กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4046
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอุมาพร ทาไธสง
dc.contributor.authorเสาวนีย์ ลีละยูวะ
dc.contributor.authorมฑิรุทธ์ มุ่งถิ่น
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2021-04-25T16:22:27Z
dc.date.available2021-04-25T16:22:27Z
dc.date.issued2560
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4046
dc.descriptionโครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560th_TH
dc.description.abstractเชื้อ Cryptosporidium spp. และ Enterocytozoon bieneusi เป็นโปรโตซัวปรสิตฉวยโอกาสที่ทำให้เกิดโรคอุจจาระร่วงที่รุนแรงในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่องโดยเฉพาะผู้ที่ติดเชื้อ HIV เชื้อทั้งสองชนิดนี้พบได้ทั้งคนและสัตว์หลายชนิด เชื่อว่าการติดต่อสามารถเกิดขึ้นได้ทาง fecal-oral route เหมือนกับโปรโตซัวชนิดอื่น ๆ ในลำไส้ และมีรายงานว่าสัตว์เป็นรังโรคที่ทำให้เกิดการติดเชื้อในคน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาความชุกของเชื้อ Cryptosporidium spp. และ E. bieneusi ในสุกรด้วยเทคนิค nested-PCR ในการเพิ่มจำนวนยีน small subunit (SSU) rRNA และทำการจำแนกจีโนไทป์/ สปีชีย์ของเชื้อทั้งสองชนิด โดยการศึกษานี้ได้ทำการเก็บตัวอย่างมูลสุกร จำนวน 245 ตัว จากฟาร์มจำนวน 11 ฟาร์ม ในเขตจังหวัดชลบุรี ประเทศไทย ผลการทดลองพบความชุกของเชื้อ Cryptosporidium spp. และ E. bieneusi เท'ากับ 20.8% (51/245 ตัวอย'าง) และ 15.1% (37/245 ตัวอย่าง) ตามลำดับ เมื่อทำการจำแนกจีโนไทป์/ สปีชีย์ของเชื้อ Cryptosporidium spp. ด้วยวิธี Restriction Fragment Length Polymorphism (RFLP) วิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทป์และวิเคราะห์ phylogenic tree ของยีน SSU rRNA พบว'า เชื้อ Cryptosporidium spp. ที่พบในสุกร เป็นเชื้อ Cryptosporidium spp. pig genotype II 82.4% (42/51 ตัวอย่าง) และ Cryptosporidium suis 17.6% (9/51 ตัวอย่าง) และทำการจำแนกจีโนไทป์ของเชื้อ E. bieneusi ด้วยการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทป์ และวิเคราะห์ phylogenic tree ของยีน SSU rRNA บริเวณ Internal transcribed spacer (ITS) พบว่าเป็นจีโนไทป์ E 78.4% (29/37 ตัวอย่าง) และจีโนไทป์ F 21.6% (8/37 ตัวอย่าง) และทั้งสองจีโนไทป์อยู่ในกลุ่ม 1 ของจีโนไทป์ที่สามารถติดต่อสู่คน (zoonotic potential) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสุกรอาจเป็นรังโรคของการติดเชื้อ Cryptosporidium spp. และ E. bieneusi ในคนในประเทศไทย การศึกษานี้เป็นรายงานแรกของการจำแนกจีโนไทป์/ สปีชีย์ของเชื้อ Cryptosporidium spp. ด้วยวิธีทางอณูชีวโมเลกุลในสุกรในประเทศไทยth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectสุกร - - การเลี้ยง - - ไทย - - ชลบุรีth_TH
dc.subjectสุกร - - การเลี้ยง - - ชลบุรีth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleการจำแนกจีโนไทป์/ สปีชีย์ทางอณูชีวโมเลกุลของเชื้อ Enterocytozoon bieneusi และ Cryptosporidium spp. ในสุกรที่เลี้ยงในจังหวัดชลบุรี ประเทศไทยth_TH
dc.title.alternativeMolecular characterization of genotype/species of Enterocytozoon bieneusi and Cryptosporidium spp. from pig in Chon Buri province, Thailanden
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailumaporn@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailS_leelayoova@scientist.comth_TH
dc.author.emailmathirut@hotmail.comth_TH
dc.year2560th_TH
dc.description.abstractalternativeCryptosporidium spp. and Enterocytozoon bieneusi are an important opportunistic protozoa parasite causing the severe diarrheal diseases in immunocompromised individuals especially HIV-infected patients. These two protozoa infections appear in both human and animals. Transmission of the protozoa believed to be the same as for other intestinal protozoa i.e. fecal oral route. It has been reported that animals may be a potential source of infection for human. This study were aimed to determine the prevalence of Cryptosporidium spp. and E. bieneusi in pig by nested-PCR of small subunit (SSU) rRNA gene and to identify genotype/species of these parasite. A total of 245 fecal samples from pig in 11 farms, Chon buri province, Thailand were enrolled in this study. The results showed that the prevalence of Cryptosporidium spp. and E. bieneusi infection in pig were 20.8% (51/245 samples) and 15.1% (37/245 samples), respectively. Genotype/species of Cryptosporidium isolates were identified by Restriction Fragment Length Polymorphism (RFLP), sequencing and phylogentic tree analysis of SSU rRNA gene. While E. bieneusi isolates were genotyped based on internal transcribed spacer (ITS) regions of the SSU rRNA gene by sequencing and phylogentic tree analysis. Among 51 Cryptosporidium spp. isolates, Cryptosporidium spp. pig genotype II and Cryptosporidium suis were detected in 82.4% (42/51 samples) and 17.6% (9/51 samples). There were two E. bieneusi genotypes in pig, including genotype E 78.4% (29/37 samples) and F 21.6% (8/37 samples). These two E. bieneusi genotypes belonged to the previously described group 1 with zoonotic potential. These data suggest that pig may play a potential role in the transmission of Cryptosporidium spp. and E. bieneusi to human in Thailand. This is the first report of genetic identification of Cryptosporidium genotype/species in pig in Thailand.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_223.pdf4.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น