กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/403
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุนทราวดี เธียรพิเชฐ | th |
dc.contributor.author | รวีวรรณ เผ่ากัณหา | th |
dc.contributor.author | ผ่องศรี เกียรติเลิศนภา | th |
dc.contributor.author | จินตนา วัชรสินธุ์ | th |
dc.contributor.author | สุภาภรณ์ ด้วงแพง | th |
dc.contributor.author | ฉันทนา จันทวงศ์ | th |
dc.contributor.author | ศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์ | th |
dc.contributor.author | อารีรัตน์ ขำอยู่ | th |
dc.contributor.author | เขมารดี มาสิงบุญ | th |
dc.contributor.author | สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ | th |
dc.contributor.author | วารี กังใจ | th |
dc.contributor.author | กนกนุช ชื่นเลิศสกุล | th |
dc.contributor.author | วรรณี เดียวอิศเรศ | th |
dc.contributor.author | นารีรัตน์ สังวรวงษ์พนา | th |
dc.contributor.author | วิภา วิเสโส | th |
dc.contributor.author | ภรณี สวัสดิ์-ชูโต | th |
dc.contributor.author | อรพินท์ หลักแหลม | th |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T08:47:33Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T08:47:33Z | |
dc.date.issued | 2546 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/403 | |
dc.description.abstract | การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบและรูปแบบการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิเพื่อชุมชนแห่งสุขภาพ: กรณีศึกษาภาคตะวันออก มีกระบวนการวิจัย 5 ขั้นตอนคือ 1) การศึกษาระบบบริการระดับปฐมภูมิในพื้นที่ที่ศึกษา 2) การสร้างความเข้าใจและปรับความคิดเกี่ยวกับการดำเนินงานของหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ 3) การสร้างความร่วมมือเพื่อพัฒนาสุขภาพชุมชน 4) การคงไว้ซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืน 5) การสรุปประเมินผลและสร้างข้อเสนอ ศึกษาใน 2 พื้นที่เขตเมือง ได้แก่ 1) ศูนย์สุขภาพชุมชน 2) ศูนย์บริการสาธารณสุขชุมชนเทศบาล แหล่งข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหาร ผู้ให้บริการ ผู้แทน อสม. ผู้นำชุมชน ประชาชนผู้ให้บริการ และทีมวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม การประชุมระดมสมอง การสอบถาม การสังเกต รายงานและเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา ตรวจสอบความเชื่อถือได้ของข้อมูลโดยผู้ให้ข้อมูลและผู้วิจัยหลายคน ผลการวิจัยเป็นดังนี้ 1. รูปแบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ มีองค์ประกอบสำคัญคือ การเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิที่ปรับจากงานเดิมและปรับโครงสร้างงานใหม่ในกรณีของศูนย์บริการสาธารณสุขเทศบาลกับหน่วยคู่สัญญาหลัก โรงพยาบาลสภากาชาดไทย มีขอบเขตหน้าที่เน้นงานสร้างเสริมสุขภาพและการตรวจรักษาพยาบาล ที่มีแพทย์มาให้บริการ สัปดาห์ละครึ่งวัน พยาบาลวิชาชีพเป็นบุคคลหลักในการให้บริการ มีระบบควบคุมคุณภาพ มีระบบเครือข่ายการส่งต่อ และจัดตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างองค์กรแบบ 4 จตุรมิตร เป็นคณะกรรมการเครือข่ายพัฒนาสุขภาพชุมชน 2.กระบวนการพัฒนารูปแบบเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ประกอบด้วย 1) การปรับความคิด ได้แก่ การวิเคราะห์แนวคิดเชิงนโยบาย สร้างความเข้าใจ การสร้างความตระหนักรู้ด้านสุขภาพ การสร้างวิสัยทัศน์องค์กรและสุขภาพชุมชน 2) การปรับความรู้ ได้แก่ การวิเคราะห์และสังเคราะห์รูปแบบ กำหนดเป้าหมายสุขภาพ สร้างแผนกลยุทธ์ และพัฒนาศักยภาพบุคลากร อสม. ประชาชน 3) การคงไว้ซึ่งการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ การสะท้อนคิดร่วมกันเป็นระยะ ๆ ระหว่างทีมวิจัยและบุคลากร การสร้างเครือข่ายสุขภาพชุมชน การเพิ่มพูนศักยภาพของบุคลากร และอสม. อย่างต่อเนื่อง 4) วิธีการสำคัญที่ส่งเสริมกระบวนการพัฒนา ได้แก่ การสร้างความมีส่วนร่วม การประสานเชิงวิชาการของนักวิจัยและสถาบันการศึกษา 5) สาระหลักของการพัฒนามี 3 ด้านคือ การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาระบบงาน และการพัฒนาศักยภาพประชาชน 3. ผลลัพธ์ของกระบวนการพัฒนา ได้แก่ การจัดระบบงานตามลักษณะการบริการ 4 มิติ เน้นงานสร้างเสริมคุณภาพ และงานการรักษาพยาบาลเบื้องต้นที่สอดคล้องกับภูมิหลังและประสบการณ์ของผู้ปฎิบัติงาน การประยุกต์แนวคิดทางมนุษยวิทยาในการปฏิบัติงานในชุมชนบุคลากรและประชาชนสร้างวิสัยทัศน์ร่วมในการพัฒนาชุมชน การได้แผนกลยุทธ์ขององค์กร ได้บทเรียนที่สำคัญในการสร้างความมีส่วนร่วมขององค์กรด้านสุขภาพในชุมชนที่มีคณะกรรมการเครือข่ายพัฒนาสุขภาพชุมชนร่วมดำเนินงาน ได้ฐานข้อมูลสุขภาพชุมชน ประชาชนมีความพึงพอใจในการบริการที่สะดวกและใกล้บ้าน สถานบริการ สถาบันการศึกษาและองค์กรชุมชนที่อยู่ในพื้นที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพอย่างบูรณาการพยาบาลวิชาชีพเป็นบุคคลหลักที่มีศักยภาพในการให้บริการทั้งในสถานบริการและชุมชน 4. เงื่อนไขสำคัญที่มีผลต่อคุณภาพการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ คือ นโยบายชัดเจนสื่อถึงบุคลากรทุกระดับ บุคลากรมีสมรรถนะในการบริการและการบริหาร เข้าใจงานเชิงรุก และเข้าถึงชุมชน และพยาบาลเป็นบุคลากรหลักซึ่งอาจเป็นพยาบาลระดับปริญญาโท สาขาการพยาบาลชุมชนหรือการพยาบาลครอบครัว การควบคุมคุณภาพงานมีประสิทธิภาพ เครือข่ายการส่งต่อรวดเร็ว ฐานข้อมูลทันสมัย งานสร้างเครือข่ายพัฒนาสุขภาพชุมชนมีความต่อเนื่อง องค์กร ชุมชน และประชาชนมีส่วนร่วมมากขึ้น 5. ข้อเสนอต่อการพัฒนารูปแบบการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิที่สำคัญคือ การปรับโครงสร้างและกลไกของสถานบริการสุขภาพระดับปฐทภูมิ พยาบาลวิชาชีพเป็นบุคลากรหลัก ที่มีอย่างพอเพียง สร้างระบบบุคลากรเจ้าของพื้นที่ เพิ่มสมรรถนะทางการบริหารของผู้บริหารศูนย์ ขยายงานการดูแลสุขภาพที่บ้าน การดูแลสุขภาพอย่างองค์รวม พัฒนาระบบการเงินและการควบคุมคุณภาพการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มประสิทธิภาพเครือข่ายการส่งต่อ สร้างศูนย์การเรียนรู้และแกนนำสุขภาพในชุมชน เพิ่มบทบาทขององค์กรชุมชนเป็นเจ้าของสุขภาพในพื้นที่ 6. ข้อเสนอเชิงนโยบายที่รัฐองค์กรวิชาชีพและสถาบันการศึกษา ได้แก่ การศึกษาและพัฒนารูปแบบการให้บริการระดับปฐมภูมิอย่างต่อเนื่อง เน้นการพัฒนาสมรรถนะการดูแลสุขภาพอย่างองค์รวม การพัฒนาชุดบริการหลัก การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายต่อหัวในการให้บริการ การกระจายอำนาจและบทบาทขององค์กรชุมชนในการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ และการพัฒนาการเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านสุขภาพในชุมชนที่เป็นรูปธรรม The purpose of this action research was to develop a primary care model for a healthy community in the eastern region of Thailand. The research process consisted of 5 stages: 1) exploration of primary care delivery in selected settings, 2) improved understanding of the concept of primary care unit management, 3) build community health participation, 4) maintain development of primary, and 5) evaluate and recommend. Selected settings for the study were a community health center and municipal health center in the urban area of Chon Buri province. Informants included administrative committees, health care providers, village health volunteers, community leaders, and people in the community. Data were collected from documents and reports by in-depth interviews, focus group discussions, brain-storming, questionnaires, and observations. Content analysis was validated by key informants and experts in the community. The results were as follows: 1. The primary care model is designed by developing and modifying structures of the previous health centers as the primary care units (PSU). The PCU activities focused on four dimensions of health care including health promotion, prevention, primary medical care and rehabilitation. The main health care providers working at the PCU were professional nurses and technical nurses. The physician worked regularly at the PCU for a half day per work week. There was a health referral network. The health care networking committee was set from four alliances in order to create changes, monitor, and evaluate the development of the PCU. 2. The process to establish effective primary care units ernphasized personnel development, health service system improvement, and community potential enhancement. The keys for success included shaping ideas and enhancing knowledge as well as building community participation in the health system development. The educational institutes in the community mentored and supervised the development. 3. The outcomes of the development process included providing four dimensions of health care services that were congruent with the health care providers' experiences and background. Applied the concepts from anthropology to understand the potential of the community. Health care providers and community members started working together by creating salvation and mission; building community participation on health care; setting a strategic plan, and establishing a health care networking committee. Establishing a health partnership in the community was a key for success for the primary care model. The communities were satisfied with convenient services that were easily accessed, and provided service with care. educational institutes and community agencies took responsibility to develop services. The professional nurses are the main personnel and demonstrated competencies in working at PCU. 4. The main element to improve the quality of services included having focused health policy and qualified personnel. The qualified nurses should be Masters prepared in the field of community or family nursing. An effective budget management, quality control health net working, community data base are needed. In addition, modification of the role of community agencies and people in the communities in order to take responsibility for their own communities by establishing community health partnership. 5. Recommendations for primary care model development are to prepare and improve the structure, the main personnel should be a professional nurse and allocate personnel based on their potenttial and ratio between health personnel and clients. Development of the ability of personnel and the administrator. Improvement the home health care, the holistic care. Development the butget management, the quality control and the net working. Establiszhing the health learning center and community volunteers in the community. And modification of the role of community agencies in the communities in order to take responsibility. 6. Suggestions for health policy should be built by agreement of geverment, professional agencies, and educational institutes. Future research should study the development of a primary care model focusing on service cost analysis, decentralization and role of satisfied primary care model, and a health learning center. | th_TH |
dc.description.sponsorship | โครงการนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2545-2546 | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การส่งเสริมสุขภาพ - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | บริการทางการแพทย์ - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ | th_TH |
dc.subject | สาธารณสุขมูลฐาน - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย | th_TH |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการให้บริการสุขภาพระดับปฐมภูมิเพื่อชุมชนแห่งสุขภาพ: กรณีศึกษาภาคตะวันออก | th_TH |
dc.title.alternative | Primary care service model development for healthy community: a case study of Eastern region | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2546 | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น