กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3943
ชื่อเรื่อง: การศึกษาบทบาทของคาร์บอนสีน้ำเงินในหญ้าทะเลบริเวณ ชายฝั่งตะวันออกของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Role of Blue Carbon in Seagrass at the East Coast of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปัทมา ศรีน้ำเงิน
วศิน ยุวนะเตมีย์
เพชรดา ปินใจ
สนธิชัย จันทร์เปรม
มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. คณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. คณะเกษตรศาสตร์
คำสำคัญ: หญ้าทะเล
หญ้าทะเล -- ไทย -- ชลบุรี
ชีวมวล
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี
บทคัดย่อ: การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในหญ้าทะเลทั้งหมด 7 ชนิด คือ Enhalus acoroides, Cymodocea serrulata, Halophila ovalis, Halophila minor, Halodule uninervis, Halodule pinifolia และ Thalasia hemprichii โดยทำการเก็บสำรวจใน 4 พื้นที่ กล่าวคืออ่าวสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี หาดร็อคกาเดนท์-เนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ศูนย์การศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี และเกาะกระดาด จังหวัดตราด พื้นที่ทำการสำรวจประมาณ 675, 1,250, 1520 และ 900 ไร่ ตามลำดับ โดยผลการศึกษาพบว่าหญ้าทะเลชนิด Cymodocea serrulata ที่พบบริเวณเกาะกระดาด มีปริมาณอินทรีย์คาร์บอนสูงสุดแต่ไม่แตกต่างกับหญ้าทะเลพันธุ์ Enhalus acoroides ที่มีปริมาณอินทรีย์คาร์บอนรวมที่ 108.228 เปอร์เซ็นต์ และ 103.46 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในขณะที่หญ้าทะเลชนิด Halophila minor มีปริมาณอินทรีย์คาร์บอนรวมน้อยที่สุด โดยพบบริเวณ เหง้า เป็นส่วนที่มีปริมาณอินทรีย์คาร์บอนมากที่สุด และเมื่อพิจารณาด้านความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนหรือ carbon storage ของหญ้าทะเล พบว่า Enhalus acoroides หรือหญ้าคาทะเล มีความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนได้มากที่สุด ประมาณ 3,795.67 - 4,100.12 gCm2 รองมาคือหญ้าทะเลชนิด Halodule uninervis สามารถกักเก็บคาร์บอนได้ 2,883.10 gCm2 ในขณะที่หญ้าทะเลชนิด Halophila minor มีความสามารถในการกักเก็บคาร์บอนได้น้อยที่สุด เมื่อทำการศึกษาปริมาณอินทรีย์คาร์บอนที่สะสมในดินที่หญ้าทะเลขึ้นอยู่ โดยทำการสำรวจ 5 พื้นที่คือ กล่าวคืออ่าวสัตหีบ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี หาดร็อคกาเดนท์-เนินฆ้อ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ศูนย์การศึกษาพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี และชายหาดแหลมกลัด และเกาะกระดาด จังหวัดตราด พบว่า พื้นที่ชายฝั่งบริเวณพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดจันทบุรี มีปริมาณอินทรีย์คาร์บอนฉลี่ยสะสมมากที่สุด รองมาคือเกาะกระดาดจังหวัดตราด คือ 1.06 เปอร์เซ็นต์ และ 0.356 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ดังนั้นข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปใช้ในการวางแผนการอนุรักษ์ปลูกหญ้าทะเลพร้อมทั้งยังก่อประโยชน์ด้วยการลดปริมาณคาร์บอนในบรรยากาศได้อีกทางหนึ่งด้วย
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3943
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย(Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_093.pdf2.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น