กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4211
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตกำรทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภาคตะวันออก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors predicting quality of work life among professional nurses at sub-district health promotions hospitals in eastern region |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | มโนวรรณ มากมา สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ นิสากร กรุงไกรเพชร มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | คุณภาพชีวิตการทำงาน ความพอใจในการทำงาน พยาบาล -- ความพอใจในการทำงาน สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | คุณภาพชีวิตการทำงานเป็นความพึงพอใจตามความนึกคิดของผู้ทำงานที่มีต่อการทำงาน การมีส่วนร่วมในงาน และได้รับการตอบสนองต่อความต้องการขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ภาคตะวันออก จำนวน 145 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย ข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยสภาพการทำงาน และคุณภาพชีวิตการทำงาน ประเมินค่าความเชื่อมั่นด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบวัดคุณภาพชีวิตการทำงานเท่ากับ .97 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง (M = 3.50, SD = 0.56) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตการทำงาน (QOWL) ของพยาบาลวิชาชีพ คือ ภาวะการเจ็บป่วย (Sickness) การสนับสนุนจากหัวหน้างาน (Train) และการสนับสนุนจากชุมชน (Comsupp) สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานได้ร้อยละ 28.8 โดยภาวะการเจ็บป่วยมีอิทธิพลในการทำนายมากที่สุด (β = -.44) รองลงมาคือ การสนับสนุนจากหัวหน้างาน (β = .30) และสุดท้ายคือการสนับสนุนจากชุมชน (β = -.28) ตามสมการดังนี้ QOWL = 3.21 -.52 (Sickness) + .05 (Train) + .42 (Comsupp) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปทำนายคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อกำหนดกลุ่มเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานให้ดีขึ้น และเป็นแนวทางการพัฒนาโปรแกรมการปรับปรุงคุณภาพชีวิตการทำงานให้ดียิ่งขึ้น |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4211 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
nus28n2p85-95.pdf | 235.86 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น