กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4056
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorภัทราวดี มากมี-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned2021-04-27T08:20:32Z-
dc.date.available2021-04-27T08:20:32Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4056-
dc.descriptionโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560th_TH
dc.description.abstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาองค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับทักษะชีวิตสำหรับ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคตะวันออก 2) ตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบ เชิงยืนยันพหุระดับทักษะชีวิตของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคตะวันออกที่พัฒนาขึ้น กับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) พัฒนาเกณฑ์การประเมินทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนปลายในภาคตะวันออกในระดับนักเรียนและระดับโรงเรียน โดยใช้วิธีการวิจัยพหุระดับแบบผสาน วิธี เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการตอบแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ กลุ่ม ตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2560 จำนวน 500 คน จาก 50 โรงเรียนได้มาจากวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน และวิเคราะห์โมเดลองค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ โดย ใช้โปรแกรม Mplus และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิ จานวน 7 คน ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสรุปเป็นเกณฑ์การประเมินทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับ มัธยมศึกษาตอนปลายในภาคตะวันออก ผลการวิจัย ปรากฏว่า 1. องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายใน ภาคตะวันออกระดับนักเรียนและระดับโรงเรียน ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 2 ด้าน ได้แก่ 1) ทักษะ ทางปัญญาอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งประกอบด้วย ทักษะการตัดสินใจ ทักษะการแก้ไขปัญหา ทักษะการ คิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ และ 2) ทักษะทางสังคมอารมณ์ ประกอบด้วย ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ ทักษะการตระหนักรู้ในตนเอง ทักษะ การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ทักษะการจัดการกับอารมณ์ และทักษะการจัดการกับความเครียด 2. องค์ประกอบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ค่าสถิติไคสแควร์ (ค่าไคสแควร์ เท่ากับ 75.074 ค่า df เท่ากับ 61 ค่า p เท่ากับ .106 ดัชนี TLI เท่ากับ .995 ดัชนี CFI เท่ากับ .997 ค่า SRMRw เท่ากับ .016 SRMRb เท่ากับ .059 ค่า RMSEA เท่ากับ .021 และ 2  /df เท่ากับ 1.230) 3. เกณฑ์การประเมินทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในภาคตะวันออก ประกอบด้วย 40 ตัวบ่งชี้ และ 49 เกณฑ์การประเมิน สามารถจำแนกระดับการประเมินทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายออกเป็น 5 ระดับ ตั้งแต่ระดับที่ 1 (ต้องปรับปรุง) ถึงระดับที่ 5 (ดีเด่น)th_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherวิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการประเมินth_TH
dc.subjectนักเรียน - - การประเมินth_TH
dc.subjectสาขาการศึกษาth_TH
dc.titleการพัฒนาเกณฑ์การประเมินทักษะชีวิตสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในภาคตะวันออก: การวิเคราะห์โมเดลพหุระดับแบบผสานวิธีth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of life skils assessment criteria for high school students in the eastern region : a multilevel model with mixed methods analysisth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailpattrawadee@gmail.comth_TH
dc.year2560th_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research was 1) develop factor of upper secondary school students life skills in the eastern region for student level and school level 2) validate the multilevel confirmatory factor analysis model of upper secondary school students life skills in student level and school level with empirical data 3) to develop life skills assessment criteria for Upper Secondary School Students in student level and school level, using a multilevel with mixed method design. A five-level rating scale questionnaire was used for collecting data. The sample consisted of 50 0 upper secondary school students from 50 schools in academic year 2017 derived from multistage random sampling. Data were analyzed by multilevel confirmatory factor analysis using Mplus. Qualitative data were collected by in-depth interviews 13 experts. The results were as follows: 1.The multilevel confirmatory factor analysis of life skills for upper secondary school students consisted of two components 1) Critical cognitive skills; Decision making, Problem solving, Creative thinking, Critical thinking and Effective communication. 2) Social and emotion skills; Interpersonal relationship, Selfawareness, Empathy, Coping with emotions and Coping with stress. 2. The developed factor was consistent with empirical data. (Goodness of fit statistics was: chi-square test ( 2 ) = 75.074, df = 61, p = .106, TLI = .995, CFI = .997, SRMRW = .016, SRMRb= .059, RMSEA = .021 and relative chi-square ( 2 /df =1.230) 3. Life skills assessment criteria for upper secondary school students consisted of forty indicators and forty-nine assessment criteria. Life skills assessment was categorized into five levels from 1 (strongly needing improvement) to 5 (excellent).th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_226.pdf4.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น