กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4056
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาเกณฑ์การประเมินทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคตะวันออก: การวิเคราะห์โมเดลพหุระดับแบบผสานวิธี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of life skils assessment criteria for high school students in the eastern region : a multilevel model with mixed methods analysis |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภัทราวดี มากมี มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา |
คำสำคัญ: | การประเมิน นักเรียน - - การประเมิน สาขาการศึกษา |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาองค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับทักษะชีวิตสำหรับ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคตะวันออก 2) ตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบ เชิงยืนยันพหุระดับทักษะชีวิตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคตะวันออกที่พัฒนาขึ้น กับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) พัฒนาเกณฑ์การประเมินทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนปลายในภาคตะวันออกในระดับนักเรียนและระดับโรงเรียน โดยใช้วิธีการวิจัยพหุระดับแบบผสาน วิธี เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการตอบแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ กลุ่ม ตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2560 จำนวน 500 คน จาก 50 โรงเรียนได้มาจากวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน และวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ โดย ใช้โปรแกรม Mplus และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิ จานวน 7 คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสรุปเป็นเกณฑ์การประเมินทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายในภาคตะวันออก ผลการวิจัย ปรากฏว่า 1. องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายใน ภาคตะวันออกระดับนักเรียนและระดับโรงเรียน ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ด้าน ได้แก่ 1) ทักษะ ทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งประกอบด้วย ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการแก้ไขปัญหา ทักษะการ คิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และ 2) ทักษะทางสังคมอารมณ์ ประกอบด้วย ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ ทักษะการตระหนักรู้ในตนเอง ทักษะ การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ทักษะการจัดการกับอารมณ์ และทักษะการจัดการกับความเครียด 2. องค์ประกอบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าสถิติไคสแควร์ (ค่าไคสแควร์ เท่ากับ 75.074 ค่า df เท่ากับ 61 ค่า p เท่ากับ .106 ดัชนี TLI เท่ากับ .995 ดัชนี CFI เท่ากับ .997 ค่า SRMRw เท่ากับ .016 SRMRb เท่ากับ .059 ค่า RMSEA เท่ากับ .021 และ 2 /df เท่ากับ 1.230) 3. เกณฑ์การประเมินทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในภาคตะวันออก ประกอบด้วย 40 ตัวบ่งชี้ และ 49 เกณฑ์การประเมิน สามารถจำแนกระดับการประเมินทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับที่ 1 (ต้องปรับปรุง) ถึงระดับที่ 5 (ดีเด่น) |
รายละเอียด: | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4056 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_226.pdf | 4.62 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น