กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4099
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | เดชาวัต คงคาน้อย | |
dc.contributor.author | บรรพต วิรุณราช | |
dc.contributor.author | ธีทัต ตรีศิริโชติ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2021-05-27T01:37:29Z | |
dc.date.available | 2021-05-27T01:37:29Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4099 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดสรรงบประมาณผู้สูงอายุที่เหมาะสมของประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology) แบ่งเป็น 3 ขั้นตอนประกอบด้วย (1) การวิจัยเอกสาร (Document Research) โดยทำการวิเคราะห์เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ การจัดสรรงบประมาณตามยุทธศาสตร์การจัดสรรรายจ่ายประจำปีที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ รวมถึงสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ (2) การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ด้วยการสัมภาษณ์ เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องการจัดสรรงบประมาณผู้สูงอายุ จำนวน 23 คน (3) การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ และ (4) การยืนยันผลการวิจัย โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล 6 คน ได้แก่ นักวิเคราะห์งบประมาณ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบงบประมาณและการจัดการ นักส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และนักวิชาการสถิติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าร้อยละ สถิติเชิงอ้างอิง คือ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่า ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมและสร้างการเติบโตจากภายใน จัดทำแผนบูรณาการสร้างความเสมอภาคเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ในการจัดสรรงบประมาณผู้สูงอายุ ประกอบด้วย ด้านความมั่นคงเศรษฐกิจและสังคม ด้านการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของสังคมผู้สูงวัย หน่วยงานที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับผู้สูงอายุ ประกอบด้วย กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานประกันสังคม สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนการออมแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร ซึ่งจำนวนเงินงบประมาณที่รัฐจัดสรรให้กับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อใช้กับผู้สูงอายุในแต่ละปีนั้นเพิ่มขึ้นหรือลดลงมีผลมาจากจำนวนผู้สูงอายุ อัตราเงินเฟ้อ ปัจจัยที่ใช้ในการประมาณการงบ ประมาณผู้สูงอายุ ได้แก่ เงินภาษี จำนวนผู้สูงอายุ ประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนการออมแห่งชาติ เงินกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เงินประกันชีวิตแบบบำนาญ อัตราเงินเฟ้อ รายได้ครัวเรือน ความเติบโตทางเศรษฐกิจ อัตราการเกิด อัตราการตาย คนที่อยู่ในวัยทำงาน และความยืนยาวของชีวิต ตามลำดับ ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับงบประมาณผู้สูงอายุ คือ นโยบายของภาครัฐ ด้านเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง ด้านสังคม ด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ด้านสภาพแวดล้อม และด้านกฎหมาย ปัจจัยที่สามารถทำนายการจัดสรรงบประมาณ ได้แก่ รายได้จากการจัดเก็บภาษีของรัฐ จำนวนผู้สูงอายุ มูลค่า GDP (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไทย) รายได้ครัวเรือน และอัตราการตาย (จำนวนราย/ ปี) และค่าเฉลี่ยงบประมาณผู้สูงอายุของประเทศไทยต่อคนต่อเดือน และมีค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนสมบูรณ์เท่ากับ 4.75 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีความเหมาะสมในการคำนวณหางบประมาณผู้สูงอายุของประเทศไทย | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ - - นโยบายของรัฐ | th_TH |
dc.title | แนวทางการจัดสรรงบประมาณผู้สูงอายุที่เหมาะสมของประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Guidelines for appropriating budget for the elderly in Thailand | en |
dc.type | Article | th_TH |
dc.issue | 2 | th_TH |
dc.volume | 12 | th_TH |
dc.year | 2563 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purposes of this research were to study the guideline for appropriating budget for the elderly in Thailand. The methodology was mixed method divided into 3 steps consisting of (1) Document research for content analysis i.e. elderly policy, budget allocation according to the expenditure strategy to the elderly, and the overall economy of the country. (2) Qualitative research used in-depth interview with 23 key informants related the allocation budget for the elderly. (3) Quantitative research by analyzing statistical data. (4) Confirmation of research results by interviewing 6 informants including budget analysts, director of budget development and management division, local government promoters and statistician. The instrument in this research were 2 in-depth interviews. Data analyzed using descriptive statistics including frequency and percentage. Reference statistics were multiple regression. It was found from the research show that: strategy 4 on solving poverty problems, reduce overlap and create from within, create an integrated plan to equality to support the elderly society. The elderly budget allocation consists security of economy and society, development of long-term care system for the elderly, creation of an environment that is conducive to the lives of the elderly society. Organization that have been allocated budgets for the elderly consists of the ministry of social development and human security, ministry of public health, ministry of interior, ministry of education, ministry of labour, department of local administration, social security office, national health security office, Thai Health Promotion Foundation, Government Pension Fund, National Saving Fund, Bangkok. The amount of budget allocated by the government to various agencies for use with the elderly in each year increases or decreases resulting from the number of elderly, inflation. Factors used in estimating the elderly budget are taxes, number of elderly, social security, provident fund, national savings fund, retirement mutual fund, pension insurance, inflation, household income, economic growth, birth rate, mortality rate. The important factors related to the elderly budget are government policies, economic, financial, social and technological advances, environment and legal. Factors that can predict budget allocation are income from taxation, amount of elderly, gross domestic product in Thailand, household income, mortality rate (number of case/year), the average budget for the elderly in Thailand per person per month. The average error is 4.75 percent which is appropriate to calculate the elderly budget of Thailand. | en |
dc.journal | วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย | th_TH |
dc.page | 237-261. | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
politic12n2p237-261.pdf | 615.08 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น