กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4038
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ดนัย บวรเกียรติกุล | |
dc.contributor.author | นันทพร ภัทรพุทธ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2021-04-17T06:09:08Z | |
dc.date.available | 2021-04-17T06:09:08Z | |
dc.date.issued | 2561 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4038 | |
dc.description | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ 2 ประการ คือ ศึกษาสถานการณ์การจัดสวัสดิการนอกงาน ด้านที่พักอาศัยสาหรับแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมก่อสร้าง จ.ชลบุรี และเพื่อ พัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการนอกงานด้านที่พักอาศัยสำหรับแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติใน อุตสาหกรรมก่อสร้าง ผลการศึกษา ได้ทำการศึกษาเพื่อประเมินสภาพการสุขาภิบาลที่พักอาศัยชั่วคราว และคุณภาพชีวิตของแรงงานก่อสร้างในโครงการพัฒนาในจังหวัดชลบุรี 3 แห่ง โดยแบบสำรวจสภาพ การสุขาภิบาลที่พักอาศัยสำหรับแรงงานก่อสร้างและแบบทดสอบคุณภาพชีวิตที่ดัดแปลงจากองค์การ อนามัยโลกฉบับย่อ ผลการสำรวจ พบว่า สภาพการสุขาภิบาลที่พักอาศัยสำหรับแรงงานก่อสร้างของ โครงการทั้ง 3 แห่งอยู่ในช่วงคะแนนร้อยละ 66.00 – 78.76 ซึ่งอยู่ในระดับพอใช้จนถึงระดับดี ส่วน คุณภาพชีวิตทั้งในด้านสุขภาวะทางกาย ทางจิต และทางสังคมอยู่ในช่วงคะแนนร้อยละ 61.15 – 70.53 ซึ่งอยู่ในระดับดี และมีความสอดคล้องกับสภาพการสุขาภิบาล การสร้างรูปแบบสวัสดิการนอกงานประเภทที่พักอาศัยสำหรับแรงงานก่อสร้าง ได้กำหนดรูปแบบการใช้พื้นที่เพื่อการอยู่อาศัยที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนงานก่อสร้าง ทั้งนี้ ได้กาหนดให้มีจำนวนแรงงานอย่างน้อย 80 คนเพื่อใช้รูปแบบจัดสวัสดิการที่พักอาศัย และกำหนดให้ แรงงาน 1 คนต้องมีพื้นที่เพื่อการจัดสวัสดิการที่พักอาศัยอย่างน้อยตั้งแต่ 15 ตารางเมตร (ร้อยละร้อย) หลังจากนั้น จัดสรรเป็นพื้นที่สวัสดิการ ฯ ต่อคน ดังนี้ พื้นที่อาคารสำหรับการอยู่อาศัย ประกอบด้วย อาคารพักอาศัย 3 ตารางเมตร (ร้อยละ 20) อาคารห้องน้ำ ห้องส้วมตั้งแต่ 1 ตารางเมตร (ร้อยละ 6.67) ห้องครัวและโรงอาหาร 1 ตารางเมตร (ร้อยละ 6.67) พื้นที่ใช้สอยเพื่อการสุขาภิบาล ประกอบด้วย พื้นที่สำหรับการรวบรวมเศษอาหาร 0.10 ตารางเมตร (ร้อยละ 0.67) พื้นที่สำหรับการ จัดเก็บและพักขยะ 0.25 ตารางเมตรต่อคน (ร้อยละ 1.67) พื้นที่สำหรับการบำบัดน้าเสีย 0.50 ตารางเมตร (ร้อยละ 3.33) พื้นที่ใช้สอยเพื่อรองรับสภาวะฉุกเฉิน ประกอบด้วย พื้นที่จุดรวมพล 0.25 ตารางเมตร (ร้อยละ 1.67) พื้นที่จุดปฐมพยาบาล 1 ตารางเมตร (ร้อยละ 6.67) พื้นที่จุดอานวยการ แก้ไขภาวะฉุกเฉิน 0.25 ตารางเมตร (ร้อยละ 1.67) พื้นที่การสัญจร ประกอบด้วย เส้นทางสัญจรด้วย ยานพาหนะ 0.50 ตารางเมตร (ร้อยละ 3.33) พื้นที่จุดจอดยานพาหนะ 0.50 ตารางเมตร (ร้อยละ 3.33) พื้นที่นันทนาการและสวัสดิการ ประกอบด้วยบริเวณสาหรับกิจกรรมการออกกำลังกาย 1 ตาราง เมตร ร้อยละ 6.67) บริเวณสำหรับร้านค้าสวัสดิการหรือร้านอาหาร 0.25 ตารางเมตร (ร้อยละ 1.67) รวมพื้นที่ใช้ประโยชน์ต่อแรงงาน 1 คน 9.60 ตารางเมตร (ร้อยละ 64) คงเหลือ 5.40 ตารางเมตร (ร้อย ละ 36) ในการจัดตั้งอาคารต่าง ๆ ให้อยู่ในตำแหน่งตามหลักการพื้นที่การประกอบกิจกรรมด้วยการ ปฏิบัติทั่ว ๆ ไป การประกอบกิจกรรมส่วนตัวโดยเฉพาะ การประกอบกิจกรรมด้วยความร่วมมือเพื่อ กระทำสิ่งใด ๆ การประกอบกิจกรรมที่ขัดแย้ง การติดต่อซึ่งกันและกัน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | แรงงานต่างด้าว - - การจ้างงาน -- ชลบุรี | th_TH |
dc.subject | แรงงานไทย | th_TH |
dc.subject | แรงงานต่างด้าว - - การจ้างงาน -- ชลบุรี | th_TH |
dc.subject | สาขาสังคมวิทยา | th_TH |
dc.title | การพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการนอกงานของแรงงานไทยและแรงงานข้ามชาติในอุตสาหกรรมก่อสร้างจังหวัดชลบุรี | th_TH |
dc.title.alternative | Developing outside welfare of Thai and transnational labors model in construction industry Chonburi province | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | danai@buu.ac.th | th_TH |
dc.author.email | nantapor@buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2561 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The purpose of this research was to study the housing situation among Thai and transnational labors in the construction industry in Chonburi, and to develop a model for improving this situation. The sanitary and living conditions of temporary residents was evaluated, and the quality of life of construction laborers were assessed in three construction projects in Chonburi Province. Two methods were used: a survey about sanitary living conditions and a questionnaire assessing their quality of life, using a scale adapted from WHOQOL-BREF. The sanitary conditions-survey found that the residential sanitary conditions for the construction labors of the three projects were in the range of 66.00 - 78.76%, which was in the level of ‘fair’ to ‘good’. The quality of life survey found that in terms of physical, mental and social wellbeing, scores ranged from 61.15 to 70.53%, a level which was consistent with the sanitary conditions. Based on the findings, a model for residential welfare for construction laborers residing at or near construction sites was designed, aiming to provide standards for living space suitable for the way of life of construction workers. The standard can be used in construction sites where there are at least 80 laborers in residence. The model suggests that one person must have at least 15 m2 of residential space (100%). After that, allocating as amount of area per person as a follow the residential area should be composed of a bedroom of 3 m2 (20%), a bathroom of 1 m2 (6.67%), a kitchen and/or canteen of 1 m2 (6.67%). In terms of sanitary requirements, there should be an area for garbage collection of 0.10 m2 (0.67 %), an area for solid waste collection of 0.25 m2 (1.67%), and an area for wastewater treatment of 0.50 m2 (3.33%). The average area needed for supporting emergency situations, i.e. an assembly point, should amount to 0.25 m2 (1.67%), a first aid-point 1 m2 (6.67 %), emergency management point of 0.25 m2 (1.67%). In terms of space needed for traffic and transportation, an average space of 0.50 m2 (3.33%) is required, and vehicle parking area should be 0.50 m2 (3.33%). In terms of recreation and welfare, for each construction worker exercise area of 0.25 m2 (1.67%), a food stall/shop area of 1 m2 (6.67 %) should be planned for. In summary, each laborer should use 9.60 m2 (64%) for private use, with the remaining 5.40 m2 (36%) used as communal area. In establishment of building, it was depended on the principle of operative activity, private activity, co-operative activity, contentious activity and communication | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_201.pdf | 4.74 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น