กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3984
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorบุญรัตน์ ประทุมชาติ-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2020-12-16T03:19:40Z-
dc.date.available2020-12-16T03:19:40Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3984-
dc.description.abstractการลำเลียงลูกกุ้งระยะโพสลาวา 3 ชนิด ได้แก่ กุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) กุ้งกุลาดำ (Penaeus monodon) และกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) ในถุงพลาสติกที่ความหนาแน่น 4 ระดับ (750, 1,000, 1,500 และ 2,000 ตัว/ลิตร) ร่วมกับการใช้อุณหภูมิ 2 ระดับ ได้แก่ 29.2±0.3 °C และ 22.5 ±0.2 °C โดยแบ่งการทดลองเป็น 8 การทดลองต่อชนิดลูกกุ้งตามแผนการทดลองแบบ Factorial design ทำการทดลองละ 3 ซ้ำ ใช้ลูกกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำระยะโพสลาวา 15 ลูกกุ้งก้ามกรามระยะคว่ำ 1-2 วัน (อายุ 25 วัน) การลำเลียงใส่น้ำ 2 ลิตร/ถุง โดยใช้น้ำทะเลความเค็ม 15 ppt สำหรับลูกกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำ และใช้น้ำจืดสำหรับกุ้งก้ามกราม เติมอากาศด้วยปริมาตรของอากาศ 2 เท่าของปริมาตรน้ำในขั้นตอนต่อไปก่อนนำมาใส่กล่องโฟม กล่องโฟมที่ควบคุมอุณหภูมิ 22.5 ±0.2 °C ใช้น้ำแข็ง 500-600 กรัม/กล่อง ทดสอบการลำเลียงเป็นเวลา 10 ชั่วโมง ตรวจสอบอุณหภูมิความเค็ม ออกซิเจนที่ละลายน้ำ (DO), pH, แอมโมเนีย (NH3 ), ไนไตรท์ (NO2 -), อัลคาไลนิตี้ (Alkalinity) และอัตรารอดลูกกุ้งเมื่อเริ่มต้นและที่สิ้นสุดของการลำเลียง จากการทดลองพบว่าทั้งอุณหภูมิและความหนาแน่นลูกกุ้งมีผลกระทบต่ออัตรารอดภายหลังการลำลียงลูกกุ้ง (p<0.05) ทั้ง 3 ชนิด กล่าวคือการลำเลียงที่อุณหภูมิ 22.5±0.2 °C มีอัตรารอดสูงกว่าที่ 29.2±0.3 °C (p<0.05) และเมื่อเพิ่มระดับความหนาแน่นในการลำเลียงเพิ่มสูงขึ้นมีผลทำให้ต่ออัตรารอดลดลง (p<0.05) เมื่อเปรียบเทียบที่ระดับความหนาแน่นที่สูงของการล าเลียงลูกกุ้งแต่ละชนิด พบอัตรารอดสูงกว่า (p<0.05) ที่ 22.5±0.2 °C ทั้ง 2 ปัจจัยยังมีผลต่อคุณภาพน้ำ กล่าวคือ pH และ DO มีค่าการลดลง (p<0.05) เมื่อเพิ่มระดับความหนาแน่นในการลำเลียง และมีค่าลดมากขึ้นเมื่อลำเลียงที่อุณหภูมิ 29.2±0.3°C ขณะที่เมื่อลำเลียงที่อุณหภูมิ 29.2±0.3°C พบแอมโมเนียและไนไตรท์สูงกว่า (p<0.05) โดยระดับความหนาแน่นที่สูงขึ้นส่งผลให้ทั้งความเข้มข้นของแอมโมเนียและไนไตรท์สูงขึ้น (p<0.05) แต่ไม่มีผลกระทบต่ออัล คาไลนิตี้ อุณหภูมิ และความเค็ม จากผลการทดลองชี้ชัดได้ว่าการลำเลียงลูกกุ้งทั้ง 3 ชนิด นาน 10 ชั่วโมงนั้น สามารถลำเลียงได้สูงสุดที่ระดับ 1,000 ตัวต่อลิตร เมื่อใช้อุณหภูมิน้ำ 22.5±0.2 °C และสามารถลำเลียงได้สูงสุดไม่เกิน 750 ตัวต่อลิตร เมื่อลำเลียงที่อุณหภูมิ 29.2±0.3 °C อย่างไรก็ตามหากลำเลียงในช่วงเวลาที่สั้นกว่า 10 ชั่วโมง สามารถลำเลียงลูกกุ้งได้หนาแน่นขึ้นได้ กล่าวคือ การลำเลียงลูกกุ้งทั้ง 3 ชนิด สามารถล าเลียงได้ถึง 2,000 ตัวต่อลิตร ที่ 22.5±0.2°C และ 1,000-1,500 ตัวต่อลิตร ที่อุณหภูมิ 29.2±0.3°C ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระยะเวลาลำเลียงth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectกุ้งขาว - - การเลี้ยงth_TH
dc.subjectกุ้งก้ามกรามth_TH
dc.subjectกุ้งขาว - - การเจริญเติบโตth_TH
dc.titleผลของอุณหภูมิและความหนาแน่นของการลําเลียงลูกกุ้งขาว (Litopenaeus vannamei) ลูกกุ้งกุลาดํา (Penaeus monodon) และกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) ระยะโพสลาวา ต่อการรอดตาย ความแข็งแรงและการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำที่ใช้ลําเลียงบางประการth_TH
dc.title.alternativeEffects of temperature and density for transportation the post larva of Litopenaeus vanname, Penaeus monodon and Macrobrachium rosenbergii on survival rate and changeable some properties of transported mediumth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailboonyara@ buu.ac.thth_TH
dc.year2561th_TH
dc.description.abstractalternativeTransportation of the three post larva species of Litopenaeus vannamei, Penaeus monodon and Macrobrachium rosenbergii in transparency plastic bag at four densities (750, 1,000, 1,500 and 2,000 ind/L) and combining with 2 levels of temperature (29.2±0.3 °C and 22.5 ±0.2 °C) which was divided in to eight treatments in each species followed as completely randomized design (CRD). The three replications were used. Post larva-15 was used for L. vannamei and P. monodon and post larva 1-2 (25 day-old of larval stage) for M. rosenbergii. The two liters of medium at 15 ppt was applied for L. vannamei and P. monodon while the freshwater was applied for M. rosenbergii in each plastic bag. The oxygen was added up to a double of medium volume in the next step then laid each bag in Styrofoam box. Styrofoam with 22.5 ±0.2 °C inside was using ice at 500-600g. Duration for transportation test was 10 hours. Water qualities Temperature, salinity, dissolved oxygen (DO), pH, total ammonia (NH3 ), total nitrite (NO2-), alkalinity and survival rate were examined at start and final of transportation. From the experiment found that both temperature and larval density affected on survival rate after transportation. The survival rate of transported larva at 22.5±0.2 °C was higher (p<0.05) than those of at 29.2±0.3 °C. Survival rate was decreased (p<0.05) while was increasing of larval density. Survival rate of transportation in each species at 22.5±0.2 °C was higher (p<0.05) those of at 29.2±0.3 °C when comparing at high larval density. Both factors were also affected to water quality, pH and DO were decreased (p<0.05) if density larval increased and their values were significantly (p<0.05) decreased if transportation at 29.2±0.3°C. Transportation at 29.2±0.3°C found higher (p<0.05) concentrations ammonia and nitrite and their values also increased (p<0.05) when increasing the density of larva. But both factors were not affected to alkalinity, temperature and salinity. The results indicates that larval transportation for 10 hours among the three species can use 1,000 ind/L at 22.5±0.2 °C and less than 750 ind/L at 29.2±0.3 °C. However the higher density can apply if period of transportation is less than 10 hours. Transportation of the three larval species can be applicable to 2,000 ind/L at 22.5±0.2 °C and 1,000-1,500 ind/L at 29.2±0.3 °C depending on transportation periodth_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2562_027.pdf686.69 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น