กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4038
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการนอกงานของแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมก่อสร้างจังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Developing outside welfare of Thai and transnational labors model in construction industry Chonburi province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ดนัย บวรเกียรติกุล นันทพร ภัทรพุทธ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
คำสำคัญ: | แรงงานต่างด้าว - - การจ้างงาน -- ชลบุรี แรงงานไทย แรงงานต่างด้าว - - การจ้างงาน -- ชลบุรี สาขาสังคมวิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ คือ ศึกษาสถานการณ์การจัดสวัสดิการนอกงาน ด้านที่พักอาศัยสาหรับแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมก่อสร้าง จ.ชลบุรี และเพื่อ พัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการนอกงานด้านที่พักอาศัยสำหรับแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติใน อุตสาหกรรมก่อสร้าง ผลการศึกษา ได้ทำการศึกษาเพื่อประเมินสภาพการสุขาภิบาลที่พักอาศัยชั่วคราว และคุณภาพชีวิตของแรงงานก่อสร้างในโครงการพัฒนาในจังหวัดชลบุรี 3 แห่ง โดยแบบสำรวจสภาพ การสุขาภิบาลที่พักอาศัยสำหรับแรงงานก่อสร้างและแบบทดสอบคุณภาพชีวิตที่ดัดแปลงจากองค์การ อนามัยโลกฉบับย่อ ผลการสำรวจ พบว่า สภาพการสุขาภิบาลที่พักอาศัยสำหรับแรงงานก่อสร้างของ โครงการทั้ง 3 แห่งอยู่ในช่วงคะแนนร้อยละ 66.00 – 78.76 ซึ่งอยู่ในระดับพอใช้จนถึงระดับดี ส่วน คุณภาพชีวิตทั้งในด้านสุขภาวะทางกาย ทางจิต และทางสังคมอยู่ในช่วงคะแนนร้อยละ 61.15 – 70.53 ซึ่งอยู่ในระดับดี และมีความสอดคล้องกับสภาพการสุขาภิบาล การสร้างรูปแบบสวัสดิการนอกงานประเภทที่พักอาศัยสำหรับแรงงานก่อสร้าง ได้กำหนดรูปแบบการใช้พื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนงานก่อสร้าง ทั้งนี้ ได้กาหนดให้มีจำนวนแรงงานอย่างน้อย 80 คนเพื่อใช้รูปแบบจัดสวัสดิการที่พักอาศัย และกำหนดให้ แรงงาน 1 คนต้องมีพื้นที่เพื่อการจัดสวัสดิการที่พักอาศัยอย่างน้อยตั้งแต่ 15 ตารางเมตร (ร้อยละร้อย) หลังจากนั้น จัดสรรเป็นพื้นที่สวัสดิการ ฯ ต่อคน ดังนี้ พื้นที่อาคารสำหรับการอยู่อาศัย ประกอบด้วย อาคารพักอาศัย 3 ตารางเมตร (ร้อยละ 20) อาคารห้องน้ำ ห้องส้วมตั้งแต่ 1 ตารางเมตร (ร้อยละ 6.67) ห้องครัวและโรงอาหาร 1 ตารางเมตร (ร้อยละ 6.67) พื้นที่ใช้สอยเพื่อการสุขาภิบาล ประกอบด้วย พื้นที่สำหรับการรวบรวมเศษอาหาร 0.10 ตารางเมตร (ร้อยละ 0.67) พื้นที่สำหรับการ จัดเก็บและพักขยะ 0.25 ตารางเมตรต่อคน (ร้อยละ 1.67) พื้นที่สำหรับการบำบัดน้าเสีย 0.50 ตารางเมตร (ร้อยละ 3.33) พื้นที่ใช้สอยเพื่อรองรับสภาวะฉุกเฉิน ประกอบด้วย พื้นที่จุดรวมพล 0.25 ตารางเมตร (ร้อยละ 1.67) พื้นที่จุดปฐมพยาบาล 1 ตารางเมตร (ร้อยละ 6.67) พื้นที่จุดอานวยการ แก้ไขภาวะฉุกเฉิน 0.25 ตารางเมตร (ร้อยละ 1.67) พื้นที่การสัญจร ประกอบด้วย เส้นทางสัญจรด้วย ยานพาหนะ 0.50 ตารางเมตร (ร้อยละ 3.33) พื้นที่จุดจอดยานพาหนะ 0.50 ตารางเมตร (ร้อยละ 3.33) พื้นที่นันทนาการและสวัสดิการ ประกอบด้วยบริเวณสาหรับกิจกรรมการออกกำลังกาย 1 ตาราง เมตร ร้อยละ 6.67) บริเวณสำหรับร้านค้าสวัสดิการหรือร้านอาหาร 0.25 ตารางเมตร (ร้อยละ 1.67) รวมพื้นที่ใช้ประโยชน์ต่อแรงงาน 1 คน 9.60 ตารางเมตร (ร้อยละ 64) คงเหลือ 5.40 ตารางเมตร (ร้อย ละ 36) ในการจัดตั้งอาคารต่าง ๆ ให้อยู่ในตำแหน่งตามหลักการพื้นที่การประกอบกิจกรรมด้วยการ ปฏิบัติทั่ว ๆ ไป การประกอบกิจกรรมส่วนตัวโดยเฉพาะ การประกอบกิจกรรมด้วยความร่วมมือเพื่อ กระทำสิ่งใด ๆ การประกอบกิจกรรมที่ขัดแย้ง การติดต่อซึ่งกันและกัน |
รายละเอียด: | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4038 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_201.pdf | 4.74 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น