กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3978
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย-
dc.contributor.authorสุบัณฑิต นิ่มรัตน์-
dc.date.accessioned2020-10-26T02:00:40Z-
dc.date.available2020-10-26T02:00:40Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3978-
dc.description.abstractงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาเทคนิคการเก็บรักษาน้ำเชื้อหอยเป๋าฮื้อ (Haliotis asinina) เพื่อการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์ ได้ศึกษาการเคลื่อนที่ของสเปิร์มหอยเป๋าฮื้อในสภาพต่าง ๆ และการเก็บรักษาน้ำเชื้อหอยเป๋าฮื้อที่อุณหภูมิต่ำโดยไม่เจือจาง และเจือจางในสารละลายบัฟเฟอร์ รวมทั้งประเมินผลของสารไครโอโพรเทคแทนท์ต่อการเคลื่อนที่ของสเปิร์ม ผลของอัตราการลดอุณหภูมิและการเก็บรักษาต่อการเคลื่อนที่ของสเปิร์มหลังการแช่แข็ง ผลของประสิทธิภาพน้ำเชื้อในการปฏิสนธิไข่ ผลการศึกษาพบว่าน้ำเชื้อหอยเป๋าฮื้อที่รวบรวมออกมาใหม่ ๆ สามารถเก็บแช่เย็นนาน 4 ชั่วโมง และยังคงมีการเคลื่อนที่ของสเปิร์มสูง แต่น้ำเชื้อหอยเป๋าฮื้อที่อยู่ในน้ำทะเลมีการเลื่อนที่ของสเปิร์มสูงในระยะ 2 ชั่วโมงแรกเท่านั้น การให้ออกซิเจนสมทบในการแช่เย็นน้ำเชื้อหอยเป๋าฮื้อ ช่วยยืดระยะเวลาเก็บรักษาน้ำเชื้อได้นานกว่าไม่ใช้ออกซิเจนสมทบ โดย culture flask มีความเหมาะสมในการแช่เย็นน้ำเชื้อหอยเป๋าฮื้อที่ การนำน้ำเชื้อหอยเป๋าฮื้อมาเจือจางในสารละลายต่าง ๆ พบว่า การเคลื่อนที่ของสเปิร์มหอยเป๋าฮื้อ ถูกควบคุมโดยแรงดันออสโมติกที่มีค่าสูงขึ้นเมื่อใช้สาร electrolyte และ non-electrolyte ในการกระตุ้นการเคลื่อนที่ของสเปิร์ม การเจือจางน้ำเชื้อหอยเป๋าฮื้อในสารละลายบัฟเฟอร์สูตรต่าง ๆ (artificial seawater, Ringer solution และ calcium free saline; Ca-F saline) ในอัตราส่วน 1:1, 1:2 และ 1:4 พบว่า Ca-F saline เป็นสารละลายบัฟเฟอร์ที่เหมาะสมในการแช่เย็นน้ำเชื้อหอยเป๋าฮื้อ โดยไม่ควรเจือจางเกินอัตราส่วน 1 : 2 เพราะสามารถเก็บรักษาน้ำเชื้อได้นานกว่าชุดการทดลองอื่น ๆ การศึกษาความเป็นพิษของสารไครโอโพรเทคแทนท์ต่อการเคลื่อนที่ของสเปิร์ม ทำโดยนำน้ำเชื้อของหอยเป๋าฮื้อมาเจือจางในสารละลายไครโอโพรเทคแทนท์ 6 ชนิด (dimethyl sulfoxide; DMSO, propylene glycol, acetamide, methanol, ethanol และ ethylene glycol) ที่ระดับความเข้มข้น 5%, 10%, 15% และ 20% ที่ระยะเวลาต่าง ๆ กัน ตั้งแต่ 15-240 วินาที พบว่า DMSO, methanol และ ethylene glycol เป็นสารไครโอโพรเทคแทนท์ที่มีความเป็นพิษต่ำต่อน้ำเชื้อหอยเป๋าฮื้อ การพัฒนาวิธีการแช่แข็งน้ำเชื้อหอยเป๋าฮื้อ โดยนำเอาน้ำเชื้อเจือจางด้วย DMSO ที่ความเข้มข้น 5, 10, 15 และ 20% และลดอุณหภูมิด้วยเครื่องมือลดอุณหภูมิอัตโนมัติในอัตรา 2.5, 5, 7.5, 10 และ 12.5 องศาเซลเซียส/ นาทีไปจนถึงอุณหภูมิสุดท้าย -40 หรือ -80 องศาเซลเซียส ก่อนนำไปเก็บรักษาในถังไนโตรเจนเหลว พบว่า การแช่แข็งน้ำเชื้อหอยเป๋าฮื้อด้วยการใช้ 5 %DMSO และใช้อัตราการลดอุณหภูมิ 10 องศาเซลเซียส/ นาที มาที่อุณหภูมิ -80 องศาเซลเซียส มีเปอร์เซ็นต์การเคลื่อนที่ของสเปิร์มหลังการละลายสูงสุด ในขณะที่การแช่แข็งน้ำเชื้อหอยเป๋าฮื้อด้วยไอไนโตรเจนเหลว สามารถทำได้โดยการแช่แข็งน้ำเชื้อที่ความสูงเหนือผิวหน้าไนโตรเจนเหลว 4 เซ็นติเมตร เป็นเวลา 10 นาที การเก็บรักษาน้ำเชื้อหอยเป๋าฮื้อแช่แข็งในถังไนโตรเจนเหลวนาน 180 วัน ไม่มีผลต่อคุณภาพน้ำเชื้อหลังการละลายแม้ว่าการเคลื่อนที่ของสเปิร์มหลังการละลายมีค่าลดลงเล็กน้อย น้ำเชื้อหอยเป๋าฮื้อแช่แข็งสามารถปฏิสนธิไข่หอยเป๋าฮื้อได้ไม่แตกต่างจากน้ำเชื้อสด แต่น้ำเชื้อหอยเป๋าฮื้อแช่เย็นสามารถปฏิสนธิไข่หอยเป๋าฮื้อ ได้มีประสิทธิภาพต่ำกว่าน้ำเชื้อสดth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectหอยเป๋าฮื้อ - - น้ำเชื้อth_TH
dc.subjectหอยเป๋าฮื้อ - - น้ำเชื้อ - - การเก็บและรักษาth_TH
dc.subjectสาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยาth_TH
dc.titleการพัฒนาเทคนิคการเก็บรักษาน้ำเชื้อหอยเป๋าฮื้อ (Haliotis asinina) เพื่อการเพาะเลี้ยงเชิงพาณิชย์th_TH
dc.title.alternativeDevelopment of sperm preservation technology of abalone (Haliotis asinina) for commercial aquacultureth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailverapong@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailsubunti@buu.ac.thth_TH
dc.year2559th_TH
dc.description.abstractalternativeDevelopment of sperm preservation technology of abalone (Haliotis asinina) for commercial aquaculture was investigated. The purpose of the project was to evaluate sperm motility of H. asinina under various conditions and assess successful storage time of H. asinina sperm stored under non-diluted and diluted conditions, determine the effects of cryoprotectants on sperm motility and assess the effects of freezing rate and cryostorage on post-thawed sperm motility and fertilization capacity of cryopreserved and chilled-stored sperm. Freshly collected sperm can be chilled-stored for 4 hrs with high motility while diluted sperm in seawater had high motility only during the first two hrs of dilution. Supplementation of oxygen prolonged sperm motility as compared to the non-supplemented treatments. Tissue culture flask was suitable to chilled-stored H. asinina sperm. Activation of H. asinina sperm with various solutions showed that sperm motility was regulated by high osmolality from both electrolyte and non-electrolyte solutions. Chilled storage of H. asinina sperm with artificial seawater, Ringer solution and calcium free saline (Ca-F saline) at ratios of 1:1, 1:2 และ 1:4 showed the suitability of Ca-F saline in storage of H. asinina sperm at ratios less than 1 : 2. Study on cryoprotectant toxicity on sperm motility was performed by diluting semen in one of six cryoprotectants (dimethyl sulfoxide; DMSO, propylene glycol, acetamide, methanol, ethanol and ethylene glycol) at concentration levels of 5, 10, 15 and 20% for 15-240 seconds. DMSO, methanol and ethylene glycol were the least toxic cryoprotectants. Freezing of semen was performed by diluting semen in DMSO at 5, 10, 15 and 20% prior to cooling with the controlled-rated programmable freezer at cooling rates of 2.5, 5, 7.5, 10 and 12 C/min to final temperatures of -40 or -80C prior to cryostorage. Highest post-thawed sperm motility was obtained from a treatment using 5% DMSO and 10 C/min to -80 C. Freezing of semen in liquid nitrogen vapor was achieved by exposing semen at 4 cm above liquid nitrogen surface for 10 min. Cryostorage of H. asinina semen in liquid nitrogen tank for 180 days did not affect sperm quality despite a slight decline of post-thawed sperm motility. Cryopreserved semen of H. asinina was able to fertilize H. asinina eggs similar to fresh sperm but chilled-stored semen had a significantly lower fertilization capacity than fresh sperm.th_TH
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2560_058.pdf1.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น