กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4035
ชื่อเรื่อง: การหล่อโลหะผสมสำหรับเครื่องประดับด้วยกระบวนการกึ่งของแข็ง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Alloy casting for jewelry by semi-solid process
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณัฐพล ชมแสง
นุชธนา พูลทอง
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะอัญมณี
คำสำคัญ: โลหะ - - การหล่อ
เหล็กหล่อ
เครื่องประดับ
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
บทคัดย่อ: โลหะผสมเงินสเตอร์ลิง 93.5% โดยน้ำหนัก หล่อด้วยกระบวนการหล่อกึ่งของแข็งแบบร่างเทเพื่อปรับปรุงสมบัติเชิงกล โลหะเงินสเตอร์ลิงหล่อในเตาขดลวดเหนี่ยวน้ำที่อุณหภูมิ 1000 องศาเซลเซียส เทผ่านร่างเท มุมในการเทตั้งแต่ 30-60o ระยะเท 20-25 เซนติเมตร เพื่อศึกษาผลของมุมและระยะเทต่อโครงสร้างจุลภาค ความแข็ง และความต้านทานแรงดึงของโลหะเงินสเตอร์ลิง ตัวอย่างทดสอบด้วยเครื่องวัดความแข็งจุลภาคแบบวิคเกอร์ เครื่องทดสอบแรงดึงอเนกประสงค์ กล้องจุลทรรศน์แสง และ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดที่ติดตังสเปคโตรมิเตอร์การกระจายตัวพลังงานรังสีเอ็กซ์ ความแข็งของตัวอย่างหลังหล่อด้วยกระบวนการกึ่งแข็งมีค่าประมาณ 63-78 HV ตัวอย่างที่มีค่าความแข็งสูงสุด ได้แก่ ตัวอย่างหล่อด้วยมุม 45o ระยะเท 20 เซนติเมตร ค่าต้านทานแรงดึงของตัวอย่างดังกล่าวมีค่าประมาณ 104-198 เมกะปาสคาล ตัวอย่างที่มีค่าความต้านทานสูงสุด ได้แก่ ตัวอย่างหล่อด้วยมุม 450 ระยะเท 25 เซนติเมตร โครงสร้างจุลภาคของตัวอย่างหลังหล่อประกอบด้วยเฟสอัลฟ่าปฐมภูมิ และ โครงสร้างยูเทคติก โดยโครงสราสร้างที่มีลักษณะเป็นทรงกลมและเดนไดรต์ที่สันเกิดขึ้นในตัวอย่างหลังหล่อนี้ ภาพ SEM แสดงให้เห็นเฟสอัลฟำที่มีเงินเป็นองค์ประกอบหลักและโครงสร้างยูเทคติกที่มีปริมาณทองแดงสูงขึ้น
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4035
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_197.pdf4.78 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น