กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4052
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ศิริวรรณ แสงอินทร์ | |
dc.contributor.author | ช่อทิพย์ ผลกุศล | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2021-04-26T09:02:21Z | |
dc.date.available | 2021-04-26T09:02:21Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4052 | |
dc.description | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 | th_TH |
dc.description.abstract | ปัจจุบันหญิงตั้งครรภ์อายุมากมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น การตั้งครรภ์อายุมากเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่อหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ดังนั้นการให้บริการสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์อายุมากจึงควรให้บริการสุขภาพแบบองค์รวม ในการจัดบริการสุขภาพแบบองค์รวมจำเป็นต้องทราบถึงการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ พฤติกรรมสุขภาพ และความต้องการบริการสุขภาพแบบองค์รวมของหญิงตั้งครรภ์อายุมาก การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เพื่อศึกษาการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ พฤติกรรมสุขภาพ และความต้องการบริการสุขภาพแบบองค์รวมของหญิงตั้งครรภ์อายุมาก และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์อายุมากที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการฝากครรภ์ ณ โรงพยาบาลศูนย์ ภาคตะวันออก จำนวน 3 โรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลชลบุรี โรงพยาบาลระยอง และโรงพยาบาลพุทธโสธร จำนวน 190 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2561 เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์อายุมาก และแบบสอบถามความต้องการบริการสุขภาพแบบองค์รวม โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .90, .92, .94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ One-way ANOVA, Independent t-test, Point biserial correlation coefficient, Spearman’s rho correlation coefficient, Pearson’s correlation coefficient และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การรับรู้ภาวะเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์อายุมาก 1.1 หญิงตั้งครรภ์อายุมากมีคะแนนการรับรู้ภาวะเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์เฉลี่ย 296.13 ซึ่งอยู่ในระดับต่ำ 1.2 หญิงตั้งครรภ์อายุมากที่มีระดับการศึกษา จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ และภาวะ แทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ต่างกัน มีการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 13.35, df = 2, p < .001; t = 2.74, df = 188, p = .007 และ t = -4.64, df = 94.62, p < .001 ตามลำดับ) 1.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์อายุมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ อายุครรภ์ (r = .168, p = .020) จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ (r = -.196, p = .007) และภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ (r = .343, p = .001) 2. พฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์อายุมาก 2.1 หญิงตั้งครรภ์อายุมากมีคะแนนพฤติกรรมสุขภาพเฉลี่ย 141.34 ซึ่งอยู่ในระดับดี 2.2 หญิงตั้งครรภ์อายุมากที่มีรายได้ครอบครัว และอายุครรภ์ต่างกัน มีพฤติกรรม สุขภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 4.36, df = 4, p = .002; F = 3.81, df = 2, p = .024 ตามลำดับ) 2.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์อายุมากอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ระดับการศึกษา (r = .167, p = .022) รายได้ครอบครัว (r = .200, p = .006) และอายุครรภ์ (r = .151, p = .037) 3. ความต้องการบริการสุขภาพแบบองค์รวมของหญิงตั้งครรภ์อายุมาก 3.1 หญิงตั้งครรภ์อายุมากมีคะแนนความต้องการบริการสุขภาพแบบองค์รวมเฉลี่ย 67.54 ซึ่งอยู่ในระดับมาก ส่วนข้อมูลเชิงลึก หญิงตั้งครรภ์อายุมากต้องการให้คลินิกฝากครรภ์ ให้บริการด้วยความรวดเร็ว มีบุคลากรและที่นั่งอย่างเพียงพอ บริการด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม แพทย์/พยาบาลให้คำแนะนาปรึกษา และเปิดโอกาสให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วม 3.2 หญิงตั้งครรภ์อายุมากที่มีปัจจัยส่วนบุคคล (ซึ่งได้แก่ ระดับการศึกษา รายได้ครอบครัว อายุครรภ์ จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ และภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์) ต่างกัน มีความต้องการบริการสุขภาพแบบองค์รวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = .30, df = 2, p = .742; F = 2.25, df = 4, p = .066; F = .53, df = 2, p = .588; t = -.49, df = 28.74, p = .625 และ t = -.97, df = 144.92, p = .335 ตามลำดับ) 3.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการการบริการสุขภาพแบบองค์รวมของหญิงตั้งครรภ์อายุมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รายได้ครอบครัว (r = .176, p = .015) และพฤติกรรมสุขภาพ (r = .187, p = .010) ผลการวิจัยครั้งนี้ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับการรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์ พฤติกรรมสุขภาพ และความต้องการบริการสุขภาพแบบองค์รวมของหญิงตั้งครรภ์อายุมาก รวมทั้งปัจจัยที่เกี่ยวข้อง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนารูปแบบการบริการสุขภาพแบบองค์รวมสำหรับหญิงตั้งครรภ์อายุมากต่อไป | th_TH |
dc.description.sponsorship | สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ครรภ์ | th_TH |
dc.subject | ครรภ์ - - การดูแลและสุขวิทยา | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.title | การรับรู้ภาวะเสี่ยงของการตั้งครรภ์พฤติกรรมสุขภาพและความต้องการบริการสุขภาพแบบองค์รวมของหญิงตั้งครรภ์อายุมาก | th_TH |
dc.title.alternative | Perceptions of pregnancy risk, health behaviors and holistic health service needs among women of advanced maternal age | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | siriwan_y2001@yahoo.com | th_TH |
dc.author.email | chotip.phon@hotmail.com | th_TH |
dc.year | 2561 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | Currently, women of advanced maternal age are more likely to increase. Advanced maternal age is risky for complications in mother the fetus. Therefore, health services for women of advanced maternal age should be holistic. In holistic health services, it is important to know the perceptions of pregnancy risk, health behaviors and the holistic health service needs among women of advanced maternal age. This study was a descriptive research to study the perceptions of pregnancy risk, health behavior and the need for holistic health services among women of advanced maternal age, including related factors. The sample was 190 women of advanced maternal at age 35 or older, who attending antenatal care at 3 Tertiary Hospitals in Eastern Thailand, Chonburi Hospital, Rayong Hospital and Buddhasothorn hospital. Data were collected during January to June 2018. Research instruments include personal interviews, Pregnancy Perception of Risk Questionnaire, health behavior of advanced maternal age questionnaire and holistic health services needs questionnaire, which reliability was .90, .92, .94, respectively. One-way ANOVA, Independent t-test, Point biserial correlation coefficient, Spearman’s rho correlation coefficient, Pearson’s correlation coefficient and content analysis were used for data analysis. The results are as follows. 1. Perceptions of pregnancy risk among women of advanced maternal age. 1.1 Women of advanced maternal age had the mean scores of perceptions of pregnancy risk 296.13, which was at a low level. 1.2 Women of advanced maternal age with different education level, gravida and complications during pregnancy had different perceptions of risk of pregnancy. (F = 13.35, df = 2, p < .001; t = 2.74, df = 188, p = .007 and t = -4.64, df = 94.62, p < .001 respectively). 1.3 Factors related to perceptions of pregnancy risk among women of advanced maternal age were gestational age (r = .168, p = .020), gravida (r = -96, p = .007) and complication during pregnancy (r = .343, p = .001). 2. Health behavior among women of advanced maternal age. 2.1 Women of advanced maternal age had the mean scores of health behaviors 141.34, which was at a good level. 2.2 Women of advanced maternal age with different family income and gestational age had different health behaviors (F = 4.36, df = 4, p = .002; F = 3.81, df = 2, p = .024 respectively). 2.3 Factors related to health behaviors among women of advanced maternal age were education level (r = .167, p = .022), family income (r = .200, p = .006) and gestational age (r = .151, p = .037). 3. Holistic health service needs among women of advanced maternal age. 3.1 Women of advanced maternal age had the mean scores of 67.54, which was at a high level. For in-depth information, women of advanced maternal age required fast antenatal clinic service, had adequate personnel and seating, service with smiley face, doctors/nurses provided advice and counseling, and gave opportunity for families to participate with antenatal clinic service. 3.2 Women of advanced maternal age with different personal factors (ie., education level, family income, gestational age, gravida and complications during pregnancy) did not have different holistic health service needs (F = .30, df = 2, p = .742; F = 2.25, df = 4, p = .066; F = .53, df = 2, p = .588; t = -.49, df = 28.74, p = .625 และ t = -.97, df = 144.92, p = .335 respectively) 3.3 Factors related to holistic health service needs among women of advanced maternal age were family income (r = .176, p = .015) and health behavior (r = .187, p = .010) The results of this study contribute the knowledge about perception of pregnancy risk, health behavior and holistic health service needs among women of advanced maternal age, as well as related factors. These findings will be beneficial for the development of a holistic health service model for women of advanced maternal age. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_221.pdf | 1.11 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น