กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3936
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorกล่าวขวัญ ศรีสุข
dc.contributor.authorเอกรัฐ ศรีสุข
dc.date.accessioned2020-07-30T04:10:37Z
dc.date.available2020-07-30T04:10:37Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3936
dc.description.abstractในประเทศไทยมีการบริโภคใบขลู่ในรูปของชาสมุนไพร ส่วนสกัดน้ำร้อนของชาใบขลู่แสดงฤทธิ์ต้านอักเสบในเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดของมนุษย์ (EA.hy 926) ที่กระตุ้นด้วย TNF- โดยยับยั้งการแสดงออกของโมเลกุลที่ใช้ในการยึดเกาะของเซลล์ คือ intercellular adhesion molecule-1 (ICAM-1) และ vascular cell adhesion molecule-1 (VCAM-1) อย่างไรก็ตามยังไม่มีการรายงานถึงสารที่เป็นตัวออกฤทธิ์ต้านอักเสบนี้ ดังนั้นการศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะแยกและระบุสารออกฤทธิ์ในชาใบขลู่โดยวิธีฤทธิ์ทางชีวภาพนำการสกัด ทำการสกัดใบชาขลู่จากจังหวัดจันทบุรีด้วยน้ำร้อน และสกัดแยกส่วนส่วนด้วยเฮกเซน เอทิลอะซิเตต และ 1-บิวทานอล ได้ส่วนสกัดย่อยเฮกเซน ส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตต ส่วนสกัดย่อยบิวทานอล และส่วนสกัดย่อยน้ำ ตามลำดับ โดยพบว่าส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตต แสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบดีที่สุดจึงทำการเลือกส่วนสกัดย่อยเอทิลอะซิเตต ไปแยกสารต่อด้วยโครมาโตกราฟีแบบคอลัมน์ที่บรรจุ Sephadex LH-20 และสามารถแยก quercetin จากส่วนสกัดย่อย F8.5 ได้ ทำการศึกษาโครงสร้างและสเตอริโอเคมีของสารด้วยข้อมูลทาง nuclear magnetic resonance (NMR) และ high resolution mass spectrometry (HRMS) สาร quercetin ที่แยกได้สามารถยับยั้งการแสดงออกของโปรตีน ICAM-1 และ VCAM-1 ในลักษณะที่ขึ้นกับความเข้มข้น ในการศึกษานี้ ได้ทำการสร้าง HPLC fingerprinting ของส่วนสกัดจากชาใบขลู่โดยใช้ quercetin เป็นโมเลกุลเครื่องหมาย เพื่อใช้ในการควบคุมคุณภาพของชาใบขลู่และวิเคราะห์ปริมาณของสารออกฤทธิ์ quercetin โดยพบว่าส่วนสกัดน้ำร้อนของชาใบขลู่มี quercetin ในปริมาณ 1.48 ± 0.10 มิลลิกรัมต่อกรัมของน้ำหนักแห้งของส่วนสกัด นอกจากนี้ ทำการศึกษาเปรียบเทียบฤทธิ์ต้านการอักเสบ และปริมาณ quercetin ในใบชาขลู่ที่เตรียมจากใบขลู่อ่อน และใบขลู่แก่ ผลการทดลองพบว่าส่วนสกัดจากใบขลู่อ่อน และใบขลู่แก่ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ และปริมาณ quercetin ที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ข้อมูลที่ได้แสดงให้เห็นว่าทั้งใบขลู่อ่อน และใบขลู่แก่เป็นแหล่งของสารต้านอักเสบจากธรรมชาติ ที่อาจจะนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือเป็นองค์ประกอบของอาหารฟังก์ชันในการป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งth_TH
dc.description.sponsorshipโครงกาวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้จากเงินอุดหนุนจากรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectใบขลู่th_TH
dc.subjectฤทธิ์ต้านอักเสบth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัชth_TH
dc.titleการศึกษาฤทธิ์ต้านอักเสบและต้านออกซิเดชันในเซลล์เยื่อบุหลอดเลือดมนุษย์ของส่วนสกัดจากใบขลู่เพื่อใช้พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อต้านภาวะหลอดเลือดแข็งth_TH
dc.title.alternativeStudy on anti-inflammatory and anti-oxidant activities on human vascular endothelial cells of Pluchea indica leaf extracts for development as anti-atherogenic health care productth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.author.emailklaokwan@buu.ac.thth_TH
dc.author.emailekaruth@buu.ac.thth_TH
dc.year2563th_TH
dc.description.abstractalternativePluchea indica leaves are consumed as herbal tea in Thailand. The hot water extract from P. indica herbal tea leaves showed anti-vascular inflammatory effect in TNF--stimulated human vascular endothelial cells (EA.hy 926 cell line) by suppressing the expression of cell adhesion molecule, intercellular adhesion molecule-1 (ICAM-1) and vascular cell adhesion molecule-1 (VCAM-1). However, the compound responsible for this anti-inflammatory effect has not been explored. Therefore, the purpose of this study was to isolate and identify the bioactive compound from P. indica leaves by bioassay-guided fractionation technique. The herbal tea leave of P. indica from Chantaburi province was extracted with hot water and then partitioned with hexane, ethyl acetate and 1-butanol to yield hexane, ethyl acetate, 1-butanol and water fractions, respectively. Among extraction solvents, the ethyl acetate fraction showed the greastest anti-vascular inflammatory effect which then choosen to subject to Sephadex LH-20 gel column. A flavonoid, 2-(3,4-dihydroxyphenyl)-3,5,7-trihydroxychromen-4-one or 3,3',4',5,7-pentahydroxyflavone (quercetin) was isolated from subfraction F8.5. The structure and relative stereochemistry of the compound was determined based on comparison with nuclear magnetic resonance (NMR) spectroscopic analysis, supported by high resolution mass spectrometry (HRMS) data. The isolated quercetin inhibited the expression of ICAM-1 and VCAM-1 protein in a concentration-dependent manner. To control the quality of herbal tea leave of P. indica, a simple and reliable method of high-performance liquid chromatography (HPLC) was established for both the fingerprint analysis and the quantitative determination of an active compound, quercetin. HPLC fingerprinting of P. indica leaf water extract revealed amounts of quercetin at 1.48 ± 0.10 mg/g dried weight. Moreover, anti-inflamatory activity and quercetin content of P. indica herbal tea leaves prepared from young and mature leaves were comparatively studied. The extracts from both maturity stages of leaves contained significant indifference in anti-inflamatory activity and quercetin content. Taken together, the data suggest that both young and mature leaves of P. indica are a promising source of natural anti-inflamatory agents which might be developed as dietary supplements and an ingredients of functional food for preventing an early step of atherosclerosis.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2564_081.pdf3.94 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น