กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4122
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | คุณาวุฒิ วรรณจักร | |
dc.contributor.author | ศรีแรม ทวีอภิรดีสำราญ | |
dc.contributor.author | วรพรรณ เพ็งเทพ | |
dc.contributor.author | สิทธิธร สุพัฒนกิจกุล | |
dc.contributor.author | พิมลพรรณ ทวีการ วรรณจักร | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2021-06-14T01:41:08Z | |
dc.date.available | 2021-06-14T01:41:08Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4122 | |
dc.description.abstract | การรักษาภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าแบบเรื้อรังโดยการขยับดัดดึงข้อต่อ การนวดและการยืดกล้ามเนื้อสามารถลดความคลาดเคลื่อนของการรับรู้ตำแหน่งของข้อต่อ เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว และเพิ่มคะแนนแบบประเมิน Foot and Ankle Ability Measure-Sport (FAAM-S) ในผู้ที่มีภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าแบบเรื้อรังได้ แต่ยังไม่มีการศึกษาเปรียบเทียบผลทันทีและผลคงค้างระหว่างการขยับดัดดึงข้อต่อและการนวดว่าสามารถให้ผลที่เทียบเคียงกันได้หรือไม่ การวิจัยนำร่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลทันทีและผลระยะสั้นระหว่างการขยับดัดดึงข้อต่อและการนวดต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าความคลาดเคลื่อนของการรับรู้ตำแหน่งของข้อต่อในผู้ที่มีภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าแบบเรื้อรัง อาสาสมัครที่มีภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าแบบเรื้อรัง จำนวน 10 คน ได้รับการสุ่มเข้า กลุ่มที่รักษาด้วยการขยับดัดดึงข้อต่อ 5 คน และกลุ่มที่รักษาด้วยการนวด 5 คน อาสาสมัครได้รับการประเมินขนาดค่าความคลาดเคลื่อนของการรับรู้ตำแหน่งของข้อโดยเครื่องมือวัดมุม องศาการเคลื่อนไหวของข้อเท้าในทิศทางกระดกข้อเท้าขึ้น ที่ช่วงเวลา ก่อน หลังทันที และหลังการรักษา 10 นาที ผลการศึกษาพบว่า การขยับดัดดึงข้อต่อและการนวดสามารถเพิ่มความแม่นยำของการรับรู้ตำแหน่งของข้อต่อได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ทั้งสองกลุ่ม ทั้งในผลทันทีและผลคงค้าง แต่การขยับดัดดึงข้อต่อสามารถเพิ่มความแม่นยำของการรับรู้ตำแหน่งของข้อต่อได้ดีกว่าการนวด การรักษาทั้งสองวิธีนี้ไม่สามารถเพิ่มค่าคะแนน FAAM-S ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) การรักษาทั้งสองวิธีอาจจะนำไปเป็นการรักษาร่วมในการรักษาทางกายภาพบำบัดในผู้ที่มีภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าแบบเรื้อรังเพื่อเพิ่มความแม่นยำของการรับรู้ตำแหน่งของข้อและเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหวในการกระดกข้อเท้าได้ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ข้อเท้า | th_TH |
dc.subject | ข้อเท้า -- โรค -- กายภาพบำบัด | th_TH |
dc.subject | ข้อเท้า -- การนวด | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.title | เปรียบเทียบผลทันทีและผลคงค้างของการขยับดัดดึงข้อเท้าเทียบกับการนวดต่อการรับรู้ตำแหน่งข้อเท้าในอาสาสมัครที่มีภาวะความไม่มั่นคงของข้อเท้าแบบเรื้อรัง: การศึกษานำร่อง | th_TH |
dc.title.alternative | The immediate and short term effect of ankle joint mobilization compared with massage on proprioception in chronic ankle instability: A pilot study | en |
dc.type | Article | th_TH |
dc.issue | 1 | th_TH |
dc.volume | 28 | th_TH |
dc.year | 2563 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Manual joint mobilization, plantar massage and calf stretching may be increased joint positional sensation, ankle range of motion and the Foot and Ankle Ability Measure-Sport (FAAM-S) scores in person with chronic ankle instability. A few report comparison of immediate and short term effect between Joint mobilization and massage in chronic ankle instability. This study aimed to compare the Immediate and short term effect of ankle joint mobilization and massage on proprioception ankle, range of motion and the Foot and Ankle Ability Measure-Sport scores in chronic ankle instability. Participant with chronic ankle instability 10 persons divided into joint mobilization group 5 persons and massage group 5 persons. All participant received deviation of joint positional sensation by universal goniometer and range of motion of ankle dorsiflexion assessment at pretest, posttest immediately and posttest 10 minute. Results showed that both joint mobilization group and massage groups can improve joint position sense statistically significant (p < .05) in immediate and sustain effect. Joint mobilizations has more advantage improve joint position sense more than massage. Both groups did not found FAAM improvement statistically significant (p > .05). Joint mobilization and massage methods could be added in physical therapy treatment to improve joint position sense and ankle dorsiflexion range of motion among people with chronic ankle instability | en |
dc.journal | วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.page | 71-82. | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น