กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4215
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการจัดการตนเองของเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The model of self-management for children with thalassemia |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์ นฤมล ธีระรังสิกุล พจนารถ สารพัด มณีพร ภิญโญ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ธาลัสซีเมีย ธาลัสซีเมียในเด็ก การจัดการตนเอง (จิตวิทยา) การดูแลสุขภาพด้วยตนเอง สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองของเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมียที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก รูปแบบการศึกษาเป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งเป็น 2 ระยะคือ 1) การวิเคราะห์สถานการณ์ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับเด็กโรคธาลัสซีเมีย จำนวน 11 คน และการตอบแบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความร่วมมือในการรักษา พฤติกรรมการจัดการตนเอง ของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 88 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และ 2) การพัฒนารูปแบบ ได้จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากระยะที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณา วิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยในระยะที่ 1 จากข้อมูลเชิงคุณภาพ พบประเด็นหลักในการจัดการตนเองของเด็กคือ การจัดการตนเองด้านชีวิตประจำวัน การจัดการตนเองด้านจิตใจ และสิ่งสนับสนุนการจัดการตนเอง ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณพบว่า ความร่วมมือ ในการรักษา และความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการจัดการตนเองของเด็กโรคธาลัสซีเมียได้ร้อยละ 17.4 ส่วนในระยะที่ 2 ได้รูปแบบการจัดการตนเอง ประกอบด้วย 1) ปัจจัยนำเข้าด้านเด็ก ประกอบด้วยมุมมองของเด็กต่อการจัดการตนเอง ความร่วมมือในการรักษา ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และพฤติกรรมการจัดการตนเอง ด้านบริบทครอบครัวและทีมสุขภาพ 2) กระบวนการ ได้แก่ การเตรียมความพร้อม การพัฒนาความสามารถในการจัดการตนเอง และการสนับสนุนการจัดการตนเอง และ 3) ผลลัพธ์ ได้แก่ ภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตของเด็ก ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้รูปแบบการจัดการตนเองของเด็กที่ป่วยด้วยโรคธาลัสซีเมีย เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำโปรแกรมการจัดการตนเองของเด็กโรคธาลัสซีเมีย ปัจจัยความสำเร็จที่ทำให้รูปแบบเป็นไปได้จริงและยั่งยืนคือความร่วมมือระหว่างครอบครัวและบุคลากรทีมสุขภาพ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4215 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
nus28n2p27-39.pdf | 378.65 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น