กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4101
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการบริหารจัดการเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืน ตาม แนวทาง PESTLE |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Policy management model to drive natural resources and the environment towards sustainability according to PESTLE Guidelines |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธีระวัฒน์ จันทึก กนกอร เนตรชู ดำรงพล แสงมณี พรเทพ นามกร มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | รูปแบบการบริหารจัดการเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืน ตามแนวทาง PESTLE มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามแนวทาง PESTLE และเพื่อนำทฤษฎีอรรถประโยชน์พหุลักษณ์มาใช้ในการจัดลำดับความสำคัญของรูปแบบการบริหารจัดการเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืน ตามแนวทางPESTLE ได้แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การสัมภาษณ์เชิงลึก และประเมินอรรถประโยชน์พหุลักษณ์ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และอาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินอรรถประโยชน์พหุลักษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าความถี่ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และการประยุกต์เทคนิคกระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำดับชั้น (Analysis Hierarchy Process: AHP) กับผู้ให้ข้อมูลหลัก 7 คน โดยผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามแนวทาง PESTLE ประกอบด้วย สถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี กฎหมาย และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม 2) การนำทฤษฎีอรรถประโยชน์พหุลักษณ์มาใช้ในการจัดลำดับความสำคัญของรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืน ผลการวิเคราะห์ น้ำหนักความสำคัญของรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืน พบว่า น้ำหนักความสำคัญของรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืน ด้านการปรับปรุงกฎหมายที่มีความขัดแย้งและทำให้เกิดช่องว่าง หรืออุปสรรคในการดำเนินงาน มีค่ามากที่สุด รองลงมาคือ การดำเนินงานตามข้อเสนอการปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจให้กับประชาชน โดยมีค่าน้ำหนักความสำคัญเท่ากับ 49.34, 27.62 และ 23.04 ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์อัตราส่วนความสอดคล้องของทุกด้านที่ได้มีค่าเท่ากับ 0.080 – 0.096 โดยมีค่าน้อยกว่า 0.01 อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ สอดคล้องในทุกมิติ จึงสรุปได้ว่า ผู้เชี่ยวชาญเห็นด้วยกับรูปแบบการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่ความยั่งยืน สามารถนำรูปแบบดังกล่าวไปใช้ได้ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4101 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
politic12n2p197-217.pdf | 635.23 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น