กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4123
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพปอดในผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors related to lung rehabilitation behavior in chest trauma patients with intercostal chestdrainage |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กัลชนา ศรีพรหม นิภาวรรณ สามารถกิจ เขมารดี มาสิงบุญ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ผู้ป่วย -- การฟื้นฟูสมรรถภาพ ปอด -- โรค -- การรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ ทรวงอก -- บาดแผลและบาดเจ็บ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | ผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอกที่มีพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพปอดที่ไม่เหมาะสมจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดแฟบ ปอดติดเชื้อได้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวด ความวิตกกังวล และความรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูสภาพปอดกับพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพปอดในผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอกที่ได้รับการใส่ท่อระบายทรวงอกที่เข้าพักรักษา ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี จำนวน 84 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม ถึง ธันวาคม 2561 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามอาการปวด แบบสอบถามความวิตกกังวล แบบสอบถามพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพปอด แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูสภาพปอด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยอาการปวดในระดับน้อย (M = 4.72, SD = 1.67) คะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลในระดับต่ำ (M = 7.19, SD = 4.21) คะแนนเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูสภาพปอดในระดับต่ำ (M = 11.00, SD = 4.54) และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพปอดในระดับปานกลาง (M = 30.27, SD = 7.59) อาการปวดและความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพปอดในผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.34, p < .05; r = -.21, p < .01 ตามลำดับ) ส่วนความรู้เกี่ยวกับการฟื้นฟูสภาพปอดไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพปอดในผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอก (r = .06, p >.05) ผลจากการศึกษาครั้งนี้เสนอแนะว่า บุคลากรสุขภาพควรมีการประเมินอาการปวดและความวิตกกังวล และการจัดการอาการปวดและความวิตกกังวลให้มีประสิทธิภาพในระยะเฉียบพลัน เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยบาดเจ็บทรวงอกที่ใส่ท่อระบายทรวงอกมีพฤติกรรมการฟื้นฟูสภาพปอดที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4123 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น