กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4178
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ศิริศักดิ์ จึงถาวรรณ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศิลปกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2021-06-16T08:47:38Z | |
dc.date.available | 2021-06-16T08:47:38Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4178 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการถือครองที่ดินของประเทศไทย วิเคราะห์กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิการถือครองที่ดิน สถานภาพการถือครองที่ดิน ปัญหากฎหมายหรือปัจจัยในเชิงอุปสรรคที่มีผลต่อการบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนได้บทสรุปและข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการถือครองที่ดิน การศึกษาใช้วิธีการวิจัยเอกสาร และนำข้อเท็จจริงของปัญหาในการออกเอกสารสิทธิในพื้นที่ ตำบลวังสมบูรณ์ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้วมาวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา จากการศึกษาวิจัยพบว่า สาเหตุการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ที่ดินอาจได้มาหลายช่องทางด้วยกัน ซึ่งก่อนที่จะออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์จำเป็นต้องมีการพิสูจน์สิทธิในที่ดินเสียก่อน ซึ่งกฎหมายแต่ละฉบับมุ่งเน้นการจัดการที่ดินโดยรัฐ ในการควบคุมการใช้ที่ดินและใช้กระบวนการพิสูจน์สิทธิในที่ดินภายใต้กรอบของกฎหมายและเอกสารของทางราชการ ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทที่ดิน รวมถึงการบังคับใช้กฎหมายหลายฉบับ ทับซ้อนกันทำให้เกิดปัญหาทั้งแง่กฎหมายและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตลอดจนปัญหาช่องว่างทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการถือครองที่ดินด้วย ผู้วิจัยเสนอแนะทางกฎหมาย ได้แก่ การแก้ไขประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 ให้สามารถออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในเขตป่าไม้ถาวร หรือแก้ไขพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. 2511 เกี่ยวกับคุณสมบัติของสมาชิกและให้ใช้ประโยชน์ที่ดินในลักษณะอื่นนอกจากเกษตรกรรมได้ หรือแก้ไขพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 ให้สามารถนำที่ดินในเขตป่าไม้ถาวรมาดำเนินการปฏิรูปที่ดิน เพื่อการเกษตรกรรมได้ รวมถึงได้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้วย | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การถือครองที่ดิน -- ไทย -- สระแก้ว | th_TH |
dc.subject | การถือครองที่ดิน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | th_TH |
dc.subject | กรรมสิทธิ์ที่ดิน | th_TH |
dc.subject | สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ | th_TH |
dc.title | ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการถือครองที่ดินในพื้นที่ตำบลวังสมบูรณ์ อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว | th_TH |
dc.title.alternative | Legal problems for pedal possession on public land study on Wangsomboon sub-district, Wangsomboon district, Sa Kaew province | en |
dc.type | Article | th_TH |
dc.issue | 1 | th_TH |
dc.volume | 12 | th_TH |
dc.year | 2563 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objective of this research is to study the policies and laws regarding land possession in Thailand, and to analyze the laws regarding land possession, status of land titles and possession, and legal problems or obstacles affecting law enforcement in order to conclude and suggest guidelines for actions regarding land possession. Document research is used in this study which is based on facts and problems in issuing title certificates in Wang Somboon sub-district, Wang Somboon District, Sa Kaeo Province to analyze the cause of the problem. The study found that land ownership can be acquired from several channels. Before issuing a title deed or a certificate of utilization, title of land shall be proved. Each law focuses on land management by the State in terms of land-use control, proof of ownership procedure within the legal framework, and official documents which deemed to be obstacles to the resolution of land disputes. Furthermore, overlapping law enforcement, as well as legal gaps in relation to land possession, causes both legal and operational problems for government officials. The researcher suggests that the Land Code B.E. 2497 should be amended by enabling the issuance of land title deeds or certificate of utilization in permanent forest, Allotment of Land for Living Act, B.E. 2511 should be amended by changing the qualifications of members and allowing land use in other respects than agriculture, or Agricultural Land Reform Act B.E.2518 should be amended by allowing land in the permanent forest to be used for agricultural land reform. In addition, policy recommendations are introduced in this research. | en |
dc.journal | วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย | th_TH |
dc.page | 533-552. | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
politic12n1p533-552.pdf | 413.4 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น