 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) การสร้างการรับรู้และปลูกจิตสำนึกรักท้องถิ่น, 2) การมีส่วนร่วมระหว่างเครือข่ายสถาบันทางสังคมทุกมิติ, 3) การสร้างความมั่นคงในอาชีพสร้างความอบอุ่นในครอบครัวในพื้นที่ และ 4) การพัฒนาสถาบันการศึกษาเพื่อรองรับการพัฒนาและสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศ 2.3 ด้านการพัฒนาทางวัฒนธรรม มีปัจจัยย่อย 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) การสร้างการรับรู้ประเพณีในท้องถิ่นให้เกิดการยอมรับของคนภายนอก, 2) การรักษาวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดการสืบต่อและต่อยอด, 3) การสร้างวัฒนธรรมเป็นเกราะสร้างศรัทธารักษาท้องถิ่น และ4) การสนับสนุนและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3. การยืนยันแนวทางการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมในเขตเศรษฐกิจพิเศษนครพนม ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญ 6 ปัจจัย ได้แก่ 1) การส่งเสริมเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ก่อเกิดความเอื้อเฟื้อทางสังคม 2) การสนับสนุนงบประมาณด้านการพัฒนาในท้องถิ่น 3) การพัฒนาระบบการคมนาคมเพื่อรองรับการท่องเที่ยว 4) การสร้างการยอมรับและการรับรู้ของประชาชน 5) การปลุกจิตสำนึกด้านบทบาทหน้าที่ของพลเมือง และ 6) การพัฒนาโครงสร้างทางสังคมผ่านมิติทางวัฒนธรรม |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4233 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
edusoc15n2p202-212.pdf | 610.38 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น