กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4122
ชื่อเรื่อง: เปรียบเทียบผลทันทีและผลคงค้างของการขยับดัดดึงข้อเท้าเทียบกับการนวดต่อการรับรู้ตำแหน่งข้อเท้าในอาสาสมัครที่มีภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าแบบเรื้อรัง: การศึกษานำร่อง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The immediate and short term effect of ankle joint mobilization compared with massage on proprioception in chronic ankle instability: A pilot study
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: คุณาวุฒิ วรรณจักร
ศรีแรม ทวีอภิรดีสำราญ
วรพรรณ เพ็งเทพ
สิทธิธร สุพัฒนกิจกุล
พิมลพรรณ ทวีการ วรรณจักร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: ข้อเท้า
ข้อเท้า -- โรค -- กายภาพบำบัด
ข้อเท้า -- การนวด
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การรักษาภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าแบบเรื้อรังโดยการขยับดัดดึงข้อต่อ การนวดและการยืดกล้ามเนื้อสามารถลดความคลาดเคลื่อนของการรับรู้ตำแหน่งของข้อต่อ เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว และเพิ่มคะแนนแบบประเมิน Foot and Ankle Ability Measure-Sport (FAAM-S) ในผู้ที่มีภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าแบบเรื้อรังได้ แต่ยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบผลทันทีและผลคงค้างระหว่างการขยับดัดดึงข้อต่อและการนวดว่าสามารถให้ผลที่เทียบเคียงกันได้หรือไม่ การวิจัยนำร่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลทันทีและผลระยะสั้นระหว่างการขยับดัดดึงข้อต่อและการนวดต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าความคลาดเคลื่อนของการรับรู้ตำแหน่งของข้อต่อในผู้ที่มีภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าแบบเรื้อรัง อาสาสมัครที่มีภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าแบบเรื้อรัง จำนวน 10 คน ได้รับการสุ่มเข้า กลุ่มที่รักษาด้วยการขยับดัดดึงข้อต่อ 5 คน และกลุ่มที่รักษาด้วยการนวด 5 คน อาสาสมัครได้รับการประเมินขนาดค่าความคลาดเคลื่อนของการรับรู้ตำแหน่งของข้อโดยเครื่องมือวัดมุม องศาการเคลื่อนไหวของข้อเท้าในทิศทางกระดกข้อเท้าขึ้น ที่ช่วงเวลา ก่อน หลังทันที และหลังการรักษา 10 นาที ผลการศึกษาพบว่า การขยับดัดดึงข้อต่อและการนวดสามารถเพิ่มความแม่นยำของการรับรู้ตำแหน่งของข้อต่อได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ทั้งสองกลุ่ม ทั้งในผลทันทีและผลคงค้าง แต่การขยับดัดดึงข้อต่อสามารถเพิ่มความแม่นยำของการรับรู้ตำแหน่งของข้อต่อได้ดีกว่าการนวด การรักษาทั้งสองวิธีนี้ไม่สามารถเพิ่มค่าคะแนน FAAM-S ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) การรักษาทั้งสองวิธีอาจจะนำไปเป็นการรักษาร่วมในการรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ที่มีภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าแบบเรื้อรังเพื่อเพิ่มความแม่นยำของการรับรู้ตำแหน่งของข้อและเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวในการกระดกข้อเท้าได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4122
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
71-82.pdf191.5 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น