กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4000
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแบบจำลองเภสัชสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจโดยใช้ฐานข้อมูลภาพดิจิตอล 3 มิติ พิสูจน์เอกลักษณ์ของยารูปแบบเม็ดและแคปซูลในประเทศไทย: ยาปฏิชีวนะ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จักริน สุขสวัสดิ์ชน
ชิดชนก เหลือสินทรัพย์
อุรีรัฐ สุขสวัสดิ์ชน
เหมรัศมิ์ วชิรหัตถพงศ์
วรวิทย์ วีระพันธุ์
ณัฏฐิณี ธีรกุลกิตติพงศ์
คำสำคัญ: เภสัชภัณฑ์
ยาปฏิชีวนะ
ยา -- การบรรจุหีบห่อ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โครงการวิจัยพัฒนาแบบจำลองเภสัชสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจโดยใช้ฐานข้อมูลภาพดิจิตอล 3 มิติ พิสูจน์เอกลักษณ์ของยารูปแบบเม็ดและแคปซูลในประเทศไทย: ยาปฏิชีวนะ ภายใต้แผนงานวิจัยนวัตกรรมการบริหารจัดการเทคโนโลยีเภสัชกรรมสารสนเทศด้วยวิธีการพิสูจน์เอกลักษณ์ภาพดิจิตอลทางยาและสมุนไพรสำหรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาอนุภาคนาโนสำหรับบรรจุ ยาและงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านความปลอดภัย จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาเภสัชกรรมสารสนเทศด้านข้อมูลยาปฏิชีวนะในประเทศไทยเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลยาปฏิชีวนะ เพื่อเป็นแหล่งให้ความรู้กับประชาชนและใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจสำหรับเภสัชกร ซึ่งงานวิจัยได้ทำการวิเคราะห็และออกแบบฐานข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูลยาปฏิชีวนะ ทั้งข้อมูลพื้นฐานและภาพถ่ายเม็ดยาและบรรจุภัณฑ์ โดยเลือกใช้วิธีการจัดเก็บแบบฐานข้อมูลไม่สัมพันธ์ (NoSql Database) ซึ่งมีความยืดหยุ่นในการออกแบบ และรองรับการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ในการอนาคต นอกจากนั้นในงานวิจัยมีการพัฒนาขั้นตอนวิธีที่มีประสิทธิภาพในการค้นหาข้อมูลยา โดยใช้คำค้น คำอธิบาย และรายละเอียดของภาพดิจิตอลของยาปฏิชีวนะในประเทศไทยและอนุภาคนาโนสำหรับบรรจุยาจากฐานข้อมูล ผลการ ดำเนินงานการออกแบบฐานข้อมูล พัฒนาออกมาเปaนเว็บแอปพลิเคชันเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทุกที่ ทุกเวลา ซึ่งผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลยาได้จากชื่อยา สี รูปทรง และประเภทของยา และการออกแบบนี้รองรับการใช้ภาพถ่ายของยาจากผู้ใช้เพื่อค้นหาข้อมูลยาได้ ผลการทดลองของขั้นตอน วิธีการค้นหายาด้วยรูปภาพถ่าย ด้วยวิธีการ Mask R-CNN ร่วมกับ วิธีการ K-Mean พบว่าทั้งสองวิธีมีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์รูปร่างและสีของเม็ดยา โดยมีความถูกต้องมากกว่าร้อยละ 95 แต่อย่างไรก็ตามยังในงานวิจัยนี้ยังมีข้อจำกัดในเรื่องแสงของการถ่ายภาพจากผู้ใช้ด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้ประสิทธิภาพในการตรวจจับสีและรูปร่างลดลงไป จากผลการทดลองดังกล่าวข้างต้นคณะผู้วิจัยได้นำมาพัฒนาแอปพลิเคชันที่ใช้ในการค้นหายาในฐานข้อมูลที่จัดเก็บจากภาพถ่าย ซึ่งประกอบด้วย เว็บแอปพลิเคชัน (www.clinicya.buu.ac.th) และต้นแบบของโมบายแอปพลิเคชันทั้งระบบปฏิบัติการแอนดรอยและไอโอเอสซึ่งสามารถต่อยอดในการใช้งานจริงได้ในอนาคตต่อไป
รายละเอียด: ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/4000
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_147.pdf17.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น