กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4053
ชื่อเรื่อง: | โครงการการประยุกต์เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศเพื่อพัฒนาระบบสนับสนุน การตัดสินใจเชิงพื้นที่สำหรับวิเคราะห์พื้นที่ต้องการน้ำในพื้นที่ชนบทของพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Application of Geo-Informatics Technology to Develop Spatial Decision Support System for Water Demand Spacious Analyzing Areas: A case Study of the Rural in the Special Economic Eastern Region |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กรรณิการ์ วรรณทวี มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ภูมิสารสนเทศศาสตร์ เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | คณะภูมิสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุและปัจจัยความต้องการใช้น้ำในครัวเรือนพื้นที่ชนบทจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของแต่ละปัจจัยความต้องการใช้น้ำในครัวเรือนพื้นที่ชนบทจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และ เพื่อศึกษาพื้นที่ต้องการใช้น้ำในครัวเรือนพื้นที่ชนบทจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษามีข้อมูลเชิงพื้นที่และ ข้อมูลเชิงบรรยายโดยกำหนดปัจจัยโครงสร้างพื้นฐาน ปัจจัยโครงสร้างเศรษฐกิจ รวมถึงโปรแกรมระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โปรแกรม ArcGIS ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำแผนที่ (Map Layout) เพื่อจำแนกระดับความต้องการน้ำและโปรแกรมวิเคราะห์เชิงสถิติ SPSS เพื่อศึกษาความสัมพันธ์แต่ละปัจจัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยโครงสร้างพื้นฐานของพื้นที่ชนบทจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 55.75 อายุ 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 48.51 ระดับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/ตอนปลาย/เทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 55.63 และมีอาชีพ เกษตรกรคิดเป็นร้อยละ 43.5 2. ปัจจัยโครงสร้างเศรษฐกิจของพื้นที่ชนบทจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง พบว่าส่วนใหญ่มีขนาดครัวเรือนขนาดเล็ก (1-4 คน) คิดเป็นร้อยละ 75.83 มีจำนวนแท็งก์น้ำ 1 ลูก คิดเป็นร้อยละ 57.25 มีฝักบัว คิดเป็นร้อยละ 68.75 มีจำนวนห้องสุขา (1-2 ห้อง) คิดเป็นร้อยละ 93.74 มีก๊อกสนามคิดเป็นร้อยละ 77.42 และปริมาณการใช้น้ำ 800 ลิตร คิดเป็นร้อยละ 75.75 3. ความสัมพันธ์แต่ละปัจจัยพื้นที่ชนบทจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวนห้องสุขา (𝑥1) เป็นตัวแปรอิสระที่สามารถนำมาพยากรณ์ปริมาณการใช้น้ำได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (0.05) โดยมีสมการการทำนาย คือ 𝑦 = 384.615 + 340.641𝑥1 ซึ่งมีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.388 และความสัมพันธ์แต่ละปัจจัยพื้นที่ชนบทจังหวัดชลบุรี จำนวนสุขา (𝑥1) เป็นตัวแปรอิสระที่สามารถนำมาพยากรณ์ปริมาณการใช้น้ำได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (0.05) โดยมีสมการการทำนาย คือ 𝑦 = 0.245 + 1.003𝑥1 ซึ่งมีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.365 อีกทั้งความสัมพันธ์แต่ละปัจจัยพื้นที่ชนบทจังหวัดระยอง จำนวนสุขา (𝑥1) และ ฝักบัว (𝑥2) เป็นตัวแปรอิสระที่สามารถนำมา พยากรณ์ปริมาณการใช้น้ำได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (0.05) โดยมีสมการการทำนาย คือ 𝑦 = 0.075 + 1.382𝑥1 + (−0.157)𝑥2 ซึ่งมีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.524 และ 0.184 4. พื้นที่ชนบทจังหวัดฉะเชิงเทรา ส่วนใหญ่มีพื้นที่ความต้องการน้ำน้อย พบว่าบริเวณ 11 คิดเป็นร้อยละ 77.67 และพื้นที่ชนบทจังหวัดระยอง ส่วนใหญ่มีพื้นที่ต้องการน้ำมาก พบบริเวณอำเภอแกลง อำเภอเขาชะเมาและอำเภอบ้านค่าย คิดเป็นร้อยละ 52.48 อีกทั้งพื้นที่ชนบทจังหวัดชลบุรี ส่วนใหญ่มีพื้นที่ต้องการน้ำมาก พบว่าบริเวณอำเภอบ่อทอง อำเภอบ้านบึงและอำเภอหนองใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 50" |
รายละเอียด: | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4053 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_222.pdf | 7.19 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น