กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4031
ชื่อเรื่อง: | การพิสูจน์เอกลักษณ์พลอยแทนซาไนท์ที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อนโดยเคโมเมทริกซ์และเทคนิคสเปกโทรสโกปีเชิงโมเลกุลเพื่อประโยชน์เชิงพาณิชย์ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Characterizaton of heated tanzanites by chemometrics and molecular spectroscopic techniques for commercial application |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พิมพ์ทอง ทองนพคุณ คเณศ วงษ์ระวี เมธินี จามกระโทก ปริญญา ชินดุษฏีกุล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะอัญมณี |
คำสำคัญ: | อัญมณี สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี |
บทคัดย่อ: | แทนซาไนท์ คือ อัญมณีที่มีชื่อเสียงมากชนิดหนึ่งในการค้าอัญมณี แทนซานท์มีสีน้ำเงินม่วงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว เป็นพลอยชนิดซอยไซท์ ประเภทแคลเซียมอะลูมิเนียมไฮดรอกโซโรซิลิเกตในกลุ่มอิพิโดท เนื่องจากแทนซาไนท์มีสีสวยและหายากในธรรมชาติ ดังนั้นแทนซาไนท์ส่วนใหญ่ที่พบในการค้าอัญมณีจะมาจากการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อนหรือการเผามาจากซอยไซท์เพื่อปรับปรุงสีให้ได้สีน้ำเงินถึงม่วง ณ เวลานี การปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อนในซอยไซท์และแทนซาไนท์ยังไม่สามารถตรวจพบได้ วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี คือการจำแนกซอยไซท์ที่มาจากการเผาให้ได้สีน้ำเงินกับแทนซาไนท์ธรรมชาติด้วยการวิเคราะห์ลักษณะทางสเปกโทรสโกปีและการวิเคราะห์ด้วยเคโมเมทริกซ์ งานวิจัยนี ทำการปรับปรุงคุณภาพสีของแทนซาไนท์ธรรมชาติและซอยไซท์จากแทนซาเนียด้วยการเผาภายใต้สภาวะบรรยากาศที่อุณหภูมิ 400-700 องศาเซลเซียส สีของตัวอย่างซอยไซท์หลังเผาเปลี่ยนจากสีเหลืองอมน้ำตาลเป็นสีม่วงอมน้ำเงินภายใต้การเผาทุกอุณภูมิ การวิเคราะห์ตัวอย่างทั้งก่อนและหลังเผาจะวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือพื้นฐานในการวิเคราะห์อัญมณีและทำการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงสีและความแตกต่างของสีด้วยการวัดสีระบบ CIELAB วิเคราะห์สาเหตุการเปลี่ยนสีและองค์ประกอบทางเคมีด้วยเทคนิคเอกซเรย์ฟลูออเรสเซนส์สเปกโทรสโกปีแบบกระจายพลังงาน ยูวีวิสิเบิลสเปกโทรสโกปี ฟรูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี ฟลูออเรสเซนส์สเปกโทรสโกปี และรามานสเปกโทรสโกปี ผลการเปลี่ยนสีของตัวอย่างและคุณสมบัติของสเปกตรัมเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงคุณภาพสีและการวิเคราะห์ตัวอย่างแทนซาไนท์ที่ผ่านการเผา รามานสเปกตรัมสามารถนำมาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ด้วยเคโมเมทริกซ์ด้วยวิธี PCA ซึ่งให้ข้อมูลที่สัมพันธ์กับองค์ประกอบทางเคมีที่ใช้จำแนกความแตกต่างของซอยไซท์ที่ผ่านการเผาและแทนซาไนท์สีธรรมชาติได้ |
รายละเอียด: | โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4031 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_194.pdf | 6.03 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น