กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3951
ชื่อเรื่อง: การเฝ้าระวังและบ่งชี้สาเหตุการเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี (Red tide) บริเวณชายหาดบางแสน-วอนนภา ชลบุรี
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ถนอมศักดิ์ บุญภักดี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์
คำสำคัญ: น้ำทะเลเปลี่ยนสี
น้ำทะเลเปลี่ยนสี -- สาเหตุ
แพลงตอนพืช
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: จากการศึกษาแพลงก์ตอนพืชบริเวณชายหาดวอนนภาและแหลมแท่น จังหวัดชลบุรี ในช่วงเดือนกันยายน 2560 – สิงหาคม 2561 พบแพลงตอนพืชทั้งหมด 25 สกุล โดยมีสกุลที่พบบ่อยได้แก่ Chaetoceros spp. Coscinodiscus spp. Protoperidinium sp. และ Ceratium furca โดยมีค่าดัชนีความหลากหลายของชนิด และค่าดัชนีความสม่ำเสมอของแพลงก์ตอนพืชบริเวณหาดวอนนภา มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.71 และ 0.33 ส่วนบริเวณแหลมแท่นมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.89 และ 0.40 ตามลำดับ ตลอดระยะเวลาทำการวิจัยพบ ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี 1 ครั้ง โดยเกิดจากแพลงก์ตอน Noctiluca scintillans ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2561 ที่ความหนาแน่นเซลล์มากกว่า 50000 cell/l และสารอินทรีย์แขวนลอยในน้ำทะเลช่วงที่เกิด red tide บริเวณชายหาดวอนนภาและแหลมแท่น มีปริมาณอินทรีย์คาร์บอน (POC) สัดส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N) สัดส่วนของคลอโรฟิลล์เอต่อคาร์บอนอินทรีย์ (POC/Chl a) ไอโซโทปเสถียรของคาร์บอน (δ13C) ไนโตรเจน (δ15N) และ เท่ากับ 5828±7795 μg/l, 4.32± 0.59 ,-20.18 ± 1.30 ‰ และ 8.64 ±2.17 ‰ ตามลำดับ ซึ่งมีค่าใกล้เคียงกับสารอินทรีย์แขวนลอยในทะเล (marine POM) และปริมาณไอโซโทป เสถียรของไนโตรเจนในไนเตรท (δ15N-NO3) ของน้ำทะเลในขณะที่เกิด red tide มีเท่ากับ 4.19 ± 2.85 ‰ บ่งชี้ว่าสารอินทรีย์ในแพลงก์ตอนพืชที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีมีแหล่งที่มาจากสารอินทรีย์แขวนลอยในทะเล และไนเตรทในน้ำทะเลขณะที่เกิด red tide มิได้มาจากน้ำทิ้งจากกิจกรรมของมนุษย์
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3951
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_098.pdf3.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น