กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3930
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณสารสำคัญในเร่วหอมและผลิตภัณฑ์ เพื่อสุขภาพต้นแบบ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factor affecting on quantity of active compound in Etlingera pavieana and prototype of health care products |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เอกรัฐ ศรีสุข กล่าวขวัญ ศรีสุข ดุสิต วรสวาท วิทยา บุญมั่น มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์ |
คำสำคัญ: | เร่วหอม การอบแห้ง ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | สาร 4-methoxycinnamyl p-coumarate (MCC) เป็นสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ต้านอักเสบของเหง้าเร่วหอม วัตถุประสงค์แรกของการวิจัยนี้คือ ศึกษาเปรียบเทียบปริมาณของสาร MCC และฤทธิ์ต้านอักเสบของเหง้าเร่วหอมที่ปลูกแซมในแปลงปลูกเงาะ มังคุด ลองกอง ปาล์ม และตะเคียน หรือป่าปลูก เหง้าเร่วหอมจะถูกเก็บมาทดสอบเมื่อมีอายุ 6 และ 10 เดือน หลังการปลูก ฤทธิ์ต้านอักเสบประเมินโดยการยับยั้งการผลิตไนตริกออกไซด์ในเซลล์แมคโครฟาจ RAW 264.7 ปริมาณของสาร MCC ประเมิน โดยเทคนิค high performance liquid chromatography (HPLC) ผลการทดลองพบว่าปริมาณสาร MCC และฤทธิ์ต้านอักเสบในเหง้าเร่วหอมที่ปลูกในแปลงมังคุด ปาล์ม และตะเคียน หรือป่าปลูกมีค่าสูงกว่าที่พบจากเหง้าที่ปลูกในแปลงเงาะและลองกอง ปริมาณสาร MCC จากเหง้าเร่วหอมที่เก็บจากแปลงทดลองแต่ละแปลงในช่วงเวลา 6 เดือน และ 10 เดือน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ทำการพัฒนาชาสมุนไพรเร่วหอม ดังนั้นวัตถุประสงค์อันที่สองของการศึกษา คือ ประเมินผลของวิธีการทาแห้งเหง้าและใบเร่วหอม (การอบด้วยตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส การทำแห้งด้วยลมในร่ม และการทำแห้งด้วยแสงแดด) ต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และฤทธิ์ต้านอักเสบรวมทั้งสาร MCC ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระประเมินโดยการทดสอบการกำจัดอนุมูล 2,2ꞌ- diphenyl-1- picrylhydrazyl (DPPH) ความสามารถในการรีดิวซ์ และสารประกอบฟีนอลิกรวม จากการศึกษาพบว่าการทำแห้งเหง้าเร่วหอม ด้วยวิธีตากลมในร่ม และการทำแห้งด้วยแสงแดด ทำให้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านอักเสบและสาร MCC สูงกว่าการทำแห้งด้วยการอบด้วยตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ส่วนวิธีทำแห้งที่เหมาะสมสำหรับใบเร่วหอม คือ วิธีตากลมในร่ม และการทำแห้งด้วยแสงแดด ทำให้มีฤทธิ์ต้านอักเสบสูงที่สุด ในขณะที่การทำแห้งด้วยตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ทำให้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและสารประกอบฟีนอลิกรวมสูงที่สุด |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3930 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_075.pdf | 5.17 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น