กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4160
ชื่อเรื่อง: ผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตระดับปริญญาตรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effect of rational emotive behavior group therapy on alcohol abstinence self-efficacy in undergraduate students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปานฤทัย ปานขวัญ
ดลดาว วงศ์ธีระธรณ์
ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม
นักศึกษา -- การให้คำปรึกษา
ความสามารถในตนเอง
การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
นักศึกษา -- การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม ต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนิสิตระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตระดับปริญญาตรี ที่มีค่าคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเอง ในการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต่ำกว่า 83 คะแนน และมีความสมัครใจในการเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 16 คน สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินการรับรู้ความสามารถของตนเอง ในการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผลอารมณ์ และพฤติกรรมที่ผู้วิจัยได้สร้างขึ้น เก็บข้อมูลโดยการวัดคะแนนเฉลี่ย การรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3 ระยะ คือ ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง และติดตามผล จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการทดสอบของบอนเฟอร์โรนี ผลการวิจัยพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นิสิตที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม มีคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนิสิตที่ได้รับการปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพิจารณาเหตุผลอารมณ์ และพฤติกรรม มีคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองในการหลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4160
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
edu31n2p174-188.pdf228.35 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น