กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4045
ชื่อเรื่อง: | การทบทวนและการปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกสู่การเป็นประเทศอาเซียน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Review and development strategy adjustment of Eastern Seaboard Development program toward Asean Country |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สกฤติ อิสริยานนท์ โอฬาร ถิ่นบางเตียว รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข เมทินา อิสริยานนท์ ชัยณรงค์ เครือนวน ธัชชนก สัตยวินิจ จิรายุทธ์ สีม่วง จุฑามาศ ชูสุวรรณ วราภรณ์ ช่วยประคอง มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ชายฝั่งทะเลตะวันออก สาขาสังคมวิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ หนึ่ง ประเมิน ทบทวนการพัฒนาที่ผ่านมาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเตะวันออก สอง ผลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาที่ผ่านมาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก และสามนำเสนอทางเลือกยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกสู่การเป็นประเทศอาเซียน ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์มีดังนี้ ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่า ยุทธศาสตร์การพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกมีพัฒนาการมาทั้งหมด 3 ระยะด้วยกันคือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกในอดีต บนพื้นฐานอุตสาหกรรมการเกษตร และอุตสาหกรรมที่ทดแทนการนำเข้า ยุทธศาสตร์การพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกในช่วงก้าวสู่การเป็นประชาคมอาเซียน ภายใต้โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกบนพื้นฐานอุตสาหกรรมเป็นฐานหลักในการพัฒนา จากพื้นที่จังหวัดระยอง ชลบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา และกระจายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ในภาคตะวันออก ยุทธศาสตร์การพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกในช่วงการเป็นประเทศอาเซียน ภายใต้การเกิดขึ้นของเขตเศรษฐกิจพิเศษ และโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่สอง พบว่า ผลจากการพัฒนาของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเตะวันออกมีผลทางด้านเศรษฐกิจได้แก่ รายได้ต่อหัวของประชากรที่เพิ่มสูงขึ้นแต่ไม่กระจาย เกิดความเหลื่อมล้ำและช่องว่างของรายได้ การเกิดอาชีพใหม่ ๆ ที่สืบเนื่องมาจากการเติบโตของการพัฒนาอุตสาหกรรม การล่มสลายของอาชีพเกษตรกรรม และปัญหาความยั่งยืนมั่นคงทางอาหาร ผลทางด้านสังคม ได้แก่ การผูกขาดของระบบการเลือกตั้งประชาธิปไตยแบบตัวแทน การแตกตัวทางสังคม การเกิดขึ้นของชนชั้นนำทางเศรษฐกิจการเมือง ผู้คนในชุมชนเริ่มมีวิถีชีวิตแบบปัจเจกบุคคลมากขึ้น การสูญเสียที่ดินทพกิน การล่มสลายของชุมชนดั้งเดิมและการสูญหายของมรดกทางวัฒนธรรม และปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ผลทางด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การเกิดปัญหามลพิษ ทั้งทางน้ำ ดิน อากาศ และทางทะเล การเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการแย่งชิงทรัพยากร ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่สาม พบว่า การพัฒนาในพื้นที่ภาคตะวันออกควรอยู่ภายใต้แนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม กาหนดการพัฒนาตามความต้องการและสภาพความพร้อม ความเหมาะสมของพื้นที่โดยการจัดแบ่งกลุ่มพื้นที่ (zone) ในการพัฒนา การยอมรับความหลากหลายของการพัฒนาทางเลือกอื่น ๆ ที่นอกเหลือจากภาคอุตสาหกรรมและระบบทุนนิยม การให้ความสำคัญของการกระจายรายได้ควบคู่กับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การกระจายรายได้ลงสู่ประชาชนฐานรากและการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจให้กับประชาชนในท้องถิ่น ข้อเสนอในการจัดการด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม มีข้อเสนอดังนี้ ควรมีการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ใหม่บนฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืนและใส่ใจสิ่งแวดล้อม การกระจายอำนาจในการกำหนดนโยบายสาธารณะให้กับประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีพื้นที่สีเขียวเป็นพื้นที่กันชนระหว่างอุตสาหกรรมกับชุมชน รวมถึงการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชน การสร้างจิตสานึกร่วมในการจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง และการใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ในการจัดการสิ่งแวดล้อม |
รายละเอียด: | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4045 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_215.pdf | 2.38 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น