กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4136
ชื่อเรื่อง: | ดนตรีในประเพณีแห่พญายม ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Music in Paya Yom procession tradition in Bang Pra sub-district, Sri Racha district, Chonburi province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กิตติภัณฑ์ ชิตเทพ |
คำสำคัญ: | ดนตรี ความเป็นอยู่และประเพณี พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม สาขาปรัชญา |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งศึกษาดนตรีที่เกี่ยวข้องกับประเพณีแห่พญายม ตำบลบางพระ จังหวัดชลบุรี ผลการวิจัยพบว่า ดนตรีที่ใช้ในพิธีแห่พญายม 2 ลักษณะ คือ ดนตรีที่ใช้ในขบวนแห่ ประกอบด้วยคณะกลองยาวจำนวน 3 คณะ ได้แก่ คณะกลองยาวนายสาคร มีทรัพย์ คณะนายสมควร บุญรอด และคณะโรงเรียนอนุบาลบางพระ โดยคณะนายสมควร บุญรอด มีเครื่องดนตรีดำเนินทำนอง ได้แก่ ระนาดเอกและซอด้วง บทเพลงที่พบได้แก่ เพลงจีนตอกไม้ เพลงพม่าทุงเล เพลงพม่ารำขวาน สำหรับดนตรีประโคมพิธีบวงสรวงมีพราหมณ์ปาฏิหาริย์ สยมภพ จากเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ กรุงเทพมหานคร เป็นผู้ทำพิธี พบเครื่องดนตรีได้แก่ ฆ้องชัย สังข์ และบัณเฑาะว์ แบ่งพิธีกรรมเป็น 11 ขั้นตอน มีประโคมดนตรีทั้งหมด 5 ครั้ง คือ การเชิญเทวดา การอวยพรผู้เข้าร่วมพิธี การถวายเครื่องสังเวย การกล่าวอวยพร และการโปรยข้าวตอกดอกไม้ การประโคมดนตรีทั้ง 5 ครั้ง โดยพบว่าการประโคมครั้งที่ 1-4 ฆ้องชัยเริ่มเป็นสัญญาณให้สังข์และบัณเฑาะว์บรรเลงพร้อมกันอย่างต่อเนื่อง และเมื่อฆ้องชัยลั่นถึงครั้งที่ 3 เป็นสัญญาณให้หยุด และ ในการประโคมครั้งที่ 5 เป็นการประโคมที่ใช้เวลายาวนานที่สุด นอกจากนี้ยังพบเพลงหน้าพาทย์ที่เกี่ยวข้อง คือ เพลงสาธุการ เพลงโปรยข้าวตอก และเพลงตระเชิญ ซึ่งเพลงตระเชิญถูกนำมาในการอันเชิญสิ่งศักดิ์ในพิธีบวงสรวงพญายมในอดีต |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4136 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
mupa6n2p65-82.pdf | 1.52 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น