กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/415
ชื่อเรื่อง: | การสำรวจทางชีวภาพในสัตว์น้ำเศรษฐกิจตามแนวชายฝั่งทะเลจังหวัดชลบุรีและการจัดการความเสี่ยงเบื้องต้นต่อสาร PAHs ในหอยแมลงภู่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Biomonitoring of coastal bioresources in Chonburi province and preliminary risk management ot PAHs in green mussel |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปภาศิริ บาร์เนท พิชาญ สว่างวงศ์ ไพฑูรย์ มกกงไผ่ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ปลาทะเล - - การปนเปื้อนของสารพิษ ปลาทะเล - - ผลกระทบจากน้ำมันรั่วไหล สัตว์ทะเล - - ไทย - - ชลบุรี หอยแมลงภู่ - - การปนเปื้อนของสารพิษ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2551 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ผลงานวิจัยได้สำรวจปลาทะเลธรรมชาติตามชายฝั่งจังหวัดชลบุรี มีจำนวน 30 ชนิด ปลาทะเลบางชนิดเหล่านี้พบว่าได้สัมผัสสาร PAHs เมื่อตรวจวัดโดยใช้ตัวชี้วัดชีวภาพ (biomarket) CYPIA ที่ใช้โมโนโคลนอลแอนติบอดี้ anti CYPIA ของปลากะพงขาวด้วยเทคนิค Western blot เปอร์เซ็นต์การพบการแสดงออกของ CYPIA จากตับปลาทะเลมีดังนี้ ในช่วงฤดูแล้ง 2551 จากแหล่งสำรวจอ่างศิลา ศรีราชา แลแหลมท้าวเทวา มีปริมาณ CYPIA 54 % (7 จาก 13 ตัวอย่าง) 73 % (11 จาก 15 ตัวอย่าง) และ 54 % (8 จาก 15 ตัวอย่าง) ตามลำดับ ในช่วงฤดูฝนจากแหล่งสำรวจ อ่างศิลา ศรีราชา แล แหลมท้าวเทวา มีปริมาณ CYPIA 39 % (11 จาก 28 ตัวอย่าง) 56 % (9 จาก 16 ตัวอย่าง) และ 56 % (13 จาก 22 ตัวอย่าง) ตามลำดับ ผลกรทบทางสุขภาพของปลาทะเลจากเชื้อแบคทีเรียแกรมลบกลุ่ม Vibrio พบชนิด Vibrio alginolyticus เป็นส่วนใหญ่จากไตปลาทะเล ในฤดูแล้งจาก อ่างศิลา ศรีราชา และแหลมท้าวเทวา ปริมาณ 66 % (57 จาก 88 ตัวอย่าง), 30 % (10 จาก 34 ตัวอย่าง), 20 % (17 จาก 88 ตัวอย่าง) ตามลำดับในฤดูฝน จาก อ่างศิลา ศรีราชา และแหลมท้าวเทวาปริมาณ 37 % (31 จาก 84 ตัวอย่าง), 31 % (14 จาก 44 ตัวอย่าง), 36 % (28 จาก 77 ตัวอย่าง), ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบชนิด V.parahaemolyticus เพียงเล็กน้อย ทั้ง 3 สถานีคือ 4.4, 4.8 และ 6.5 % จาก ศรีราชา อ่างศิลา และแหลมท้าวเทวา ตามลำดับ รวมทั้งพบพาราไซท์ทั้งภายนอกและภายในทางเดินอาหารในปลาทะเล การพบแบคทีเรียแลพาราไซท์ในปลาทะเล แลแบคทีเรียในหอยแมลงภู่ เป็นข้อมูลที่ชี้ถึงการยอมรับเชื้อของเจ้าบ้านเมื่ออ่อนแอ อาจมีผลมาจากสารพิษในบริเวณแหล่งอาศัยตามชายฝั่งทะเล |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/415 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น