กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4080
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ภัทราดา เอี่ยมบุญญฤทธิ์ | |
dc.contributor.author | ชลธิชา ภูริปาณิก | |
dc.contributor.author | ฐิติชัย รักบำรุง | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2021-05-23T03:47:13Z | |
dc.date.available | 2021-05-23T03:47:13Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4080 | |
dc.description.abstract | ทักษะการคิดวิเคราะห์ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของทักษะชีวิต ผู้ที่มีทักษะการคิดวิเคราะห์จะช่วยให้รู้ข้อเท็จจริง เกิดความสามารถในการพิจารณาสาระสำคัญต่างๆ และรู้จักหาเหตุผลมาประกอบการตัดสินใจ การพัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์จึงมีความสำคัญโดยเฉพาะกับเด็กไทยในยุคปัจจุบัน หรือที่เรียกว่าเด็กยุค Gen Z (Generation Z) เพราะทักษะการคิดวิเคราะห์จะช่วยรู้จักพิจารณาสาระสำคัญต่างๆ นำไปสู่การตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันได้โดยเฉพาะโลกปัจจุบันที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารผ่านอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ต่างๆ ที่เข้าถึงได้ง่ายมากขึ้นกว่าสมัยก่อน อย่างไรก็ตามเด็กไทยจำนวนมากยังขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ เมื่อทำการเปรียบเทียบผลคะแนนประเมินด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ ตัวอย่างเช่น การประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากลหรือ PISA (Programme for International Student Assessment) ซึ่งพบว่าด้านการอ่านมีค่าเฉลี่ยลดลงอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มว่าจะลดลงไปอีก ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นผลมาจากการจัดการเรียนการสอนของไทยซึ่งไม่ตอบรับกับกระบวนการเรียนรู้ของเด็กในยุคปัจจุบันซึ่งเป็นเด็ก Gen Z (Generation Z) หรือผู้ที่เกิดตั้งแต่ปี ค.ศ.1995 หรือ พ.ศ.2538 เป็นต้นมา ซึ่งลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก Gen Z จะชอบเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีเนื่องจากเติบโตมากับโลกดิจิทัล ชอบการเรียนรู้ทางสายตา การลงมือปฏิบัติจริง และการเรียนรู้ผ่านการร่วมมือกัน ผู้สอนจึงควรนำกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning มาจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ด้วยการสอนอ่านเชิงวิเคราะห์แทนการสอนแบบเก่าที่เน้นไปที่การบรรยาย ซึ่งกระบวนการสอนแบบ Active Learning จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ตรง เรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ สามารถสร้างองค์ความรู้ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มพูนทักษะการคิดวิเคราะห์ซึ่งเป็นทักษะที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงตนในยุคดิจิทัล | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การอ่าน | th_TH |
dc.subject | การเรียนแบบมีส่วนร่วม | th_TH |
dc.subject | ทักษะทางการคิด | th_TH |
dc.subject | เจนเนอเรชันแซด | th_TH |
dc.subject | สาขาการศึกษา | th_TH |
dc.title | การสอนอ่านเชิงวิเคราะห์ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของเด็กไทยยุค Gen Z | th_TH |
dc.title.alternative | The teaching of reading analysis via active learning for developing critical thinking skills of Thai children of the Gen Z era | en |
dc.type | Article | th_TH |
dc.volume | 13 | th_TH |
dc.year | 2563 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Critical thinking skill is one of the important components of life skills. People with critical thinking skills has the ability to consider the facts, various essence reasons, know how to making decisions and has the ability to estimate an increase intelligences. Therefore, the developing critical thinking skills is important, especially for modern Thai children. Also known as the children of Gen Z (Generation Z) because the critical thinking skills will help to figure out the essence to leading the decisions and solve problems in daily life. Especially in this era that full of technologies and informations through various electronic devices that is more accessible than before. However, many of Thai students lack critical thinking skills when comparing results of any analysis reading scores results such as the Programme for International Student Assessment or PISA in previous years. They found that the average of reading part was decrease and likely to be further reduced. Caused by the teaching and learning in Thailand does not respond to the learning process of children in this present age whom are Gen Z (Generation Z) or those born since 1995. The learning style of Gen Z likes to learn via technology because they grew up in the digital world, visual learning, action learning and collaborative learning. Teachers should use the Active Learning to manage along with teaching reading analysis instead of the old teaching that focuses on lectures. This will help students to have direct experiences, learning from action, have the ability to create knowledge, develop effective learning skills and increase the critical thinking skills which are essential skills for living in the digital age. | en |
dc.journal | วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา = Journal of education, Burapha University | th_TH |
dc.page | 1-11. | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
edu31n3p1-11.pdf | 114.23 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น