กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4041
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorถนอมศักดิ์ บุญภักดี
dc.contributor.authorพลอยสิรินทร์ แสงมณี
dc.contributor.authorภัทราวุธ ไทยพิชิตบูรพา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2021-04-17T12:12:54Z
dc.date.available2021-04-17T12:12:54Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4041
dc.descriptionโครงการงานวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559th_TH
dc.description.abstractทำการศึกษาการใช้ไอโซโทปเสถียรในการบ่งชี้ผลกระทบของน้ำเสียจากชุมชนต่อระบบนิเวศชายฝั่ง ทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทยตอนใน โดยทำการเก็บตัวอย่างน้ำทะเล ดินตะกอน สัตว์หน้าดิน โดยแบ่งเป็นระบบนิเวศหาดทราย ระบบนิเวศป่าชายเลนและหาดโคลน และระบบนิเวศหญ้าทะเล พบว่าน้ำทะเลในระบบนิเวศหาดทรายมีปริมาณ POC และ POC:Chl a อยู่ในช่วง 1,049.8-4,537.2 และ 66.9-626.1 μg/l ตามลำดับ ส่วนในดินตะกอนปริมาณ TOC และ TN อยู่ในช่วง 3.5-76.9 μg/g และ 0.8-8.3 μg/g ตามลำดับ ขณะที่ในระบบนิเวศป่าชายเลน ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในดินตะกอนที่ระดับผิวอยู่ในช่วง 2.7 – 30.2 mg/g โดยปริมาณอินทรีย์คาร์บอนสูงสุดอยู่ในพื้นที่ป่าชายเลน และต่ำสุดอยู่ในพื้นที่หาดโคลน ส่วนปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในดินตะกอนที่ระดับผิวในระบบนิเวศหญ้าทะเล พบว่าปริมาณอินทรีย์คาร์บอนอยู่ในช่วง 0.3 – 1.1 mg/g โดยปริมาณอินทรีย์คาร์บอนรวมในพื้นที่ที่ไม่มีหญ้าทะเล และพื้นที่ที่มีหญ้าทะเลไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) การบ่งชี้แหล่งที่มาของสารอินทรีย์ในระบบนิเวศชายฝั่งด้านตะวันออกของอ่าวไทยตอนในโดยใช้ ไอโซโทปเสถียรของคาร์บอน (δ13C) และไนโตรเจน (δ 15N) พบว่าปริมาณ δ13C และ δ 15N ของดินตะกอนที่ระดับผิวในระบบนิเวศหาดทรายอยู่ในช่วง -25.63 ถึง -22.36 ‰ และ 2.58-6.03 ‰ ตามลำดับ โดยปริมาณไอโซโทปเสถียรของดินตะกอนในพื้นที่ใกล้ฝั่งแตกต่างจากพื้นที่ห่างฝั่ง ซึ่งในพื้นที่ใกล้ฝั่งมีปริมาณไอโซโทปเสถียรใกล้เคียงกับในน้ำเสียจากชุมชน ส่วนในพื้นที่ห่างฝั่งมีปริมาณไอโซโทปเสถียรใกล้เคียงกับแพลงก์ตอนพืชในทะเล แสดงให้เห็นว่าสารอินทรีย์จากน้ำเสียของชุมชนมีการสะสมอยู่ในพื้นที่ใกล้ฝั่ง แต่ไม่มีการสะสมอยู่ในพื้นที่ห่างฝั่ง ขณะที่ในระบบนิเวศป่าชายเลน เมื่อนำปริมาณไอโซโทปเสถียรของคาร์บอนจากดินตะกอนในพื้นที่ป่าชายเลนที่อยู่ในช่วง -26.26‰ ถึง -23.24‰ มาเปรียบเทียบกับน้ำทิ้งในโรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ จังหวัดชลบุรี (-27.82‰) ซึ่งมีปริมาณใกล้เคียงกัน แสดงให้เห็นว่าสารอินทรีย์ในน้ำทิ้งมีการสะสมอยู่ในป่าชายเลน ในทางตรงข้าม เมื่อนำปริมาณไอโซโทปเสถียรของดินตะกอนในพื้นที่หาดโคลนมาเปรียบเทียบกับน้ำทิ้ง พบว่าปริมาณไอโซโทปเสถียรในดินตะกอนในพื้นที่หาดโคลน (-23.63‰ ถึง –21.97‰) สูงกว่าในน้ำทิ้ง จึงสามารถบ่งชี้ได้ว่าในพื้นที่หาดโคลนไม่ได้รับสารอินทรีย์จากน้ำทิ้งของโรงปรับปรุงคุณภาพน้ำ จังหวัดชลบุรี ส่วนในระบบนิเวศหญ้าทะเล พบว่าปริมาณไอโซโทปเสถียรในดินตะกอนอยู่ในช่วง -19.90‰ ถึง -18.08‰ ซึ่งสูงกว่าน้ำเสียจากชุมชน (-24.28‰) และเมื่อนำปริมาณไอโซโทปเสถียรของดินตะกอนมาเปรียบเทียบกับแพลงตอนก์พืช (-21.70‰ ถึง -20.80‰) แสดงให้เห็นว่าสารอินทรีย์จากน้ำเสียของชุมชนไม่มีการสะสมอยู่ในระบบนิเวศหญ้าทะเล และระบบนิเวศหญ้าทะเลได้รับสารอินทรีย์มาจากแพลงก์ตอนพืชในทะเล นอกจากนี้ยังได้ติดตามสถานการณ์น้ำเสียในพื้นที่ชายฝั่งทะเลของจังหวัดชลบุรีโดยใช้เทคโนโลยีภูมิ สารสนเทศร่วมกับการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ (pH, อุณหภูมิ, ออกซิเจนละลายน้ำ, บีโอดี, ไนโตรเจนรวม, ฟอสฟอรัสรวม, ไนเตรท และแอมโมเนีย) ในน้ำทิ้งและน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน ซึ่งเป็นแหล่งรองรับน้ำเสียจากชุมชนร่วมกับการจำแนกลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายแนวท่อรวบรวมน้ำเสีย และจุดปล่อยทิ้งน้ำเสีย พบว่า น้ำทิ้งที่ไม่ผ่านการบำบัดปริมาณบีโอดีสูงสุดเท่ากับ 129.2 mg/l ส่วนคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน พบว่า ทุกสถานีมีปริมาณบีโอดีและแอมโมเนีย (NH3-) สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน (ประเภทที่ 3) และพบว่าระบบโครงข่ายของท่อรวมรวมน้ำเสียไม่ครอบคลุมพื้นที่ชุมชนได้ทั้งหมดทำให้มีน้ำเสียมากกว่า 50 % ไหลลงสู่ทะเลโดยไม่ได้มีการบำบัดth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectน้ำเสีย - - การบำบัดth_TH
dc.subjectเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)th_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleการใช้ไอโซโทปเสถียรในการบ่งชี้ผลกระทบของน้ำเสียจากชุมชนต่อระบบนิเวศชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของอ่าวไทยตอนในth_TH
dc.title.alternativeStable isotope evidence for impact of sewage input on coastal ecosystems in the east coast of the inner Gulf of Thailanden
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailthanomsa@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailkatsirinsangmanee@gmail.comth_TH
dc.author.emailpatrawut@buu.ac.thth_TH
dc.year2561th_TH
dc.description.abstractalternativeThis research aims to identify sources and impacts of community wastewater on marine ecosystems in eastern coastal area of the inner Gulf of Thailand. We sampled seawater, sediment, and benthic organisms in sandy beach, mangrove, muddy and seagrass ecosystems. In sandy beach ecosystems, we found values of POC and POC: Chl a in seawater of ranging from 1,049.8 to 4,537.2 μg/l, and 66.9 to 626.1 μg/l respectively. The TOC and TN in sediment ranged from 3. 5 to 76. 9 μg/ g and 0. 8 to 8. 3 μg/ g, respectively. In mangrove and muddy ecosystems, organic carbon in surficial sediment ranged from 2.7 -30.2 mg/g with higher values in mangrove than those in the mud flats. Organic car bon in seagrass meadow was from 0.3 to 1.1 o mg/g In order to identify source of organic matter in this study, we used stable isotopes of carbon (δ13C) and nitrogen (δ15N). The values of δ13C and δ 1 5N in surficial sediment of the sandy beaches were from -25.63 to -22.36 ‰ and 2.58 to 6.03 ‰, respectively with decreasing in distance. The results from mixing models showed accumulation of anthropogenic organic waste in the nearshore whereas marine phytoplankton was a main contributor for organic matter in the offshore. This was similar situation to the mangrove ecosystem receiving treated wastewater. We found that anthropogenic organic waste accumulated in the mangrove but did not distribute to an adjacent mudflat. However, values of δ13C and δ15N in seagrass (Halodule pinifolia) and gastropods (Cerithideospsilla cingulata) were -11.5±1.15, 6.5±1.15 and -11.03±1.15, 8.3±0.22 ‰, respectively. These results showed that the epiphyte obtained to organic matter from seagrass and gastropods received organic matter from seagrass and epiphyte. There were no significant distribution of organic matter from municipal wastewater nearby study area. Furthermore, we also investigated wastewater situation along Chonburi coastline by using geoinformation technology combined with water quality parameters ( pH, DO, BOD, total nitrogen, total phosphorus, nitrate and ammonia) in both wastewater and surface water sources where receive wastewater from municipalities. Then, we integrated those data with sewage pipe network and its outlet. We found that untreated wastewater showed BOD values as high as 192.2 mg/l whereas BOD of treated wastewater was within the water quality standard. Surface water sources showed higher BOD and ammonia concentrations than those of the standard indicating poor management. Sewage network did not cover entire area of municipalities resulting more than 50% of wastewater may empty to the sea without treatment.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_204.pdf26.31 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น