กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4182
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorจุฑามาศ ชูสุวรรณ
dc.contributor.authorปรีชา เปี่ยมพงศ์สานต์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned2021-06-17T02:06:11Z
dc.date.available2021-06-17T02:06:11Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4182
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุเพื่อศึกษาบริบท กลไก และกระบวนการแปลงสภาพของการสะสมทุนเบื้องต้นมาเป็นการสะสมทุนแบบทุนนิยมในบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย-กัมพูชา ของจังหวัดชายฝั่งทะเลตะวันออก ผลการศึกษา พบว่า 1) บริบทสำคัญที่ก่อให้เกิดกระบวนการสะสมทุนเบื้องต้นในบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกเกิดขึ้นจากกระแสโลกาภิวัตน์หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี ค.ศ. 2532–2534 มีผลให้เกิดกระบวนการพัฒนาของระบบทุนนิยมอย่างแพร่หลายไปทั่วโลก รัฐบาลไทยในยุคพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ก็ได้มีการปรับเปลี่ยนนโยบายของรัฐไทยกับประเทศเพื่อนบ้านจากสนามรบเป็นสนามการค้าในปี พ.ศ. 2533 ส่งผลให้กระบวนการสะสมทุนเบื้องต้นตามแนวชายแดนจังหวัดตราดและจังหวัดเกาะกง สามารถขับเคลื่อนได้อย่างก้าวหน้า 2) กลไกที่สำคัญในการสะสมทุนเบื้องต้น ได้แก่ กลไกของรัฐไทย ทั้งกลไกด้านเศรษฐกิจในรูปแบบการค้าชายแดน และกลไกด้านการเมืองในรูปของจุดผ่านแดน และกลไกของรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลส่วนกลางสามารถเข้าไปปกครองดินแดนทั้งหมดในประเทศได้ รัฐบาลแห่งชาติของทั้งสองประเทศ ก็คือ รัฐบาลกัมพูชาและรัฐบาลไทยได้สนับสนุนให้เกิดกระบวนการสะสมทุนทั้งในระดับจังหวัดและระดับชาติ 3) กระบวนการแปลงสภาพของการสะสมทุนเบื้องต้นมาเป็นการสะสมทุนแบบทุนนิยม พบว่า มีพลวัตอยู่ในกระบวนการสะสมทุนเบื้องต้นเป็นหลัก กล่าวคือ มีการเปลี่ยนแปลงจากการสะสมทุนในธุรกิจสีดำไปสู่ธุรกิจสีเทา และเป็นธุรกิจสีขาวในปัจจุบัน ความพยายามในการแปลงสภาพจากการสะสมทุนเบื้องต้นไปสู่การสะสมในลักษณะทุนนิยมปรากฎให้เห็นเด่นชัดจากการทำการเกษตรขนาดใหญ่ แต่ก็ไม่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีพลวัตได้ ข้อค้นพบจากการวิจัย ชี้ให้เห็นว่า ทฤษฎีการสะสมทุนเบื้องต้นในกลุ่มมาร์กซิสต์ ไม่มีทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งมีความสมบูรณ์ในตนเอง ที่จะอธิบายถึงการสะสมทุนเบื้องต้นในพื้นที่ชายแดนของประเทศไทยได้ เนื่องจากแนวคิดเบื้องต้นของ David Harvey และ Karl Marx ต่างก็เป็นแนวคิดที่มีพื้นฐานจากตะวันตก โดยในกรณีของ Karl Marx เกิดจากบริบทในอดีต ส่วนในกรณีของ David Harvey เกิดจากบริบทปัจจุบันในยุค โลกาภิวัตน์และเสรีนิยมใหม่ ดังนั้น ในการใช้แนวคิดดังกล่าว อาจต้องมีการปรับให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของโลกที่เปลี่ยนไปth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการสะสมทุนth_TH
dc.subjectทุนนิยมth_TH
dc.subjectพื้นที่ชายแดน -- ไทย (ภาคตะวันออก)th_TH
dc.subjectปัญหาชายแดน -- ไทย (ภาคตะวันออก)th_TH
dc.subjectสาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์th_TH
dc.titleกระบวนการสะสมทุนเบื้องต้นบริเวณพื้นที่ชายแดนไทย - กัมพูชาของจังหวัดชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกth_TH
dc.title.alternativeThe process of primitive accumulation of capital in Thailand- Cambodia border of eastern coastal provincesen
dc.typeArticleth_TH
dc.issue1th_TH
dc.volume12th_TH
dc.year2563th_TH
dc.description.abstractalternativeThe research aimed to study the context, mechanism and process of primitive accumulation of capital in Thailand-Cambodia border of Eastern coastal provinces. The results of the study were as follows; 1) The important context of the primitive accumulation of capital in the Eastern coastal area was the globalization trend after the downfall of the Soviet Union during 1989–1991. This context made the development process of capitalism widespread all over the world. Thai Government led by Prime Minister General Chartchai Choonhavan initiated Converting a Battlefield to a Market Place Policy in 1990. This caused the progress in the primitive accumulation of capital process in the border area in the Trat and Koh Kong Province. 2) Important mechanisms in the primitive accumulation of capital included Thai state mechanism both border trade as an economic mechanism and various forms of immigration checkpoints as a political one. Moreover, mechanism of Cambodian Government which developed after national government had already taken control the whole area of the country. National governments in both countries, Thailand and Cambodia, had promoted the process of capital accumulation at both the provinces and the country level. The transformation process from the primitive accumulation of capital to capitalist accumulation showed that there were main dynamism in the primitive accumulation of capital. The capital accumulation in the black business changed into grey business and into white business in the present. The attempt to transform the primitive accumulation of capital into capitalist accumulation could be clearly seen from the large-scale but nondynamic farming. The research found that none of Marxist theories of the primitive accumulation of capital were perfect in themselves in explaining the primitive accumulation of capital in Thai border area. This was because that the basic idea of David Harvey and Karl Marx are based on the past context in the case of Karl Marx and the present context in Globalization Era and Neoliberalism in the case of David Harvey. Hence, the application of those ideas might be adapted to the changing global environment.en
dc.journalวารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมายth_TH
dc.page119-137.th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
politic12n1p119-137.pdf425.66 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น