กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3995
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorธนิดา จุลวนิชย์พงษ์
dc.contributor.authorกาญจนา พิบูลย์
dc.contributor.authorวิชัย จุลวนิชย์พงษ์
dc.contributor.authorพวงทอง อินใจ
dc.contributor.authorทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
dc.date.accessioned2020-12-29T06:21:25Z
dc.date.available2020-12-29T06:21:25Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3995
dc.descriptionงานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ (เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562th_TH
dc.description.abstractบุคลากรทางการศึกษา เป็นทีมหลักในการหล่อหลอมวิชาการ ความรู้ และทักษะชีวิต ให้แก่นักเรียน ซึ่งการทำหน้าที่เหล่านี้ได้ดีย่อมขึ้นกับความเข้มแข็งทางจิตใจ อารมณ์ และจิตวิญญาณ ตลอดจนการมีคุณภาพชีวิตที่ดี การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทางจิต อารมณ์ และจิตวิญญาณ ของบุคลากรทางการศึกษาภาครัฐในเขตภาคตะวันออกที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ 2) สร้างโปรแกรมปัจจัยทางจิต อารมณ์ และจิตวิญญาณ เพื่อสร้างเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ของบุคลากรทางการศึกษาจากข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากสภาพการณ์จริงของบุคลากรทางการศึกษา ภาคตะวันออก และ 3) สร้างเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของบุคลากรทางการศึกษาด้วยโปรแกรมปัจจัยทางจิต อารมณ์ และจิตวิญญาณ โดยมีวิธีดำเนินการวิจัยเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การสำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์ สถานการณ์คุณภาพชีวิต และศึกษาปัจจัยทางจิต อารมณ์ และจิตวิญญาณ ของบุคลากรทางการศึกษาภาครัฐในเขตภาคตะวันออก ระยะที่ 2 เป็นการศึกษาผลของโปรแกรมจิต อารมณ์ และจิตวิญญาณต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของบุคลากรทางการศึกษาภาครัฐในเขตภาคตะวันออก มีรายละเอียดดังนี้ ระยะที่ 1 การสำรวจ รวบรวม และวิเคราะห์ สถานการณ์คุณภาพชีวิต และศึกษาปัจจัยทางจิต อารมณ์ และจิตวิญญาณ ของบุคลากรทางการศึกษาภาครัฐในเขตภาคตะวันออก การวิจัยเชิงสำรวจนี้ เพื่อศึกษาปัจจัยทางจิต อารมณ์ จิตวิญญาณ และคุณภาพชีวิตของบุคลากรทางการศึกษาภาครัฐในเขตภาคตะวันออก รวม 7 จังหวัด กลุ่มตัวอย่างเป็นครูและผู้บริหารโรงเรียน สังกัดโรงเรียนภาครัฐในภาคตะวันออก คำนวณทางสถิติและป้องกันการถอนตัวอีกร้อยละ 5 รวมได้จำนวน 388 คน จากจำนวนทั้งหมด 412,018 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ และแบบวัดมาตรฐาน ได้แก่ แบบวัดความสุขของคนไทย (THI 15) แบบสอบถามสุขภาพทั่วไป (Thai GHQ 28) แบบสอบถามความผาสุกทางจิตวิญญาณ (The Spiritual Well Being Scale : SWBS) และแบบวัดคุณภาพชีวิต (WHOQOL BREF) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ และการถดถอยสหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิงร้อยละ 70.6 มีอายุเฉลี่ย 38 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 57.7 ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานเฉลี่ย 12.09 ปี มีภาระงานสอนเฉลี่ย 17.81 ชม./สัปดาห์ ไม่มีโรคประจำตัว ไม่สูบบุหรี่ และไม่ดื่มแอลกอฮอล์ คิดเป็นร้อยละ 74.20, 92.8, 81.44 ตามลำดับ ออกกำลังกายเดือนละ 1 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 35.86 ใช้การเดินออกกำลังกาย คิดเป็นร้อยละ 58 ช่วงเวลาที่นิยมออกกำลังกาย คือ ช่วง 16.00 18.00 น. คิดเป็นร้อยละ 46.9 และต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการออกกำลังกาย คิดเป็นร้อยละ 28.35 2) ด้านคุณภาพชีวิต กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในเกณฑ์ คุณภาพชีวิตดี (𝑥̅ 97.71) (เกณฑ์ WHOQOL คุณภาพชีวิตดี 96 130 คะแนน) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย และด้านจิตใจ อยู่ในเกณฑ์คุณภาพชีวิตดี (𝑥̅ 27.06 (เกณฑ์ WHOQOL ด้านร่างกาย 27 35 คะแนน), 23.49 (เกณฑ์ WHOQOL ด้านจิตใจ 23 30 คะแนน) ตามลำดับ) คุณภาพชีวิตด้านความสัมพันธ์ทางสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านคุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวม อยู่ในเกณฑ์คุณภาพชีวิตกลาง (𝑥̅ 11.23 (เกณฑ์ WHOQOL ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม 8 11 คะแนน), 28.59 (เกณฑ์ WHOQOL ด้านสิ่งแวดล้อม 19 29 คะแนน), 7 (เกณฑ์ WHOQOL ด้านคุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวม 4.67 7.35 คะแนน) ตามลาดับ) มีคะแนนความสุขอยู่ในเกณฑ์เท่ากับคนทั่วไป (𝑥̅ 31.91 (จากคะแนน 33 45 คะแนน)) สุขภาพทั่วไปไม่มีปัญหาสุขภาพจิต (𝑥̅ 2.98 (จากคะแนน 0 5 คะแนน) ความผาสุกทางจิตวิญญาณอยู่ในระดับสูง (𝑥̅ 57.87 (จากคะแนนระดับความผาสุกทางจิตวิญญาณรวมระดับสูง 51.34 70.00 คะแนน) 3) ตัวแปรความสุขของคนไทย และตัวแปรระยะเวลาที่เป็นครู มีความสัมพันธ์ต่อตัวแปรคุณภาพชีวิต อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้สมการทำนายดังนี้ 43.779 + (1.632 x ความสุขของคนไทย) + (0.154 x ระยะเวลาที่เป็นครู) = คุณภาพชีวิต 4) ความสัมพันธ์ของปัจจัยสถานภาพสมรสต่อคุณภาพชีวิต พบว่า กลุ่มสถานภาพสมรสมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตดีมากกว่ากลุ่มโสด หม้าย หย่า แยก 2.03 เท่า อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p value .008) 5) ความสัมพันธ์ของปัจจัยรายได้ต่อปัจจัยคุณภาพชีวิต พบว่ากลุ่มรายได้พอใช้เหลือทำทุนสร้างรายได้และกลุ่มรายได้พอใช้เหลือเก็บใช้ฉุกเฉินมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตดี มากกว่ากลุ่มรายได้ไม่พอใช้ 7.68 เท่า และ 4.30 เท่า ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p .000 และ p .001 ตามลาดับ) 6) ความสัมพันธ์ของปัจจัยโรคประจำตัวต่อคุณภาพชีวิต พบว่ากลุ่มไม่มีโรคประจำตัว มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตดี มากกว่ากลุ่มมีโรคประจำตัว 2.63 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p .000) ระยะที่ 2 ศึกษาผลของโปรแกรมจิต อารมณ์ และจิตวิญญาณต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของบุคลากรทางการศึกษาภาครัฐในเขตภาคตะวันออกที่สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง ใช้แบบแผนการวิจัย one group pretest posttest designs (Heiman, 1995) มีกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม โดยการสร้างและพัฒนาโปรแกรมจิต อารมณ์ และจิตวิญญาณจากการมีส่วนร่วม กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนพนัสพิทยาคาร จังหวัดชลบุรี จำนวน 55 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ แบบวัดคุณภาพชีวิต แบบวัดความสุขของคนไทย แบบสอบถามสุขภาพทั่วไป แบบสอบถามความผาสุกทางจิตวิญญาณ ปรอทวัดอุณหภูมิปลายนิ้ว และโปรแกรมพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านจิตใจ อารมณ์ และจิตวิญญาณ (mind, emotional, and spiritual program: MESP) ประกอบด้วย การทำกิจกรรมกลุ่ม 4 ครั้ง ประกอบด้วยการวางเป้าหมายชีวิต การมีเพื่อนร่วมทีม การ่วมสร้างข้อตกลงสัญญา และการฝึกเกร็งคลายกล้ามเนื้อ ร่วมกับการฝึกโยคะ 11 ครั้ง ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ดำเนินการสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ดำเนินการทั้งสิ้น 15 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย paired sample t test ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยของคุณภาพชีวิตโดยรวม, คุณภาพชีวิตทางกาย, คุณภาพชีวิตและสุขภาพ, คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม, คุณภาพชีวิตด้านจิต, ความสุขของคนไทย และอุณหภูมิ แตกตางกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ส่วนค่าเฉลี่ยของคุณภาพชีวิตด้านสังคม ความผาสุกทางจิตวิญญาณโดยรวม ความผาสุกปัจจุบัน ความผาสุกทางศาสนา และภาวะสุขภาพทั่วไป ไม่แตกต่างกัน โดยสรุป แม้ในภาพรวมครูจะมีคะแนนความสุข ความผาสุกทางจิตวิญญาณ และคุณภาพชีวิต อยู่ในระดับดี แต่มีการออกกำลังกายนาน ๆ ครั้ง และต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองด้วยการปรับการออกกำลังกาย ดังนั้นในทางนโยบายของสถานศึกษา ควรปรับตารางงานเอื้อให้ครูได้มีโอกาสปฏิบัติตามที่ต้องการ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตทางสังคมและสิ่งแวดล้อม และสุขภาพให้ได้มากยิ่งขึ้น นอกจากนั้นการใช้โปรแกรมพัฒนาคุณภาพชีวิตทางด้านจิตใจ อารมณ์ และจิตวิญญาณเป็นวิธีการหนึ่งที่ให้ผลดีในการยกระดับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของบุคลากรทางการศึกษาสังกัดภาครัฐในเขตภาคตะวันออก ซึ่งในการศึกษาต่อไปน่าจะนำไปใช้ขยายผลในกลุ่มบุคลากรทางการศึกษาในภูมิภาคอื่น ๆ ของไทย"th_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectคุณภาพชีวิตth_TH
dc.subjectบุคลากรทางการศึกษาth_TH
dc.subjectการส่งเสริมสุขภาพth_TH
dc.subjectสาขาสังคมวิทยาth_TH
dc.titleการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของบุคลากรทางการศึกษา ด้วยโปรแกรมทางจิตใจ อารมณ์ และจิตวิญญาณth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailtanida@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailkanchanap@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailyingrata@yahoo.comth_TH
dc.author.emailpuangtong@buu.ac.thth_TH
dc.year2563th_TH
dc.description.abstractalternativeEducational Personnel was a core team to educate and prepare the student life's skills, which their effectiveness depends on mentality, emotion, spirituality, and quality of life factors to achieve up to the standard performance. This study aimed 1) to study mentality, emotion, spirituality and quality of life factors. 2) to develop the Mentality Emotionality and Spirituality (MES) program for the quality of life enhancement, and 3) to apply and evaluate the MES program for the government's educational personnel in the eastern region. The mixed methodology research divided into two phases including firstly, the analytic descriptive survey compose of quality of life (QOL), happiness, general health, and spiritual factors. Secondly, to develop the MES program, subsequently, to apply and evaluate the MES program by using the quasi-experimental one group pretest -posttest designs. The research detail as follows: Phase I. Sample group were 388 government's educational personnel. The sample group was determined by the multi–stage random sampling. Researching tools consisted of demographic data form, Thai happiness indicator (THI-15), Thai general health questionnaire (Thai GHQ – 28), spiritual well being items (The Spiritual Well-Being Scale: SWBS), and quality of life scale (WHOQOL-BREF). Analyzing process used descriptive statistics, which were mean, standard deviation, percentage and regression. The research showed: 1.) Sample group were 70.6 percent female. Average Age was 38 years old. Educational level was a bachelor degree. Average work experience was 12.09 years. Teaching workload was 17.81 hours per week. They mostly have no congenital disease, no smoking habit, and no alcoholic drinking habit was 74.20%, 92.8%, 81.44% consecutively. The exercise activity was once a month (35.3%). Walking was their preferred exercise (58%). The group were most likely to exercise at 16.00 18.00 o'clock (46.9%). Lastly, 28.35% of the group wanted to change their exercise behavior. 2.) Quality of life factors, as a whole, sample group showed that the results of overall quality of life (𝑥̅ 97.71) scale were at a high level. When considering each aspect, physically and mentally quality of life were at a good level (𝑥̅ 27.06, 23.49 consecutively). Socially and environmentally quality of life and general health were at a fair level of standard (𝑥̅ 11.23, 28.59, 7 consecutively). Happiness scale equally to general people at a normal level (𝑥̅ 31.91). General Health was at a good level. Mental health (𝑥̅ 2.98) and spiritual well being (𝑥̅ 57.87) were at a high level. 3.) THI-15 factor, found that the work experience factor was statistic significantly related to the QOL at the .01 level as an equation shown: 43.779 + (1.632 x THI-15) + (0.154 x the work experience (years)) = QOL 4. The relationship between the marital status factors to quality of life were found that the marital status group to be significantly associated with a better quality of life 2.03 times than that of divorced single widows at the .01 level (p-value .008). 5. The Income factors related to the QOL factors found that the income group, who has the remaining income enough to the capital, and the income group, who has the residual to the emergency use were related to the quality of life. They were significantly greater than the inadequate income group 7.68 and 4.30 times respectively at the .01 level (p .000 and p .001, respectively). 6. The health factors related to the QOL factors found that the group did not have any underlying disease associated with good quality of life 2.63 times more than the group had the chronic underlying disease, statistically significant at the .01 (p .000) level. Phase II. To develop the MES program, subsequently, to apply and evaluate the MES program by used the quasi-experimental one group pretest-posttest designs. The inclusion criteria were the school capacity more than 1,000 students; the number of the teacher has over 100 sizes, and voluntary to participate in the research project. Samples were 55 from a public school in Chonburi Province. The research instruments included demographic data form, finger thermometer, THI-15, Thai GHQ – 28, SWBS, and quality of life scale (WHOQOL-BREF). And the MES program composed of 15 sessions divided into the 4 sessions of the group counselling program and 11 Yoga program, practised twice session per week, totally 8 weeks. The pretest made a week before start the MES program, subsequently, the posttest made after the last session. Thereafter, the paired sample t-test statistic was analyzed. The result revealed that: 1. The average score of the overall QOL score, and the QOL dimension of the physical, the quality of life and health, the environment, the mental, THI-15, and the finger temperatures were significantly differenced statistically at the .05 level. 2. The social quality of life average score, the overall of SWBS average score, the SWBS in Religious well-being and the present well-being, and general health conditions were no different. According to the results, as most of educational personnel were at a good level by happiness scale, spiritual well being scale, and quality of life scale. However, exercise behavior and frequency will need to be adjusted up to a recommended protocol. Therefore, the school's policy should allow educational personnel to have more chance to exercise, as they request in order to promote their social and environmental quality of life and general health. Moreover, the MES program was one of the effective ways to improve the Quality of Life and mental health for the government's educational personnel in the eastern region. Therefore, the next study should be generalized to the other region in Thai context.th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_165.pdf3.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น