กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/397
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการให้บริการการคลอดธรรมชาติโดยยึดครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ณ โรงพยาบาลระยอง |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ตติรัตน์ สุวรรณสุจริต สุคนธา ผาสุข นิภาวรรณ์ รัมภารัตน์ ปิยฉัตร ปธานราษฎร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | การคลอด การคลอดธรรมชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการให้บริการการคลอดธรรมชาติ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของสูติแพทย์ พยาบาล หญิงตั้งครรภ์ และครอบครัว กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงตั้งครรภ์และครอบึครัวที่รับบริการฝากครรภ์ โรงพยาบาลระยอง โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 27 คู่ (ดำเนินการสอนตามโครงการครั้งที่ 1 จำนวน 5 คู่ ครั้งที่ 2 จำนวน 2คู่ และครั้งที่ 3 จำนวน 20 คู่ โดยปรับปรุง แผนการการดำเนินงานในแต่ละครั้ง) และกลุ่มควบคุมจำนวน 30 คู่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการให้คำแนะนำ คู่มือการเตรียมหญิงตั้งครรภ์เพื่อการคลอดธรรมชาติ คู่มือการให้บริการการคลอดธรรมชาติ และแบบประเมินผลการใวห้บริการการคลอด ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการรับรู้ประสบการณ์การคลอด แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการให้บริการการคลอด แบบสอบถามความต้องการมีส่วนร่วมในการคลอดของครอบครัว และแบบสอบถามความคิดเห็นต่อการให้บลริการการคลอดของพยาบาล เท่ากับ.75 , .96, .86 และ .70 ตามลำดับ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าที ผลการประเมินการให้บริการตามรูปแบบการคลอดธรรมชาติมีดังนี้ 1. คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความเจ็บปวดของผู้คลอดที่ได้รับการดูแลตามรูปแบบให้บริการการคลอดธรรมชาติกับผู้คลอดที่ได้รับการดูแลตามปกติ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม 2. คะแนนเฉลี่ยการรับรู้ประสบการณ์การคลอดของผู้คลอดที่ได้รับการดูแลตามรูปแบบให้บริการการคลอดธรรมชาติกับผู้คลอดที่ได้รับการดูแลตามปกติ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุม 3. คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจของผู้คลอดต่อรูปแบบให้บริการการคลอดธรรมชาติกับผู้คลอดที่ได้รับการดูแลตามปกติ ไม่มสีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุม 4. คะแนนเฉลี่ยะความต้องการมีส่วนร่วมในการคลอดของรอบครัวที่ได้รับการดูแลตามป กติอยู่ในระดับมาก 6. คะแนนเฉลี่ยความคิดเห็นต่อการให้บริการการคลอดของพยาบาลที่ดูแลตามรูปแบบให้บริการการคลอดธรรมชาติอยู่ในระดับปานกลาง และดูแลตามปกติอยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนพัฒนาการดูแลในระยะคลอดที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อไป |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/397 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น