กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4014
ชื่อเรื่อง: ทรัพยากรปลาบริเวณชายฝั่งภาคตะวันออกเพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน (สนองพระราชดาริในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดาริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fish resources on the coastal area of the east of Thailand (Under the Plant Genetic Conservation Project Under the Royal Initiative of Her Highness Princess Maha Chakri)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิภูษิต มัณฑะจิตร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: ปลา -- การอนุรักษ์
ปลาทะเล
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: จากการเก็บตัวอย่างปลาทะเลบริเวณแหล่งทำการประมงและแหล่งค้าขายของจังหวัดชลบุรี ใน ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๖๒ พบปลารวม ๑๓๔ ชนิด จาก ๕๕ วงศ์ ๑๙ อันดับ และ ๒ คลาส โดยเป็นปลากระดูกอ่อน ๓ อันดับ ๑๕ ชนิด ปะกอบด้วยปลาฉลาม ๕ ชนิด ปลาโรนัน ๒ ชนิด ปลากระเบน ๙ ชนิด ปลากระดูกแข็งพบ ๑๖ อันดับ ๑๒๑ ชนิด เมื่อพิจารณาฤดูทำการประมงพบชนิดปลาในฤดูแล้งมากกว่าในฤดูฝน โดยในฤดูแล้งพบปลา ๑๑๐ ชนิด โดยเป็นปลาที่พบเฉพาะในช่วงฤดูแล้ง ๖๖ ชนิด มากกว่าจำนวนชนิดของปลาที่พบเฉพาะในฤดูฝนที่พบปลา ๕๖ ชนิด โดยมีปลา ๔๘ ชนิด ที่พบได้ในทั้งสองฤดูและเมื่อพิจารณาพื้นที่การใช้ประโยชน์ พบว่าแหล่งอนุรักษ์พบปลาที่ถูกจับและจำหน่ายมีความหลากชนิดมากที่สุดเฉลี่ย ๓๗ ชนิด รองลงมาเป็นแหล่งประมง ๓๑ ชนิด แหล่งท่องเที่ยว ๒๘ ชนิด ในขณะที่แหล่งอุตสาหกรรมพบปลาที่ถูกจับและจำหน่ายมีความหลากชนิดน้อยที่สุดคือ ๒๒ ชนิดเมื่อพิจารณาชนิดของปลาโดยเฉพาะที่ถูกนำมาจำหน่าย พบว่าเป็นปลาจากแหล่งอื่นไม่ใช่จากจังหวัดชลบุรี หรือภายในอ่าวไทย แต่ถูกนำมาจากจังหวัดทางฝั่งทะเลอันดามัน เช่น ปลากระเบนนก (Aetobatus narinari) ปลานกแก้ว (Scarus ghobban, Scarus niger และ Scarus viridifucatus) และปลานกขุนทองลายพาดกลอน (Cheilinus fasciatus) นอกจากนี้ยังพบปลาที่มีลักษณะปกติทางกายวิภาค โดยเฉพาะปลากระเบน Maculabatis gerrardi มีการพัฒนาผิดปกติซึ่งไม่ทราบสาเหตุ ในระหว่างเวลาของการศึกษาครั้งนี้ การทำการประมงของประเทศไทยอยู่ในช่วงการใช้มาตราการแก้ปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (IUU) มีผลกระทบต่อชาวประมงในอีกทางหนึ่ง ผลดีต่อทรัพยากรประมงในระยะยาว แต่ก็ประเทศไทยต้องมีการบริหารจัดการประมงที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียด: โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4014
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_173.pdf6.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น