กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4120
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแบบวัดความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The development of Thai Family Well-being (FWB) scale
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รุจา ภู่ไพบูลย์
วรรณี เดียวอิศเรศ
เดชาวุธ นิตยสุทธิ
ดารุณี จงอุดมการณ์
ระพีพรรณ คำหอม
จิตตินันท์ เดชะคุปต์
จินตนา วัชรสินธุ์
ถวัลย์ เนียมทรัพย์
สาวิตรี ทยานศิลป์
ทิพาภรณ์ โพธิ์ถวิล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: สุขภาวะ
ครอบครัว -- ไทย
เครื่องชี้ภาวะสุขภาพ -- ไทย
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ครอบครัวไทยมีการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อครอบครัว ทั้งด้านโครงสร้างและความเป็นอยู่ดีมีสุขของครอบครัว งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเครื่องมือสำหรับการสำรวจความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทย ตามวงจรชีวิตครอบครัว แบ่งการดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรกเป็นการสร้างแบบวัด โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อระบุคุณลักษณะของความอยู่ดีมีสุขของครอบครัว เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยกระบวนการสนทนากลุ่มจากตัวแทนครอบครัว (n = 310 คน) ใน 5 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ แบ่งกลุ่มการสนทนาออกเป็นกลุ่มชายและกลุ่มหญิง กลุ่มละ 6-10 คน รวมจำนวน 40 กลุ่ม ผลการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาพบว่าความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวตามการรับรู้ของครอบครัว ประกอบด้วยองค์ประกอบ 9 ด้าน คือ 1. ด้านสัมพันธภาพ 2. ด้านบทบาทหน้าที่ 3. ด้านเศรษฐกิจ 4. ด้านการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง 5. ด้านความร่วมใจและปลอดภัยในชุมชน 6. ด้านการพัฒนา ทางจิตวิญญาณ 7. ด้านการดูแลสุขภาพ 8. ด้านการศึกษา และ 9. ด้านความมั่นคงและการพึ่งพา จากนั้นนำข้อมูลเชิงคุณภาพที่สรุปได้มาสร้างแบบวัดครอบครัวอยู่ดีมีสุข (ฉบับร่าง) จำนวน 85 ข้อ เป็นคำถามให้ตอบเป็นมาตรวัดแบบลิเคิร์ตสเกล 5 ระดับ ระยะที่สอง เป็นการทดสอบคุณภาพของแบบวัด โดยตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านครอบครัวจำนวน 5 ท่าน หลังจากนั้นนำไปทดสอบความเชื่อมั่นของแบบวัด ความตรงเชิงโครงสร้าง โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้แทนของครอบครัว จำนวน 351 ครอบครัว ในเขตกรุงเทพมหานคร ผลจากการวิจัย พบว่า ได้แบบวัดครอบครัวอยู่ดีมีสุข จำนวน 9 องค์ประกอบ 75 ข้อคำถาม โดยการกระจาย ของตัวแปรในแต่ละปัจจัยเป็นไปตามที่การจัดกลุ่ม 9 องค์ประกอบที่ได้กำหนดไว้ และแบบวัดมีความเชื่อมั่นแบบสอดคล้องภายในเท่ากับ .952 และความเชื่อมั่นรายองค์ประกอบมีค่าอยู่ระหว่าง .703 - .925 ทั้ง 9 องค์ประกอบสามารถอธิบายความแปรปรวน ได้ร้อยละ 55.66
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4120
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:บทความวิชาการ (Journal Articles)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
26-37.pdf206.41 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น