กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3949
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | ภัทราวุธ ไทยพิชิตบูรพา | - |
dc.contributor.author | อนุกูล บูรณประทีปรัตน์ | - |
dc.contributor.author | วิชญา กันบัว | - |
dc.contributor.author | มิถิลา ปรานศิลป์ | - |
dc.contributor.author | อิสรา อาศิรนันต์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-09-08T01:40:08Z | - |
dc.date.available | 2020-09-08T01:40:08Z | - |
dc.date.issued | 2563 | - |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3949 | - |
dc.description.abstract | การประเมินศักยภาพของระบบนิเวศทางทะเล เพื่อรองรับการพัฒนาแหล่งทรัพยากรหอยลาย บริเวณอ่าวตราด จังหวัดตราด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงตามเวลาของลักษณะสัณฐานวิทยาการไหลเวียนของกระแสน้ำ คุณภาพน้ำ คุณภาพดินตะกอน แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์พื้นท้องน้ำบริเวณอ่าวตราด โดยข้อมูลที่ได้จะถูกนำไปบูรณาการ ในการประเมินศักยภาพของระบบนิเวศบริเวณอ่าวตราดเพื่อการพัฒนาแหล่งทรัพยากรหอยลาย ผลการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่าคุณภาพน้ำบริเวณอ่าวตราดอยู่ในระดับดี และเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิตทั้งนี้พิจารณาได้จากเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่ง เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยเฉพาะปริมาณออกซิเจนละลายน้ำที่ค่าเกิน 4 มิลลิกรัมต่อลิตรในทุกช่วงเวลาที่ที่ทำการศึกษา โดยการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพน้ำจะเกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลโดยความเค็มจะเป็นปัจจัยที่สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลได้เป็นอย่างดี ด้านกำลังผลิตขั้นต้นของแหล่งน้ำ (คลอโรฟิลล์ เอ) พบว่าอยู่ในระดับ meso-trophic ถึง eutrophic สำหรับคุณภาพดินตะกอน สามารถพบปริมาณสารอินทรีย์รวมบริเวณอ่าวตราดร้อยละ 70 ของพื้นที่ มีค่าเฉลี่ยมากว่า 10 เปอเซ็นต์ ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่มีความอุดมสมบูรณ์มาก สำหรับปริมาณซัลไฟล์ในดินตะกอนมีค่าในระดับที่ค่อนข้างต่ำและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต ในส่วนของอนุภาคดินตะกอนพบว่า ส่วนมากมีขนาดเล็กว่า 63 ถึง 425 ไมครอน ทั้งนี้ขนาดของดินตะกอนที่พบในอ่าวตราดมีความเหมาะสมกับการอยู่อาศัยของสัตว์พื้นท้องน้ำในกลุ่มของหอย และไส้เดือนทะเล สำหรับการศึกษาด้านสิ่งมีชีวิตในอ่าวตราดซึ่งประกอบด้วยแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์พื้นท้องน้ำพบว่า อ่าวตราดมีความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในกลุ่มของไส้เดือนทะเล และหอยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากปริมาณสารอินทรีย์ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง อีกทั้งมีออกซิเจนที่มีอยู่ในมวลน้ำอย่างเพียงพอตลอดทั้งปี ในส่วนของแพลงก์ตอนพืชกลุ่มเด่นจะเป็นกลุ่มของไดอะตอม ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญด้านการเป็นอาหารสำหรับสัตว์น้ำวัยอ่อน อย่างไรก็ตามบางช่วงเวลาสามารถพบแพลงก์ตอนในกลุ่มของ cyanobacteria เพิ่มขึ้นซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าสภาวะแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมลง โดยเฉพาะสัดส่วนของไนโตรเจนต่อฟอสฟอรัสที่เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล สำหรับผลการวิเคราะห์แบบจำลองของกระแสน้ำรวมกับโอกาสการกระจายตัวของลายที่มีการปล่อยจากบริเวณชายฝั่งทะเลตำบลอ่าวใหญ่พบว่าหอยลายสามารถกระจายตัวไปได้เกือบทุกเดือนโดยเฉพาะเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม สิงหาคม และกันยายน และเมื่อพิจารณารวมกับข้อมูลทุติยภูมิจากการศึกษาที่ผ่านมาในอดีตพบว่าพื้นที่ที่เหมาะสมจะอยู่บริเวณฝั่งตะวันตกจนถึงบริเวณกลางอ่าวตอนนอก รวมพื้นที่ประมาณ 50 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ดังกล่าวมีความเหมาะสมทั้งทางด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ ของน้ำและดินตะกอน ซึ่งคาดว่าพื้นที่ดังกล่าวจะสามารถเป็นพื้นที่ที่สามารถขยายพันธุ์หรือปล่อยพันธุ์หอยลายได้ในอนาคต | th_TH |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ผ่านสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ระบบนิเวศทางทะเล | th_TH |
dc.subject | หอยลาย | th_TH |
dc.title | การประเมินศักยภาพของระบบนิเวศทางทะเล เพื่อรองรับการพัฒนาแหล่งทรัพยากรหอยลาย บริเวณอ่าวตราด จังหวัดตราด | th_TH |
dc.title.alternative | Marine ecosystem service assessment to sustain the surf clams resource development in Trat Bay, Trat province | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | patrawut@buu.ac.th | th_TH |
dc.author.email | anukul@buu.ac.th | th_TH |
dc.author.email | vichaya@buu.ac.th | th_TH |
dc.author.email | mindna@hotmail.com | th_TH |
dc.author.email | d_devil1958@yahoo.de | th_TH |
dc.year | 2563 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The marine ecosystem services assessments for the surf clam resource sustainable development in Trat Bay, Trat Province were carried out during December 2018 to July 2019. The objectives included the study of seasonal changes of regional ocean currents and the area’s geography, water and sediment qualities, as well as phytoplankton, zooplankton and macro-benthic community structures. The collected data can be applied to evaluate the potential ecosystem service of Trat Bay as a sustainable development site for surf clam resource. Our results indicated that the water qualities were good and habitable for aquatic lives. According to the PCD’s water quality standard type IV for aquaculture., the dissolved oxygen content was higher than 4 mg/L throughout our study period. Changes in water qualities were seasonal, reflected by changes in salinities. Primary productivities estimated by chlorophyll a concentration placed the bay’s trophic classes as between meso-trophic to eutrophic. Approximately 70% of bottom sediment in the study site were found to contain over 10% (gram of dry weight/gDW) organic matter and sediment grain sizes ranged from 63–425 micrometer. Contrastingly, the hydrogen sulfide contents were relatively low and had no impact on marine lives. Hence, the sediment qualities were generally suitable for benthic mollusks and polychaetes. In term of primary productivity, the diatom which dominated the phytoplankton communities were important food source for juvenile fish as well as larvae of other marine species. However, periodical increases of cyanobacteria population indicate declining water quality, which can be correlated with the seasonal changes in ratio of nitrogen and phosphorus. The prediction made from the ocean current model described the possible distribution of surf clams which were released from the coastal Ao Yai Subdistrict. The result indicated that the clams can be found throughout the year, especially from February–March and from August–September. From the information obtained during this study, in conjunction with review of previous researches, we can define the potential sites for surf clam production. Based on physiochemical and biological suitability, the area covers approximately 50 km2, from the western coast to the lower central part of the Trat Bay. | th_TH |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | บทความวิชาการ (Journal Articles) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2559_106.pdf | 7.21 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น