กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3937
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการจัดหาเงินทุนในห่วงโซ่คุณค่าของการผลิตทุเรียนในภาคตะวันออก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Value Chain Financing Approach for the Durian Sub-sector in the Eastern Region of Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ศศิวุฑฒิ์ วงษ์มณฑา |
คำสำคัญ: | ทุเรียน สินค้าเกษตร ผู้ประกอบการ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยนี้ศึกษาห่วงโซ่คุณค่าการผลิตทุเรียนในภาคตะวันออกของประเทศไทยโดยเน้นการให้บริการทางการเงินภายในห่วงโซ่ การเก็บข้อมูลของการศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการหลากหลาย ข้อมูลเชิงปริมาณได้จากแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างชาวสวนทุเรียนจำนวน 369 ราย ในจังหวัดจันทบุรี ข้อมูลเชิงคุณภาพมาจากการจัดสนทนากลุ่มย่อยและการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่าง ผลการศึกษาสำคัญ พบว่า ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกทุเรียนรายใหญ่ที่สุดในโลก ประมาณร้อยละ 80 ของผลผลิตเป็นการส่งออก ในจำนวนนี้ร้อยละ 60 ส่งออกไปประเทศจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุด รายได้จากการปลูกทุเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงทศวรรษปัจจุบันสืบเนื่องจากความต้องการที่สูงของประเทศจีน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการจีนเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในห่วงโซ่อุปทานทุเรียนไทย ส่งผลให้ผู้ค้าผลไม้ไทยไม่สามารถแข่งขันในการรับซื้อทุเรียนและผลไม้อื่น ดังนั้น สัดส่วนจำนวนผู้ค้าไทยลดลงจากร้อยละ 40 เหลือร้อยละ 20 ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ชาวสวนทุเรียนและผู้ค้าไทยมีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบด้านลบจากการขยายอิทธิพลของผู้ค้าจีนโดยการกดราคารับซื้อเพื่อให้ธุรกิจจีนทำกำไรจากส่วนต่างราคาได้มากขึ้น การแสวงหาตลาดส่งออกใหม่ที่มีศักยภาพและการสนับสนุนทางการเงินกับสหกรณ์การเกษตรเป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าให้กับเกษตรกร |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3937 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_082.pdf | 873.66 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น