กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4066
ชื่อเรื่อง: ผลของท่าทางการวางเท้าขณะออกกำลังกายท่าแพลงค์ต่อคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อหน้าท้องและรยางค์ล่าง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effects of Foot Position during Plank Exercise on Electromyographic Activity of Abdominal and Lower Extremity Muscles
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริรัตน์ เกียรติกูลานุสรณ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
คำสำคัญ: การออกกำลังกาย
แพลงค์
กล้ามเนื้อรยางค์ล่าง
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ที่มาและความสำคัญ: การออกกำลังกายท่าแพลงค์คว่าเป็นการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นคงของแกนกลางร่างกายสำหรับบุคคลทั่วไป ผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่าง และนักกีฬา ความมั่นคงของการทรงท่าขณะแพลงค์คว่ำต่างกันเมื่อท่าทางข้อสะโพกที่ต่างกันจากการเปลี่ยนตำแหน่งการวางเท้า อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบแน่ชัดว่าส่งผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อหน้าท้องและรยางค์ส่วนล่างอย่างไร วัตถุประสงค์: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำงานของกล้ามหน้าท้องและรยางค์ล่าง ขณะออกกาลังกายท่าแพลงค์คว่าด้วยการกางสะโพกที่ต่างกันจากการเปลี่ยนตำแหน่งการวางเท้า วิธีการศึกษา: ผู้ร่วมวิจัยชายสุขภาพดี 20 คน ได้รับการบันทึกคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) และวิเคราะห์ค่า %MVC ของ rectus abdominis (RA), external abdominis oblique (EO), internal abdominal oblique (IO), rectus femoris (RF), adductor longus (ADL), tensor fasciae latae (TF), vastus medialis oblique (VMO) และ vastus lateralis (VL) เปรียบเทียบระหว่างท่าแพลงค์ว่าด้วยการกางสะโพก 3 แบบ คือ สะโพกหุบ (AD) สะโพกอยู่ในแนวกลาง (NP) และสะโพกกาง (AB) ด้วยการเปลี่ยนตำแหน่งการวางเท้า ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างของ EMG ของ EO, RA, RF, VMO และ VL ทั้ง 2 ข้าง แต่มีความแตกต่างของ EMG ของ IO, TF และ ADL ทั้ง 2 ข้าง ระหว่างท่าทางการกางสะโพกแต่ละแบบจากการเปลี่ยนตำแหน่งการวางเท้าขณะแพลงค์คว่า โดยกล้ามเนื้อ IO และ TF ทำงานมากที่สุดขณะ AB และทำงานน้อยที่สุดขณะ AD กล้ามเนื้อ ADL ทำงานน้อยที่สุดขณะ NP สรุป: การเปลี่ยนตำแหน่งการวางเท้าขณะออกกำลังกายท่าแพลงค์คว่าสามารถเปลี่ยนแปลงการทำงานของกล้ามเนื้อ IO, TF และ ADL ได้ ดังนั้นการออกกำลังกายด้วยท่าแพลงค์คว่าสามารถปรับความยากได้ด้วยการเปลี่ยนตาแหน่งการวางเท้า โดยควรเริ่มต้นการฝึกด้วยท่าหุบสะโพกและกางสะโพกมากขึ้นเมื่อต้องการเพิ่มความยาก
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4066
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_237.pdf1.47 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น