กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4227
ชื่อเรื่อง: | สตรีในการพัฒนาสังคม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Trends of women leadership role for social development |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธัญญธร บุญอภัย พักตร์วิภา โพธิ์ศรี สมหมาย แจ่มกระจ่าง มหาวิทยาลัยบูรพา. สาขาการศึกษา |
คำสำคัญ: | สตรีกับการพัฒนา การพัฒนาสังคม ผู้นำสตรี |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพ บทบาทความเป็นผู้นำของสตรีในการพัฒนาสังคม 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทความเป็นผู้นำของสตรีในการพัฒนาสังคม 3) วิเคราะห์แนวโน้มบทบาทความเป็นผู้นำของสตรีในการพัฒนาสังคมในอนาคต ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods) จากการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 384 คน และการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์คณะกรรมการสตรี จำนวน 21 คน และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพบทบาทความเป็นผู้นำของสตรีในการพัฒนาสังคม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม และด้านสิ่งแวดล้อม 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทความเป็นผู้นำของสตรีในการพัฒนาสังคม 1) ด้านสังคม ประกอบด้วย 3 ปัจจัย ได้แก่ 1.1) การมีจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือสังคม 1.2) การมีความสามัคคีและความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน 1.3) การมีอำนาจต่อรองโดยการจัดตั้งกลุ่มเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิต 2) ด้านเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 2.1) การบริหารจัดการเศรษฐกิจของครอบครัวทั้งรายรับรายจ่าย 2.2) การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์และการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ 2.3) ความสามารถในการเจรจาต่อรองด้านธุรกิจเพื่อสร้างความเป็นธรรมด้านเศรษฐกิจของชุมชน 3) ด้านวัฒนธรรม ประกอบด้วย 3.1) ด้านคุณลักษณะที่เอื้อต่อความเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมด้านวัฒนธรรม 3.2) การประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีและส่งเสริมศีลธรรมแก่ครอบครัวและชุมชน 3.3) การอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น 4) ด้านการเมืองและการปกครอง ประกอบด้วย 4.1) การเปิดโอกาสและสนับสนุนให้สตรีเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานต่าง ๆ มากขึ้น 4.2) การมีความรู้ความเข้าใจด้านการเมืองการปกครองทำให้สังคมยอมรับบทบาทสตรีมากขึ้น 4.3) การมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายเบื้องต้นเพื่อสร้างความตระหนักถึงสิทธิ บทบาทหน้าที่พลเมืองที่ดีของสังคม 5) ด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย 5.1) การเป็นผู้นำการพัฒนาและส่งเสริมโครงการต่าง ๆ เพื่ออนุรักษ์และเสริมสร้างสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน 5.2) การรณรงค์ให้ชุมชนและสังคมได้ตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากร 5.3) การประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในชุมชน 3. แนวโน้มบทบาทความเป็นผู้นำของสตรีในการพัฒนาสังคม “ตามกรอบ 5 ส” ประกอบด้วย ส. 1: เสริมสร้างพลังจิตอาสา เพื่อพัฒนาความเข้มแข็งสู่ชุมชน ประกอบด้วย ด้านจิตอาสา ด้านการศึกษา การได้รับการยอมรับในความสามารถ ส. 2: เสริมสร้างพลังสตรี นวัตวิถีสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ประกอบด้วย การบริหารจัดการเศรษฐกิจของครอบครัว ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี การเจรจาต่อรองในด้านธุรกิจของชุมชน ส. 3: เสริมสร้างเอกลักษณ์ความเป็นไทยรวมจิตใจ สืบสานภูมิปัญญาสู่สากล ประกอบด้วย เป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์วัฒนธรรม บทบาทในการถ่ายทอด จริยธรรม ศีลธรรม คุณธรรม บทบาทในการอนุรักษ์และสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ส. 4: เสริมสร้างความสมานฉันท์เพื่อสร้างสรรค์ความปรองดอง ประกอบด้วย การพัฒนาความรู้และเรียนรู้ด้านกฎหมายเบื้องต้นเพื่อพัฒนาตนเอง บทบาทการเป็นผู้นำด้านสิทธิมนุษย์ชน การได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวและชุมชน ส. 5: เสริมสร้างความตระหนัก รักษ์ทรัพยากรตามวิถีพอเพียงสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประกอบด้วย การศึกษาเรียนรู้และเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมการเป็นแบบอย่างในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเป็นผู้นำในการรณรงค์ ด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4227 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
edusoc15n2p291-301.pdf | 627.19 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น