กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3922
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุมาลี วรรณาชัยสิทธิ์ | |
dc.contributor.author | ภักดี สุขพรสวรรค์ | |
dc.contributor.author | มิกาเอล ไลโซลา | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเภสัชศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2020-05-01T07:31:34Z | |
dc.date.available | 2020-05-01T07:31:34Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/3922 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้ทำการหาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณกรดแอสคอร์บิคและระดับสีของยาเม็ด การเปลี่ยนแปลงของสีเป็นสัญญาณอย่างหนึ่งของการเสื่อมสภาพของสารในยาเม็ด การศึกษาทำโดยเก็บยาเม็ดวิตามินซีจากท้องตลาด (D และ E) และยาเม็ดวิตามินซีที่พัฒนาขึ้น ภายใต้สภาวะเร่ง (40±2°C, 75±5%RH) ยาเม็ดที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยกรดแอสคอร์บิค ทาวคัม อะวิเซลพีเอส-102 โพลิเอทิลีนไกลคอล 6000 โพลิไวนิลไพรอลิโดนและเอโรซิล ทำการวิเคราะห์หาปริมาณกรดแอสคอร์บิคโดยเครื่องโครมาโตกราฟฟีเหลวสมรรถนะสูง ทำการประเมินค่าระดับสีของเม็ดยาโดยเทคนิคการประมวลผลด้วยภาพดิจิตอล ผลการทดลองพบว่ายาเม็ด D และ E มีปริมาณกรดแอสคอร์บิคน้อยกว่า 90% ของปริมาณที่ระบุบนฉลากหลังจากเก็บยาเม็ดในตู้สาหรับศึกษาความคงตัวเป็นระยะเวลา 108 วัน และ 148 วัน ตามลำดับ ปริมาณกรดแอสคอร์บิคของยาเม็ดที่พัฒนาขึ้นมีปริมาณน้อยกว่า 90% ของปริมาณที่ระบุบนฉลากเมื่อเก็บไว้ในระยะเวลา 35 วัน การศึกษาระดับสีของเม็ดยาพบว่าในสภาวะเร่ง ระดับสีของยาเม็ดลดลงเมื่อเก็บเป็นระยะเวลานานขึ้น ความสัมพันธ์ (R2) ระหว่างปริมาณกรดแอสคอร์บิคกับระดับสีของยาเม็ด D เท่ากับ 0.8545 ซึ่งแสดงถึงความสัมพันธ์สูง ยาเม็ด E มีค่าความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณกรดแอสคอร์บิคกับระดับสีเท่ากับ 0.6323 แสดงถึงความสัมพันธ์ระดับปานกลาง ยาเม็ดที่พัฒนาขึ้นมีค่าความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณกรดแอสคอร์บิคกับระดับสีเท่ากับ 0.7922 แสดงถึงความสัมพันธ์ระดับสูง ผลการศึกษาแสดงว่าการประมวลผลด้วยภาพดิจิตอลสามารถใช้เป็นวิธีคัดกรองสำหรับพิจารณาการเสื่อมสภาพของยาเม็ดวิตามินซีได้ | th_TH |
dc.description.sponsorship | งานวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากงบประมาณเงินรายได้ จากเงินอุดหนุนรัฐบาล (งบประมาณแผ่นดิน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มหาวิทยาลัยบูรพา ผ่านสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | วิตามินซี | th_TH |
dc.subject | การประมวลผลภาพ - - เทคนิคดิจิตอล | th_TH |
dc.subject | สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช | th_TH |
dc.title | การศึกษาการเสื่อมสภาพของยาเม็ดวิตามินซี โดยเคมีวิเคราะห์ร่วมกับการประมวลผลด้วยภาพดิจิตอล | th_TH |
dc.title.alternative | The study of degradation of vitamin C tablets by chemical analysis with digital image processing technique | en |
dc.type | Research | th_TH |
dc.author.email | sumaleew@go.buu.ac.th | th_TH |
dc.author.email | phakdee@go.buu.ac.th | th_TH |
dc.year | 2563 | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The study investigated the correlation between ascorbic acid content and the color level of tablets. The color change was one sign of the degradation of substances in the tablet. The study was performed by storing commercial vitamin C tablets (D and E) and formulated vitamin C tablets under the accelerated condition (40±2°C, 75±5%RH). The formulated tablets contained ascorbic acid, talcum, avicel PH-102, polyethylene glycol 6000, polyvinylpyrrolidone and aerosil. The tablets were analyzed by high performance liquid chromatography for determination of ascorbic acid content. The color level of the tablets was quantified by digital image processing technique. The result showed that tablet D and E contained ascorbic acid less than 90% of the label amount after storing in a stability chamber for 108 days and for 148 days, respectively. The percentage of ascorbic acid content in the formulated tablet was less than 90 % of the label amount within 35 days of storage. The study of the color level of the tablets showed that under the accelerated conditions color level of the tablets reduced when storage time increased. The correlation (R2) between the amount of ascorbic acid and the color level of tablet D was 0.8545 indicating high correlation. The correlation (R2) between the amount of ascorbic acid and the color level of tablet E was 0.6323 indicating medium correlation. The correlation (R2) between the amount of ascorbic acid and the color level of the formulated ascorbic acid tablets was 0.7922 indicating high correlation. The result showed that digital image processing technique could be the screening method to determine the degradation of vitamin C tablets. Keywords: ascorbic acid, vitamin C, tablet, stability, digital image processing | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
2564_065.pdf | 2.1 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น